ZpecSen: สเปกโตรมิเตอร์สำหรับมือถือ (Mobile Spectrometer)
ZpecSen: สเปกโตรมิเตอร์สำหรับมือถือ (Mobile Spectrometer)
วิจัยและพัฒนาโดย
วิจัยและพัฒนาโดย
วิจัยและพัฒนาโดย
กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ (SSDRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
วิทยาศาสตร์เป็นองค์ความรู้ที่ซับซ้อน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุมีผล การเข้าใจเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์จึงต้องใช้ความพยายามและจินตนาการของผู้เรียนอย่างสูง แต่ ในปัจจุบัน โรงเรียนหลายแห่งไม่มีอุปกรณ์การเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยและไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจาก อุปกรณ์วิทยาศาสตร์นั้นมีราคาแพงและตามไม่ทันเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โอกาสที่นักเรียนจะเข้าถึงอุปกรณ์วิทยาศาสตร์เหล่านี้จึงเป็นไปได้ยาก นักเรียนจึงถูกจำกัดการเรียนรู้แค่ในตำราเรียน ซึ่งนำปสู่ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักเรียนที่ลดลง หรือนักเรียนไม่สามารถเข้าใจในเนื้อหาและวัตถุประสงค์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้อย่างแท้จริง

ZpecSen หรือ เครื่องสเปกโตรมิเตอร์แบบพกพาที่ใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟน ZpecSen ถูกออกแบบให้ติดตั้งกับสมาร์ทโฟนได้สะดวก ใช้งานง่ายผ่าน Mobile Application ที่ชื่อว่า ZpecSen App และตอบโจทย์การใช้งานได้หลากหลาย โดยมาพร้อมกับ 2 ช่องการตรวจวัด ที่ช่วยให้ตรวจวัดวัตถุโปร่งแสง 2 ชนิดได้พร้อมกัน หรือตรวจวัดแหล่งกำเนิดแสงชนิดต่าง ๆ โดยแสดงข้อมูลเชิงแสงผ่าน กราฟสเปกตรัมในรูปแบบความเข้มแสงที่ความยาวคลื่นต่าง ๆ ได้อย่างละเอียดและแม่นยำ
แนะนำการใช้งาน ZpecSen เบื้องต้น
“การแนะนำการใช้งาน ZpecSen เบื้องต้น” ได้แก่ การรวบรวมข้อมูลสำคัญ แนะนำต้นแบบ พร้อมทั้งสอนวิธีการติดตั้ง และวิธีใช้งานเบื้องต้น
ส่งเสริมการเรียนรู้ จินตนาการ และความเข้าใจ
ZpecSen ได้ถูกออกแบบให้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาในรายวิชาวิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 และสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ตามจินตนาการของนักเรียน หรือครู/อาจารย์ ซึ่งจะเสริมสร้างประสบการณ์ กระบวนการคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหา ให้แก่นักเรียนได้มากยิ่งขึ้น อีกทั้ง ครู/อาจารย์สามารถนำ ZpecSen ไปใช้ทำกิจกรรมการเรียนรู้นอกหลักสูตร หรือพัฒนารูปแบบการสอนแบบใหม่ เพื่อใช้เสริมความรู้และความเข้าใจในวิชาวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับแสงให้แก่นักเรียน หรือเพิ่มประสิทธิภาพการเรียน-การสอนให้ดียิ่งขึ้น โดยการลงมือปฏิบัติจริง

ประโยชน์
- ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องแสง และสเปกตรัม ซึ่งสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้แกนกลางของ
- ประถมศึกษาปีที่ 2 ตัวชี้วัด 2.3.1-2
- มัธยมศึกษาปีที่ 3 ตัวชี้วัด 2.1.3, 2.1.6, 2.3.11-12, 2.3.15 , 2.3.17 และ 2.3.19-21
- มัธยมศึกษาปีที่ 5 ตัวชี้วัด 2.3.9-10
- สาระวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม
- สาระเคมี มัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการเรียนรู้ที่ 1.3
- สาระเคมี มัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลการเรียนรู้ที่ 2.20
- สาระฟิสิกส์ มัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลการเรียนรู้ที่ 2.13
- ใช้เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณสารเคมีหรือสารชีวภาพแบบพกพา
- ใช้แทนเครื่องมือพื้นฐานในห้องปฏิบัติการซึ่งมีราคาแพงและไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้

คุณสมบัติ
- A dual channel monitor
- Two measurement modes
- Switchable four light sources
- Built-in Spectral calibration
- Compatible with Android and IOS
จุดเด่น
- ราคาถูก
- ใช้งานง่าย
- พกพาสะดวก
กลุ่มเป้าหมาย
- ครู / อาจารย์
- นักเรียน / นักศึกษา
ในอนาคตผู้พัฒนาหวังอย่างยิ่งที่จะผลักดันการนำ ZpecSen ไปใช้งานในลักษณะสื่อการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา ทั่วประเทศ ผ่านเครือข่าย พันธมิตร มูลนิธิหรือองค์กรการกุศล

ลิงค์แนะนำผลงาน
ZpecSen เพื่อการศึกษา
แนะนำ ZpecSen
จุดเด่นของสเปกเซ้น
ติดตั้งและใช้งานง่าย
การสอบเทียบความยาวคลื่นได้ในตัวเอง
มีสองช่องการตรวจวัด
การวิเคราะห์ตัวอย่าง
การแหล่งกำเนิดแสง
เลือกแหล่งกำเนิดแสงภายในตัว
ติดต่อสอบถาม
ทีมวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ (PHT)
กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ (SSDRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.)
-
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
- โทรศัพท์: 02-564-6900 ต่อ 2145
- E-mail: grit.pichayawaytin@nectec.or.th