Line Track Skip to content

การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาล

การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาล

การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาล

การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาล

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ
ฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ (RNS)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

         อุตสาหกรรมน้ำตาลของกลุ่มมิตรผลประสบปัญหาที่สำคัญ คือ ปริมาณอ้อยที่เข้าสู่โรงงานมีความแปรปรวนไม่สม่ำเสมอและไม่เพียงพอต่อความต้องการ รวมถึงคุณภาพอ้อยที่ไม่คงที่ตลอดฤดูหีบ ทั้งนี้สาเหตุของควาแปรปรวนในเรื่องของผลผลิตและคุณภาพอ้อย เนื่องจาก ฤดูกาลปลูกอ้อย สภาพแวดล้อมและการจัดการแปลงของเกษตรกร พันธุ์อ้อยที่ใช้ปลูก การระบาดของโรคและแมลง รวมทั้งการจัดการหลังเก็บเกี่ยว แนวทางหนึ่งที่กลุ่มมิตรผลใช้ในการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง คือ การปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้มีผลผลิตและความหวานสูง รวมถึงมีอายุในการไว้ตอที่นานขึ้น แต่การปรับปรุงพันธุ์อ้อยด้วยวิธีมาตรฐานต้องใช้เวลานาน (10-12 ปี) และมีโอกาสที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังสูง

         จากข้อจำกัดดังกล่าวของการปรับปรุงพันธุ์ คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาเทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุล และ Platform Technology ของการปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการ เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้มีลักษณะตามที่ต้องการลงเหลือ 6-7 ปี และ เพิ่มความแม่นยำในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยให้สูงขึ้น

         สวทช. ร่วมดำเนินการวิจัยกับกลุ่มมิตรผล ศึกษาเครื่องหมายโมเลกุลต่อยีนที่ควบคุมความหวานในอ้อย เพื่อช่วยในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยทีมีความหวานสูง (Marker-assisted selection (MAS) ซึ่งมีความแม่นยำสูง และพัฒนา Platform Technology ของการปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการมาใช้ในการตัดสินใจเลือกเครื่องหมายพันธุกรรมสำหรับคัดเลือกอ้อยลูกผสม เพื่อลดระยะเวลาและงบประมาณของการปรับปรุงพันธ์อ้อย ปัจจุบันคณะผู้วิจัยได้พัฒนาอ้อยสายพันธุ์ใหม่ คือ อ้อยภูเขียว ที่มีความหวานและผลผลิตเฉลี่ยไม่แตกต่างหรือดีกว่าพันธุ์มาตรฐาน (KK3 หรือ ขอนแก่น 3) มีลักษณะทิ้งกาบใบเร็ว จึงช่วยแก้ปัญหาการเผาใบอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว โดยได้ผ่านการขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมกันนี้ได้มีการปลูกทดสอบการปรับตัวในพื้นที่ปลูกอ้อยทั่วประเทศ (จำนวน 24 แปลง) และในแปลงของเกษตรกรลูกไร่ของกลุ่มมิตรผลทั้งในเขตภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 10 แปลง (รวมเป็นพื้นที่ 130 ไร่) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของอ้อยสายพันธุ์ใหม่ และในปี 63/64 ได้ส่งเสริมการปลูกพันธุ์อ้อยภูเขียว ในพื้นที่ของเกษตรกรลูกไร่ จำนวนพื้นที่ 450 ไร่ แล้ว

ติดต่อสอบถาม

นางสาวศศิวิมล บุญอนันต์
สังกัด ฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ
สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา (RDI Management)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

ทุกความคิดเห็นของคุณมีความหมาย

ขอความร่วมมือตอบแบบสอบถามเพื่อที่เราจะได้ปรับปรุงแก้ไขพัฒนาในปีต่อๆ ไป

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email

บริการของ สวทช.

สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัยพัฒนา และเข้าใจการทาธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้น

การถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเงิน ภาษี และมาตรการส่งเสริม

กลไกส่งเสริมธุรกิจ SMEs / Start-up

การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โครงสร้างพื้นฐานสาคัญทางวิทยาศาสตร์ และนิคมวิจัยของประเทศ

สอบถามบริการ สวทช.

ติดต่อ ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์
E-mail: brc@nstda.or.th
Call center: 02 564 8000

นิทรรศการที่น่าสนใจ