NAC 2018 | การประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 14 - ผลิตภัณฑ์ยางไทยแข่งขันก้าวไกลต้องมีมาตรฐาน

< < สรุปประเด็นสัมมนา > >

ผลิตภัณฑ์ยางไทยแข่งขันก้าวไกลต้องมีมาตรฐาน
(Raising Standards to Boost Competitiveness of Thailand's Rubber Industry)
วันที่ 12 มีนาคม 2561  เวลา 13:00 – 17:00 น.
ห้องประชุม CC-Auditorium อาคาร 14 (อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
 

 

       อุตสาหกรรมยาง เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สำคัญมากของประเทศไทย มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางมีมากกว่าสองแสนล้านบาทต่อปี ในขณะที่การใช้ผลิตภัณฑ์ยางภายในประเทศมีมูลค่าเพียงกว่าพันล้านบาทเท่านั้น  รัฐบาลจึงให้ความสำคัญในการเร่งสร้างมูลค่าเพิ่มจากยางธรรมชาติให้มากขึ้น โดยขยายขนาดของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางและเพิ่มปริมาณการใช้ยางภายในประเทศ  ทั้งนี้ ปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนการสร้างตลาด คือ การพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ยางรูปแบบต่างๆ ที่ผลิตขึ้นในประเทศให้มีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค  ดังนั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (สมอ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของประเทศจึงได้กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางในระดับประเทศ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ให้ได้รับผลิตภัณฑ์ยางที่มีคุณภาพ และยังได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานในระดับสากล เพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยางให้ สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก รวมถึงคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด  อย่างไรก็ตาม การกำหนดมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางระดับประเทศ ปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ยางที่มีการใช้งานในประเทศ จึงจำเป็นต้องเร่งกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางให้มี ความครอบคลุมมากขึ้นและปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและพื้นฐานเทคโนโลยีของประเทศ  สำหรับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาง และวิธีวิเคราะห์ทดสอบที่เป็นสากลนั้น ประเทศไทยก็จำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลหรือหลักการทางวิชาการเพื่อสนับสนุนการสร้างโอกาสทางธุรกิจและป้องกันการใช้ มาตรฐานสินค้าเป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้า 

     เครือข่ายนวัตกรรมยางพาราอันประกอบด้วย การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. เล็งเห็นถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนา วิธีการวิเคราะห์ทดสอบและการกำหนด และพัฒนา ปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางทั้งในระดับประเทศและระดับสากล จึงได้ร่วมกันจัดการบรรยายและเสวนาในครั้งนี้ ด้วยหวังให้เกิดความตระหนักและสร้าง ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งนับเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่สำคัญในการกำหนดขีดความสามารถในการแข่งขัน

กำหนดการ

13:00 –13:15 .

ขับเคลื่อนมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางไทย : ฟันเฟืองสู่การแข่งขันที่ยั่งยืน

ดร. จุลเทพ ขจรไชยกูล

ผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

13:15 – 14:30 .

เสวนา “มุมมองของภาคอุตสาหกรรมต่อมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางไทย

-          คุณบุญหาญ อู่อุดมยิ่ง

กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

-          คุณอดิศักดิ์ กองวารี

สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย

-          คุณวรเทพ วงศาสุทธิกุล

สมาคมน้ำยางข้นไทย

-         คุณวราภรณ์ ขจรไชยกูล < < Presentation > >

ประธาน กว.29 ยางและผลิตภัณฑ์ยาง

ผู้ดำเนินรายการ: รศ.ดร. ซุกรี หะยีสาแม คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.)

14:30 – 15:00 .

สมอ. กับการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางไทยในอนาคต

คุณมะลิ รักเปี่ยม

ผู้อำนวยการกองกำหนดมาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

15:00 - 15:15 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

15:15 – 16:40 .

การวิจัยพัฒนาและการวิเคราะห์ทดสอบเพื่อกำหนดและรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาง

- คุณณพรัตน์ วิชิตชลชัย < < Presentation > >
  การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)
- ผศ.ดร. กฤษฎา สุชีวะ < < Presentation > >
  ศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผศ.ดร. วิไลรัตน์ ชีวะเศรษฐธรรม < < Presentation > >
  ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.)
- ดร. อรสา อ่อนจันทร์ < < Presentation > >
  กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.)
- คุณสิริรัตน์ ถาวรรัตน์ < < Presentation > >
  ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
- ดร. สุรพิชญ ลอยกุลนันท์ < < Presentation > >

  ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

16:40 – 17:00 .

ตอบข้อซักถามสรุปและปิดการสัมมนา