NAC 2018 | การประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 14 - งานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 14

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย”  
ตอน การนำแนวคิดสะเต็มศึกษาไปใช้ในสถานศึกษา
โดย โครงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียนชนบท (SiRS)
งานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท ด้านพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (HRDR)
ระหว่างวันที่ 10-11 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 9.00 – 16.00 น.
ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี

_________________________________________________________________________________________________________________________________________ 

หลักการและเหตุผล

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” ตอน การนำแนวคิดสะเต็มศึกษามาใช้ในสถานศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดจากโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย จากระดับปฐมวัยสู่ประถมศึกษา เพื่อสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและหลักการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนในพื้นที่ปฏิบัติการ ให้ครูสามารถนำองค์ความรู้และแนวคิดที่ได้รับจากการอบรมไปประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนระดับประถมศึกษา เริ่มจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปัจจุบันได้ดำเนินงานสู่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยกิจกรรมที่นำเสนอเป็นกิจกรรมเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาที่สอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ได้จากการวิเคราะห์ตัวชี้วัดชั้นปีของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ บูรณาการร่วมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM Education) ซึ่งเป็นแนวทางการจัดการศึกษาที่เน้นการบูรณาการองค์ความรู้ขั้นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ที่เน้นการนําความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง ประกอบกับเทคนิคการใช้คำถามแนวสร้างสรรค์ เชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรมที่สนุกสนานเอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้ เสริมสร้างให้นักเรียนได้ใช้ทักษะกระบวนการคิด การตัดสินใจ การทำงานร่วมกัน เกิดการสั่งสมประสบการณ์ทั้งในและนอกห้องเรียน ส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ตลอดจนการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการดําเนินชีวิตและการทํางาน สิ่งที่นักเรียนได้รับจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เป็นการติดอาวุธทางปัญญาให้เด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัยและประถมศึกษา ซึ่งเป็นฐานรากที่สำคัญในการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมที่มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วต่อไป 

กลุ่มเป้าหมาย

ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 120 คน จากโรงเรียนเครือข่ายโครงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียนชนบท (SiRS) จำนวน 100 โรงเรียน จาก 5 จังหวัด คือ แม่ฮ่องสอน น่าน สกลนคร พังงา และนราธิวาส ในพื้นที่โครงการพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา และโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี 

ระยะเวลาการดำเนินงาน และสถานที่

ระหว่างวันที่ 10 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 9.00-16.00 น.
ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี

คณะวิทยากร
งานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท สวทช. 

  1. ดร.บัญชา แสนทวี ผู้จัดการงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท
  2. นางสาวกิตติยา บำบัดภัย นักวิชาการ สวทช.        
  3. นางสาวกนกพรรณ เสลา นักวิชาการ สวทช.
  4. นางสาวปฐมาภรณ์ ชุมแสง นักวิชาการ สวทช.
  5. นายศิโรจน์ ศรีสรากรณ์ นักวิชาการ สวทช.
  6. นางสาวสุคนธา อาวัชนาการ นักวิชาการ สวทช.
  7. นางสาวฉมาพร ขจรบุญ นักวิชาการ สวทช.

คณะวิทยากรภายนอก

  1. ดร.ชนาธิป ทุ้ยแป รองผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ  
  2. รศ.ดร.ชาตรี ฝ่ายคำตา ประธานสาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  3. คุณธาฤชร ประสพลาภ นิสิต ป.เอก วิทยาศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  4. คุณกรกนก เลิศเดชาภัทร นิสิต ป.เอก วิทยาศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  5. คณะผู้ช่วยวิทยากรจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


กำหนดการ

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม 256
1

ผู้เข้าร่วมอบรม เข้าที่พัก ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี (Check in ได้ในเวลา หลัง 13.00 น.)


วันเสาร์ที่
10 มีนาคม 2561

07.00-08.30 น.

รับประทานอาหารเช้า ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร (SSH)

08.30-09.00 น.

ลงทะเบียน

หน้าห้องประชุมออดิทอเรียม บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร (SSH)

09.00-09.30 น.

พิธีเปิด  ณ  ห้องประชุมออดิทอเรียม บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร (SSH)

ประธาน:   ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล

              รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

กล่าวรายงาน :  ดร.บัญชา แสนทวี

                    ผู้จัดการงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท สวทช.

ถ่ายภาพร่วมกันเป็นที่ระลึก

09.30-09.45 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

09.45-12.00 น.

บรรยาย เรื่อง “จากปฐมวัยสู่ประถมศึกษา...ผลการดำเนินงานตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย

โดย ดร.บัญชา แสนทวี     

ผู้จัดการงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท สวทช.

12.00-13.00 น.

รับประทานอาหารกลางวัน ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร (SSH)

13.00-14.45 น.

บรรยาย เรื่อง การวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551

โดย ดร.ชนาธิป ทุ้ยแป    

รองผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ     

14.45-15.00 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

15.00-16.00 น.

แลกเปลี่ยน เรื่อง การวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551

โดย ดร.ชนาธิป ทุ้ยแป    

รองผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ     

16.00–17.00 น.  

เยี่ยมชมงานนิทรรศการ การประชุมประจำปี 2561 สวทช.

17.30-18.00 น.

รับประทานอาหารเย็น ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร (SSH)

  

 วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม 2561

07.00-08.30 น.

รับประทานอาหารเช้า ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร (SSH)

08.30-09.00 น.

ลงทะเบียน หน้าห้องประชุมออดิทอเรียม บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร (SSH)

09.00-10.30 น.

บรรยาย เรื่อง “PCK for teaching science: สมรรถนะของครูเพื่อการสอนวิทยาศาสตร์อย่างที่วิทยาศาสตร์เป็น”

โดย รศ.ดร.ชาตรี ฝ่ายคำตา 

ประธานสาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

10.30-10.45 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

10.45-12.00 น.

บรรยายและกิจกรรม เรื่อง “PCK for teaching science” (ต่อ)

โดย รศ.ดร. ชาตรี ฝ่ายคำตา    คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

     คุณธาฤชร ประสพลาภ      คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

     คุณกรกนก เลิศเดชาภัทร   คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

12.00-13.00 น.

รับประทานอาหารกลางวัน ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร (SSH)

13.00-14.30 น.

บรรยายและกิจกรรม เรื่อง “PCK for teaching science” (ต่อ)

โดย รศ.ดร. ชาตรี ฝ่ายคำตา    คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

     คุณธาฤชร ประสพลาภ      คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

     คุณกรกนก เลิศเดชาภัทร   คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

     คุณศิโรจน์ ศรีสรากรณ์     นักวิชาการ สวทช.  

     คุณสุคนธา อาวัชนาการ    นักวิชาการ สวทช.

     คุณกิตติยา บำบัดภัย        นักวิชาการ สวทช.  

14.30-14.45 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

14.45-15.30 น.

บรรยายและกิจกรรม เรื่อง “PCK for teaching science” (ต่อ)

โดย รศ.ดร. ชาตรี ฝ่ายคำตา    คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

     คุณธาฤชร ประสพลาภ     คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

     คุณกรกนก เลิศเดชาภัทร   คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

     คุณปฐมาภรณ์ ชุมแสง      นักวิชาการ สวทช.   

     คุณฉมาพร ขจรบุญ        นักวิชาการ สวทช.

     คุณกนกพรรณ เสลา       นักวิชาการ สวทช.

15.30 – 16.00 น.

มอบใบประกาศ ถ่ายภาพร่วมกัน และพิธีปิด

ประธาน : ดร. ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล

             รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

กล่าวรายงาน : ดร. บัญชา แสนทวี

                   ผู้จัดการงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท

17.30-18.30 น.

รับประทานอาหารเย็น ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร (SSH)


วันจันทร์ที่
12 มีนาคม 2561

07.00-08.30 น.          รับประทานอาหารเช้า ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร (SSH)

                               ผู้เข้าร่วมอบรมฯ เดินทางกลับภูมิลำเนา โดยสวัสดิภาพ