เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาฟลูออไรด์ปนเปื้อนในน้ำอุปโภคบริโภคสำหรับพื้นที่ชายขอบ
เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาฟลูออไรด์ปนเปื้อนในน้ำอุปโภคบริโภคสำหรับพื้นที่ชายขอบ
วิจัยและพัฒนาโดย
วิจัยและพัฒนาโดย
วิจัยและพัฒนาโดย
ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งเเวดล้อม
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)


ฟันตกกระ (dental fluorosis) เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์
เข้าสู่ร่างกายมากเกินไป ฟลูออไรด์ส่วนใหญ่มาจากน้ำที่ดื่ม
ที่มา : McGrady et al. BMC Oral Health2012, 12:33
ความสำคัญของงานวิจัย :
ฟลูออไรด์ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของแร่ธาตุในชั้นหิน ทำให้ในแหล่งน้ำตามธรรมชาติมีฟลูออไรด์ละลายอยู่ ซึ่งโดยปกติแล้วแหล่งน้ำบาดาลส่วนใหญ่มักมีค่าความเข้มข้นของฟลูออไรด์สูงกว่าแหล่งน้ำผิวดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุและชั้นหินต่างๆ ฟลูออไรด์ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางในการรักษาสุขภาพช่องปาก อย่างไรก็ตามการได้รับความเข้มข้นของฟลูออไรด์ที่สูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ก่อให้โรคฟลูออโรซีส (Fluorosis) ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคดังกล่าวคือ การทำให้ฟันตกกระและทำลายโครงสร้างของฟัน ขณะที่การรับฟลูออไรด์ปริมาณมากเป็นระยะเวลานานอาจส่งผลให้มีการสะสมของฟลูออไรด์ในกระดูก ทำให้ขามีลักษณะพิการที่เรียกว่า ขาโกง (Crippling skeletal fluorosis) ทั้งนี้อาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการที่ไม่สามารถรักษาให้กลับมาเหมือนเดิมได้ รวมทั้งส่งผลต่อลดต่อพัฒนาการทางสมองในเด็ก ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคชนิดอื่นๆได้ ปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคที่องค์การอนามัยโลกแนะนำคือ 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยค่าอนุโลมสูงสุด ไม่เกิน 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร
จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี:
โครงการความร่วมมือระหว่างทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ศูนย์นาโนเทคโนโลยีและภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาฟลูออไรด์ในน้ำบาดาลสำหรับบริโภคอย่างยั่งยืน ดังนี้
1. พัฒนาวัสดุกรองจากถ่านกระดูกสัตว์ ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้ง มีมูลค่าไม่สูง และชุมชนสามารถพัฒนาวัสดุกรองได้เอง เนื่องจากจากโครงสร้างทางเคมีของกระดูกที่ประกอบด้วยไฮดรอกซีอะพาไทต์ เมื่อผ่านกระบวนการเผาในสภาวะที่เหมาะสมจะได้วัสดุกรองที่สามารถกำจัดฟลูออไรด์ได้ดี
2. ระบบผลิตน้ำประปาหมู่บ้านที่มีต้นทุนต่ำ บำรุงรักษาง่าย โดยออกแบบระบบกรองผสมผสานที่ประกอบด้วยถ่านกระดูกสัตว์และถ่านกัมมันต์เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำบาดาลให้มีคุณภาพตามมาตรฐานน้ำบาดาลสำหรับบริโภค โดยระบบดังกล่าวนำไปประยุกต์ใช้ที่ หมู่บ้านบ้านใหม่ในฝัน ตำบลสะเนียน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

ระบบกรอง ติดตั้งที่ ต.สะเนียน อ.เมือง จ.น่าน
(เพิ่มเติมเข้าระบบประปาหมู่บ้าน)
ติดต่อสอบถาม
ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
-
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
- โทรศัพท์: 02 564 7100
- E-mail: bitt@nanotec.or.th