Line Track Skip to content

ต้นแบบระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบปิด

ต้นแบบระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบปิด

ต้นแบบระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบปิด

ต้นแบบระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบปิด

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ (EDC)
ทีมวิจัยคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม (CAET)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

         ประเทศไทยประสบปัญหาในเรื่องของภัยธรรมชาติอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัยและปัญหาภัยแล้ง ทำให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหรือปลาเศรษฐกิจได้รับความเดือดร้อน โดยการเลี้ยงปลาในปัจจุบันมีสองวิธีหลัก คือ การเลี้ยงในบ่อดินและการเลี้ยงในกระชัง ซึ่งทั้งสองวิธีเป็นการเลี้ยงโดยอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้มีความเสี่ยงอันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อมภายนอก ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ปลามีอัตราการตายสูง ประสิทธิผลในการเลี้ยงต่ำ นอกจากนี้ยังไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องการของเสียที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงปลาจะถูกปล่อยสู่แหล่งแม่น้ำธรรมชาติ เช่น การเลี้ยงปลาในกระชัง ซึ่งเป็นการเลี้ยงในแม่น้ำ ของเสียที่เกิดจากปลาจะถูกปล่อยไปตามแม่น้ำ ทำให้น้ำเกิดการเน่าเสียได้

         ปัจจุบันมีระบบการเลี้ยงปลาที่ใช้ปริมาณน้ำน้อย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการเลี้ยงปลาด้วยการนำน้ำที่ไหลเวียนในระบบกลับมาใช้ใหม่ โดยมีระบบบัดน้ำ ระบบเติมออกซิเจน และระบบฆ่าเชื้อ เพื่อควบคุมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของปลา ทำให้ปลามีอัตราการตายต่ำและอัตราการแลกเนื้อต่ำ ทำให้ประสิทธิผลในการเลี้ยงสูงตามไปด้วย ซึ่งระบบการเลี้ยงดังกล่าวเรียกว่า ระบบการเลี้ยงปลาแบบน้ำไหลเวียน (Recirculation Aquaculture System: RAS)”vการเลี้ยงปลาในระบบนี้จะควบคุมคุณภาพน้ำให้เหมาะสมกับการเลี้ยงปลา ไม่ว่าจะเป็นปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (Dissolve Oxygen: DO) ปริมาณ Ammoniaอในน้ำค่าเป็นกรดเป็นเบสในน้ำเป็นต้น โดยระบบการเลี้ยงสามารถนำของเสียจากปลาออกจากน้ำ โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น ขี้ปลาจะถูกนำออกจากระบบด้วยการดักกรอง และรวบรวมนำไปเป็นปุ๋ยให้กับพืชได้ อย่างไรก็ตาม ในการเลี้ยงปลาในระบบน้ำไหลเวียน จะเป็นการเลี้ยงที่มีความหนาแน่นของปลาสูง เมื่อเทียบกับการเลี้ยงโดยทั่วไปประมาณ 30 เท่า ขึ้นอยู่กับประเภทของปลา ทำให้ระบบการเลี้ยงมีต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพิ่มเข้ามา ทำให้ในปัจจุบันพบว่าการเลี้ยงปลาในระบบน้ำไหลเวียนไม่เป็นที่แพร่หลาย เพราะไม่สามารถควบคุมต้นทุนให้ต่ำกว่าราคาขายได้ แม้ปลาที่เลี้ยงจะเจริญเติบโตได้ดีก็ตาม

จุดเด่นเทคโนโลยี

         ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้ทำวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบน้ำไหลเวียน ซึ่งมีการพัฒนาโปรแกรมสำหรับคำนวณระบบการเลี้ยงปลาแบบน้ำไหลเวียน พร้อมระบบควบคุมอัตโนมัติรายงานผลผ่านโมบายแอปพลิเคชั่น เพื่อแก้ปัญหาระบบการเลี้ยงปลาน้ำไหลเวียน โดยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสามารถคำนวณและออกแบบระบบการเลี้ยงที่เหมาะสม และประหยัดพลังงานในการเลี้ยงปลาแต่ละประเภท เป็นการสร้างระบบเลี้ยงปลาที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นการประหยัดพลังงานด้วย โดยโปรแกรมยังสามารถคำนวณ เพื่อหาเงื่อนไขที่เหมาะสมในช่วงระหว่างการเลี้ยงอีกด้วย สำหรับระบบควบคุมอัตโนมัติซึ่งมีความจำเป็นในระบบน้ำไหลเวียนที่มีการเลี้ยงปลาความหนาแน่นสูง โดยระบบจะตรวจวัด ควบคุมและแจ้งเตือนปริมาณออกซิเจนในน้ำ ค่าความเป็นกรด เป็นเบสและอุณหภูมิ ในระบบให้เหมาะสม พร้อมแสดงผลและควบคุมระบบได้บนโมบายแอปพลิเคชั่นด้วย ทำให้การเลี้ยงปลาในระบบน้ำไหลเวียนมีประสิทธิภาพสูง และมีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากการนำเทคโนโลยีดิจิตัลมาประยุกต์ใช้ทำให้สามารถบริหารจัดการระบบได้อย่างทันท่วงที สามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ข้อมูลการเลี้ยงที่ได้ในแต่ละครั้งสามารถนำมาวิเคราะห์ เพื่อหาพารามิเตอร์ในการเลี้ยงปลาที่เหมาะสมที่สุดได้ โดยโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการจนเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว พร้อมนำไปขยายผลสู่ชุมชนหรือเกษตรกรที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อสอบถาม

นางสาวสุจิรา ศักดิ์พรหม
สังกัด งานบริหารโครงการความร่วมมือภาครัฐและเอกชน
สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา (RDI Management)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

ทุกความคิดเห็นของคุณมีความหมาย

ขอความร่วมมือตอบแบบสอบถามเพื่อที่เราจะได้ปรับปรุงแก้ไขพัฒนาในปีต่อๆ ไป

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email

บริการของ สวทช.

สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัยพัฒนา และเข้าใจการทาธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้น

การถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเงิน ภาษี และมาตรการส่งเสริม

กลไกส่งเสริมธุรกิจ SMEs / Start-up

การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โครงสร้างพื้นฐานสาคัญทางวิทยาศาสตร์ และนิคมวิจัยของประเทศ

สอบถามบริการ สวทช.

ติดต่อ ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์
E-mail: brc@nstda.or.th
Call center: 02 564 8000

นิทรรศการที่น่าสนใจ