การสัมมนาเรื่อง การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมกุ้งประเทศไทย

การสัมมนาเรื่อง
การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมกุ้งประเทศไทย
The Recovery of the Shrimp Industry in Thailand

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม 2559 เวลา 13.30-16.30 น.
ห้องประชุม CC-305 ชั้น 3 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย


 

ประเทศไทยสามารถผลิตกุ้งกุลาดำได้มากเป็นอันดับหนึ่งของโลกโดยในปี 2543 มีปริมาณผลผลิตประมาณร้อยละ 31 ของผลผลิตกุ้งทั่วโลก อย่างไรก็ตามในปี 2541-2545 ปริมาณการผลิตกุ้งลดลงปีละ 3.19% เนื่องจากปัญหาการส่งออกทำให้เกษตรกรลดการผลิต อีกทั้งต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าประเทศคู่แข่งทำให้มีการนำเข้ากุ้งสดแช่แข็งมากขึ้น ในปี 2545 เกิดปัญหากุ้งกุลาดำโตช้า ไม่ได้ขนาดตามที่เกษตรกรต้องการจึงเปลี่ยนมาเลี้ยงกุ้งขาวเพิ่มขึ้น ในปี 2551 เริ่มมีปัญหาการระบาดโรคกุ้งตายด่วนในกุ้งขาวทำให้เกษตรกรบางส่วนเริ่มกลับมาเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ในปี 2555 ฟาร์มกุ้งประสบปัญหาการระบาดอย่างหนักของโรคกุ้งตายด่วนทั้งในฟาร์มกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำทำให้ในปี 2557 ผลผลิตกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำลดลงต่ำกว่าที่คาดการณ์มาก ในปี 2558 คาดว่าผลผลิตจะฟื้นตัวสู่ภาวะปกติเนื่องด้วยเกษตรกรมีการปรับตัวและสถานการณ์ปัญหาโรคกุ้งตายด่วนดีขึ้น

 

เนื่องจากตลาดโลกยังคงมีความต้องการสูงจึงมีความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมโดยเฉพาะกุ้งกุลาดำ ซึ่งประเทศไทยมีข้อได้เปรียบหลายประการอาทิ เกษตรกรมีทักษะและความเชี่ยวชาญ มีความพร้อมในด้านเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งให้มีความยั่งยืน สวทช. โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ศช.) ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาด้านกุ้งกุลาดำตั้งแต่ปี 2549 ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาสายพันธุ์กุ้งกุลาดำพ่อแม่พันธุ์ด้วยการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กุ้งควบคู่ไปกับการสร้างองค์ความรู้พื้นฐานเพื่อช่วยแก้ปัญหาของเกษตรกร ในด้านการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลแบบสนิปเพื่อคัดเลือกพันธุ์กุ้งที่ตัวโต สมบูรณ์พันธุ์ และพัฒนาเป็นแนวทางในการกระตุ้นการเจริญพันธุ์ในกุ้งกุลาดำ การพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับโรคกุ้งและระบบภูมิคุ้มกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจในกลไกการต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัสของกุ้ง อาทิ ระบบโพรฟีนอลออกซิเดส โครงสร้างประชากรในลำไส้กุ้งเพื่อพัฒนาเป็นแนวทางในการกระตุ้นหรือเสริมสร้างสุขภาพกุ้ง ตลอดจนพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังและควบคุมโรคระบาดได้อย่างทันท่วงที เป็นต้น

icon_pdf

สรุปประเด็นการสัมมนา

กำหนดการ

13.30 – 14.00 น. ภาพรวมอุตสาหกรรมกุ้งไทย
โดย ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
นายกกิตติคุณสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย
14.00 – 14.30 น. ปัญหาและอุปสรรคในงานวิจัยด้านกุ้งของประเทศไทย
โดย ผศ.ดร.นิติ ชูเชิด
ภาควิชาชีววิทยาประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
14.30 – 15.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.00 – 16.00 น. 25 ปี กับการพัฒนางานวิจัยด้านกุ้งของไบโอเทค

  • งานวิจัยที่สนับสนุนการปรับปรุงพันธุ์กุ้ง
    โดย ดร.ศิราวุธ กลิ่นบุหงา
    ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.
  • องค์ความรู้เรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างกุ้งและเชื้อก่อโรค และการนำไปใช้
    โดย ดร.กัลยาณ์ แดงติ๊บ
    ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.
16.00 – 16.30 น. เทคโนโลยีในการปรับปรุงพันธุ์กุ้งให้โตเร็วและ/หรือต้านโรค
โดย ดร.ศิราวุธ กลิ่นบุหงา
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

icon_pdf กำหนดการ