Line Track Skip to content

ต้นแบบเครนเหนือศีรษะอัตโนมัติ: การปรับปรุงความแม่นยำและเที่ยงตรงของการควบคุม

ต้นแบบเครนเหนือศีรษะอัตโนมัติ: การปรับปรุงความแม่นยำและเที่ยงตรงของการควบคุม

ต้นแบบเครนเหนือศีรษะอัตโนมัติ: การปรับปรุงความแม่นยำและเที่ยงตรงของการควบคุม

ต้นแบบเครนเหนือศีรษะอัตโนมัติ: การปรับปรุงความแม่นยำและเที่ยงตรงของการควบคุม

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ผศ.ดร.อิทธิโชค จักรไพวงศ์
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

        งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาต้นแบบเครนเหนือศีรษะอัตโนมัติ ที่แก้ปัญหาการใช้งานในเครนทั่วไป และรองรับการพัฒนาเพิ่มเติมในอนาคต ระบบเครนที่พัฒนาจะสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างแม่นยำ ไปตามตำแหน่งที่ผู้ใช้ต้องการได้โดยอัตโนมัติ และกำจัดการแกว่งของเครนซึ่งเป็นปัญหาโดยธรรมชาติของเครนประเภทนี้ ตลอดจนการบันทึกข้อมูลการใช้งานเพื่อประโยชน์ในการให้บริการซ่อมบำรุง

รูปที่ 1 แสดงอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างต้นแบบเครนอัตโนมัติถูกเลือกเป็นอุปกรณ์ระดับอุตสาหกรรมที่สามารถรองรับการโปรแกรมระบบควบคุมที่ซับซ้อนได้ หน้าจอสัมผัสถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกับเครนอัตโนมัติได้โดยสะดวก โดยผู้ใช้ไม่ต้องเขียนโปรแกรมใด ๆ

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

        จากการพัฒนาต้นแบบเครนพบว่า เครนสามารถเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้โดยอัตโนมัติ วิธีการควบคุมเชิงเส้นแบบป้อนกลับ PD Controller ร่วมกับการประมาณตำแหน่งเครนโดยใช้ Extended State Observer สามารถควบคุมตำแหน่งของเครนได้โดยมีค่าความผิดพลาดไม่เกิน 10 มิลลิเมตร การเคลื่อนที่ของเครนแบบปกตินั้นจะทำให้เกิดการแกว่งขึ้นเป็นมุมประมาณ 5 องศา ในงานวิจัยนี้ การกำจัดการแกว่งของวัตถุในขณะเคลื่อนที่โดยการใช้ตัวกรองสัญญาณ (Filter) ที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นสามารถลดการแกว่งของวัตถุลงได้เหลือไม่เกิน 1 องศา ดังแสดงในรูปที่ 2

automatic-overhead-crane-01

รูปที่ 2 เปรียบเทียบการแกว่งระหว่างใช้และไม่ใช้ตัวกรองสัญญาณ

        นอกจากนั้นการกำจัดการแกว่งจากตัวกรองสัญญาณถูกนำมาศึกษาเปรียบเทียบการทำงานของเมื่อผู้ต้องบังคับเครนในที่แคบ เมื่อใช้และไม่ใช้ระบบกำจัดการแกว่ง ผลปรากฏว่าในการบังคับเครนเหนือศีรษะในพื้นที่แคบ ผู้บังคับเครนในโหมดไม่มีระบบกำจัดการแกว่งนั้น ไม่สามารถบังคับเครนให้ไปถึงจุดหมายได้โดยที่ไม่เกิดการชน เกิดการชน 11 ครั้ง ส่วนในโหมดที่มีตัวกรองสัญญาณนั้นสามารถบังคับเครนให้ไปถึงจุดหมายได้โดยไม่เกิดการชนเลย โดยที่ทั้ง 2 แบบใช้เวลาเท่ากับ 50 และ 37 วินาที ตามลำดับ ดังแสดงในรูปที่ 3

automatic-overhead-crane-02

รูปที่ 3 เปรียบเทียบการใช้งานตัวกรองสัญญาณ

        การพัฒนาส่วนการใช้งานของผู้ใช้เป็นไปตามเป้าหมาย มีอุปกรณ์หลักคือหน้าจอสัมผัสซึ่งรองรับการควบคุมเครนอัตโนมัติได้ มี 4 โหมดการทำงาน คือ โหมดควบคุมด้วยมือ โหมดบันทึกเส้นทาง โหมดเคลื่อนที่อัตโนมัติ และโหมดตรวจสอบการทำงาน เครนสามารถจดจำตำแหน่งในพื้นที่การทำงานได้ 8 จุด แต่ละจุดสามารถกำหนดเวลาหยุดรอได้ และสามารถคำนวณเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่โดยประมาณของแต่ละจุด นอกจากนี้ ฟังก์ชันการวัดน้ำหนักแบบไร้เซนเซอร์ ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยการแปลงค่ากำลังไฟฟ้าของที่มอเตอร์ใช้ขณะนั้นจากอินเวอร์เตอร์ แล้วแปลงเป็นน้ำหนักมาแสดงบนจอสัมผัส รูปแบบการเก็บข้อมูลได้รับการพัฒนาขึ้น ผลการทดสอบการอ่านค่าน้ำหนักบรรทุกแสดงว่าวิธีการนี้สามารถอ่านค่าได้ใกล้เคียงกับจริง ดังแสดงในรูปที่ 4 ข้อมูลการใช้งานจะถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำสำรองที่ติดตั้งไว้บนหน้าจอสัมผัสตลอดเวลา รูปที่ 5 แสดงตัวอย่างภาพหน้าจอผู้ใช้งานในโหมดต่าง ๆ

automatic-overhead-crane-03

รูปที่ 4 กราฟเปรียบเทียบน้ำหนักจริงและน้ำหนักที่วัดได้ของมวลที่ใช้ทดสอบโดยใช้ฟังก์ชันวัดน้ำหนักของเครน (หน่วย กิโลกรัม)

รูปที่ 5 ตัวอย่างหน้าจอผู้ใช้งาน

ติดต่อสอบถาม

นางสาวสุจิรา ศักดิ์พรหม
สังกัด งานบริหารโครงการความร่วมมือภาครัฐและเอกชน
สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา (RDI Management)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

ทุกความคิดเห็นของคุณมีความหมาย

ขอความร่วมมือตอบแบบสอบถามเพื่อที่เราจะได้ปรับปรุงแก้ไขพัฒนาในปีต่อๆ ไป

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email

บริการของ สวทช.

สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัยพัฒนา และเข้าใจการทาธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้น

การถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเงิน ภาษี และมาตรการส่งเสริม

กลไกส่งเสริมธุรกิจ SMEs / Start-up

การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โครงสร้างพื้นฐานสาคัญทางวิทยาศาสตร์ และนิคมวิจัยของประเทศ

สอบถามบริการ สวทช.

ติดต่อ ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์
E-mail: brc@nstda.or.th
Call center: 02 564 8000

นิทรรศการที่น่าสนใจ