Food Innovation Network

CoverBanner-new

Food Innovation Network @ TSP นำเสนอแนวโน้ม รูปลักษณ์ และฟังก์ชั่นของนวัตกรรมอาหารที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต พร้อมผลิตภัณฑ์อาหารจากวัตถุดิบใหม่ๆ ผ่าน 3 กิจกรรมหลักได้แก่

  • นิทรรศการ FUTURE FOOD : the NEXT for better life ณ โถงนิทรรศการชั้น 1 INC2 Tower C แสดงนวัตกรรมอาหาร ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และเทคโนโลยีใน 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่

Functional food อาหารเป็นยาได้ด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย ที่ทำให้สามารถออกแบบอาหาร ดึงคุณค่า และรักษาประโยชน์ของสารอาหารตามธรรมชาติ เพื่อให้มนุษย์ได้รับประโยชน์สูงสุดจากอาหาร พบกับอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารรูปแบบใหม่ เช่น น้ำเชื่อมสกัดจากเห็ดแครงที่อุดมไปด้วยวิตามินบี เกลือแร่ และเบตากลูแคน ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน BIO calcium และ Collagen จากเปลือกไข่ที่ร่างกายดูดซึมไปใช้งานได้ดีขึ้น ผงลูกยอผสมถั่งเช่าที่ผลิตด้วยกระบวนการ ที่สามารถกำจัดกลิ่นและรสเฝื่อน พร้อมทั้งเก็บล็อคคุณค่าไว้ได้อย่างครบถ้วน

Healthy convenience อิ่มสะดวก อร่อย ห่างไกลโรค กับผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงและอาหารพร้อมบริโภค ที่ไม่ใช่แค่อำนวยความสะดวก รับประทานที่ไหนเวลาใดก็ได้ แต่ยังอร่อยและถูกออกแบบสารอาหารโดยนักโภชนาการให้เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคต่างๆ ได้แก่ อาหารพร้อมบริโภค 5 สูตรสำหรับผู้ป่วย 5 โรคได้แก่โรคเบาหวาน เกาต์ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคกระดูกพรุน โรคสมองและระบบประสาท ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ที่เลี้ยงด้วยสูตรอาหารผสมสมุนไพรทำให้ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เนื้อไก่มีไขมันน้อยแต่ยังคงนุ่มอร่อย

Smart packaging และ IT of food เมื่อบรรจุภัณฑ์ไม่ได้จำกัดหน้าที่เพียงแค่สิ่งที่หุ้มห่ออาหารอีกต่อไป นอกจากจะความสวยงามแล้ว ยังจำเป็นต้องทำหน้าที่เก็บถนอมอาหารให้คงคุณภาพ สะอาด และปลอดภัย พบกับบรรจุภัณฑ์ที่ทำหน้าที่ป้องกันแบคทีเรีย ทำหน้าที่ยืดอายุรักษาความสด และ บรรจุภัณฑ์ที่ทำหน้าที่บอกความสดใหม่ของอาหาร นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นผู้ช่วยสำคัญในการผลิตอาหาร เช่น โรงเรือนอัจฉริยะ โรงเรือนปลูกผักระบบปิดที่ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์และแม่นยำด้วยเซนเซอร์ทำให้สามารถผลิตพืชผักนอกฤดูการ และลดการใช้สารเคมี

Services For Food Industry -บริการที่ช่วยลดอุปสรรคและข้อจำกัดต่างๆในการผลิตนวัตกรรมอาหารทั้งบริการด้านข้อมูลสารสนเทศ บริการด้านการทดสอบมาตรฐาน บริการด้านเทคโนโลยีการผลิต บริการที่ปรึกษาทางด้านธุรกิจ และบริการทางด้านการเงิน จากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

  • สัมมนาหัวข้อ นวัตกรรมอาหารสำหรับปี 2025 คุณพร้อมหรือยัง?
    31 มี.ค. 2559 เวลา 13.00-16.30 น. ณ ห้อง CC-203 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

อนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า โลก สังคม และประชากรจะเปลี่ยนแปลงไป จะมีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น ประชากรส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในเมือง เทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามาก สิ่งหนึ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงคือคนยังต้องกินอาหาร แต่การตัดสินใจเลือกซื้อเปลี่ยนไป รูปแบบและฟังก์ชั่นของอาหารจึงเปลี่ยนไป มาดูแนวโน้มอาหารในอีก 10 ปีข้างหน้า มารู้จักเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต และร่วมกันหาคำตอบว่า ประเทศไทยมีความพร้อมและศักยภาพทั้งในแง่ความรู้และเครื่องมือเครื่องจักรที่รองรับความต้องการของผู้บริโภคในอนาคตได้หรือไม่ การทำงานในรูปแบบเครือข่ายจะช่วยเพิ่มโอกาสรอดสนับสนุนโอกาสรุ่งให้กับอุตสาหกรรมอาหารได้อย่างไร ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nac2016/?page_id=178

13.00- 13.15 น. ลงทะเบียน
13.15-13.45 น. แนวโน้มนวัตกรรมอาหารในอนาคต
โดย คุณสิทธิเดช ศรีประเทศ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดูปองท์ (ประเทศไทย) จำกัด
 13.45-14.15 น. ขีดความสามารถของประเทศไทยในการรองรับอุตสาหกรรมอาหารอนาคต
โดย  รศ.ดร.ปาริฉัตร หงสประภาส อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
14.30-15.30 น. เสวนา “การสร้างเครือข่ายเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมอาหาร”
(Food Innovation Network)
โดย มีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่
– ดร.ธัญญารัตน์ จิญกาญจน์ หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
– ดร.วรรณพ วิเศษสงวน  ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพอาหาร
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
– ดร.สิทธิชัย แดงประเสริฐ Chief Innovation Officer and Co-founder
บริษัท ซีดีไอพี (ประเทศไทย) จำกัด และ
ประธานชมรมผู้เช่าอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยผู้ดำเนินรายการ : คุณอุษารัตน์ บุนนาค ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส
ฝ่ายการตลาดและกิจกรรมส่งเสริมคลัสเตอร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกิจกรรมสัมมนากลุ่มย่อย FIN Talk @ TSP ณ ห้องโถง Business Center ชั้น 1 อาคารกลุุ่มนวัตกรรม 2 ทาวเวอร์ดี (INC2-D) ระหว่างวันที่ 1-2 เมษายน 2559 ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมงาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางอีเมล fintalk2016@nstda.or.th หรือ โทร. 0 2564 7200 ต่อ 5387, 5356, 5357, 5361  ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ http://goo.gl/forms/zVxIhkRQco
วันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2559
10.00-11.30 ชุดทดสอบสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร

โดย คุณอรพิน ยอดยิ่งสมบัติ
บจ. โมรินากะ ไบโอ-ไซเอนซ์ (ประเทศไทย)

ปัจจุบันแนวโน้มของประชากรที่เป็นโรคภูมิแพ้อาหารมีมากขึ้นและอาจแสดงอาการแพ้อย่างรุนแรงจนเสียชีวิต ดังนั้นการระบุสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร (Food Allergen) เป็นข้อกำหนดสำคัญที่ผู้ผลิตต้องแสดงในฉลากผลิตภัณฑ์อาหารที่จำหน่ายในประเทศ และส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ทั้ง EU สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ผู้ประกอบการอาหารที่ต้องการตรวจสอบการมีอยู่ของสารก่อภูมิแพ้ในอาหารสามารถใช้ชุดทดสอบสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร (Food Allergen Test Kits) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยที่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย โดยความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาระหว่าง บริษัท โมรินากะ ไบโอ-ไซเอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชุดทดสอบนี้มีความไวสูง (LOQ = 0.3 ppm) มีความเฉพาะเจาะจงสูง สามารถหาปริมาณโปรตีนก่อภูมิแพ้ในผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป วัตถุดิบ รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องมือ และน้ำล้างที่ผ่านกระบวนการทำความสะอาด เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นในการแสดงฉลากอาหารได้อย่างถูกต้อง และช่วยให้ผู้บริโภคสามารถหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ได้ นอกจากนี้ยังช่วยยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารไทยสู่สากลรองรับนโยบายความปลอดภัยของอาหารในประเทศ

13.30-15.00 เสวนาเรื่อง “กินอยู่สบาย สไตล์คนเป็นเบาหวาน”

โดย คุณวรกร เลาหเสรีกุล เจ้าของกิจการ บริษัท ฟาร์มคิดดี จำกัด
และ ทันตแพทย์หญิง ดร.ดวงฤดี โชติมงคล เจ้าของกิจการ บริษัท คุณค่าป่าไทย จำกัด

เบาใจสำหรับคนเป็นเบาหวาน ด้วยนวัตกรรมที่ช่วยให้สามารถรับประทานอาหารได้หลากหลายและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานดีขึ้น มาทำความรู้จัก 2 ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่ถูกต่อยอดจากงานวิจัยรางวัลระดับประเทศ โดยผู้ประกอบการที่มีความมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยงานวิจัย ได้แก่ แครกเกอร์ Low G.I. เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานเนื่องจากมีค่า G.I. ต่ำ ทำให้เกิดการดูดซึมน้ำตาลเข้ากระแสเลือดอย่างช้าๆ และยาสีฟันเปลือกมังคุดสำหรับผู้ป่วย

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน 2559
10.00-11.30 โรงเรือนอัจฉริยะ : ผู้ช่วยผลิตอาหารปลอดภัย

โดย นาวาโท ดร. กฤษฎา แสงเพ็ชร์ส่อง
หัวหน้าโครงการชุดพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวแบบกราฟิกสำหรับภาคการเกษตร
โรงเรียนนายเรือ

การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ระบบอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติขั้นสูงซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่คิดค้นและผลิตภายในประเทศ มาประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตรเป็นโรงเรือนอัจฉริยะแบบปิดที่มีระบบควบคุมอัตโนมัติ สามารถควบคุมให้อากาศในโรงเรือนมีอุณหภูมิและความชื้นตรงตามความต้องการ ลดโอกาสการติดโรคและง่ายต่อการควบคุมแมลงศัตรูพืช ทำให้ลดการใช้ยาฆ่าแมลงและสารเคมีในการปลูกพืชผัก นอกจากนี้ยังมีความถูกต้องแม่นยำของการควบคุม ความสะดวก และประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปลูกผักปลอดภัยทั้งสำหรับฟาร์มขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กในครัวเรือนได้

พบกันที่บริเวณอาหาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 (Innovation Cluster 2 : INC2) ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม – 2 เมษายน 2559 เวลา 9.00-17.00 น.

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ customerrelation@sciencepark.or.th