การสัมมนาเรื่อง จาก “การค้นพบยาต้านมาลาเรีย P218” สู่ “โอกาสและความท้าทายในด้านการพัฒนายาในประเทศไทย”

การสัมมนาเรื่อง
จาก “การค้นพบยาต้านมาลาเรีย P218” สู่ “โอกาสและความท้าทายในด้านการพัฒนายาในประเทศไทย”
From “Discovery of Antimalarial P218” to “Opportunities and Challenges for Drug Development in Thailand”

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม 2559 เวลา 09.00 – 12.00 น.
ห้องประชุม CC-305 ชั้น 3 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย


โรคมาลาเรียจัดเป็นโรคเขตร้อนที่อุบัติใหม่และอุบัติซ้ำซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค อีกทั้งยังมีปัญหาเชื้อดื้อยาจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนายาต้านมาลาเรียชนิดใหม่อย่างเร่งด่วน คณะผู้วิจัย ห้องปฏิบัติการวิศวกรรมโปรตีน-ลิแกนด์และชีววิทยาโมเลกุล หน่วยวิจัยชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ศช.) สวทช. ได้ทำการศึกษาวิจัยกลไกยาต้านมาลาเรีย โครงสร้างเป้าหมายยา และพัฒนายาต้านมาลาเรียกลุ่มแอนติโฟเลตมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2540 และนำไปสู่ความสำเร็จของการค้นพบสารแอนติโฟเลตต้นแบบต้านมาลาเรีย P218 ที่มีประสิทธิภาพและมีความจำเพาะสูงต่อเชื้อมาลาเรียดื้อยาและมีความปลอดภัยต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในปี 2551 ทั้งนี้ในระหว่างปี 2557-2559 สวทช. โดยคณะผู้วิจัยจาก ศช. ร่วมกับ Medicines for Malaria Venture (MMV) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกในการพัฒนายารักษามาลาเรีย ในการทดสอบยืนยันฤทธิ์ต้านมาลาเรีย ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและความปลอดภัยของสาร P218 ในสัตว์ทดลองเลี้ยงลูกด้วยนม ตลอดจนความเป็นพิษต่อระบบต่างๆ อย่างละเอียดในระดับพรีคลินิกที่ได้มาตรฐาน Good Laboratory Practice (GLP) โดยสาร P218 ได้ผ่านเกณฑ์การทดสอบทุกด้านและกำลังเตรียมการเข้าสู่การขึ้นทะเบียนยาวิจัยใหม่ (Investigational New Drug, IND) และการทดสอบครั้งแรกในคน (First In Human, FIH) ในไม่ช้านี้ หาก P218 สามารถผ่านเกณฑ์การทดสอบ FIH เป้าหมายต่อไปคณะผู้วิจัยจะทำการผลักดันสาร P218 เพื่อเข้าสู่การทดสอบในระดับคลินิกในอาสาสมัคร ซึ่งหากสำเร็จ อาจสามารถใช้ทดแทนยาต้านมาลาเรียทั่วโลกซึ่งในปัจจุบันที่พบปัญหาการดื้อยาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงนับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของทีมนักวิจัยไทยด้านการวิจัยและพัฒนายารักษาโรคมาลาเรีย

ทั้งนี้ เนื่องจากการพัฒนายาในระดับพรีคลินิค การสังเคราะห์ยาเพื่อการทดสอบในคน การทดสอบ FIH และระดับคลินิค จำเป็นต้องทำในสถาบันวิจัย โรงงาน และสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองด้านมาตรฐานสากล อาทิ GLP, Good Manufacturing Practice (GMP) และ Good Clinical Practice (GCP) เป็นต้น จึงเป็นโอกาสในการเสวนาเพื่อร่วมพัฒนาศักยภาพการวิจัยและพัฒนายาในประเทศไทยโดยความร่วมมือทั้งในภาครัฐและเอกชน

icon_pdf

สรุปประเด็นจากการสัมมนา

icon_pdf

Presentation ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล

icon_pdf

Presentation ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์

กำหนดการ

09.00 – 09.15 น. บทบาทของ สวทช. ในการพัฒนายา
โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล
ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
09.15 – 10.00 น. สถานภาพและความสำเร็จของงานวิจัยและพัฒนาสารต้านมาลาเรีย P218
โดย ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์
ดร.สุมาลี กำจรวงศ์ไพศาล
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.
10.00 – 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30 – 12.00 น. การเสวนาเรื่อง การพัฒนาศักยภาพการวิจัยและพัฒนายาในประเทศไทย

  • มุมมองจากนักวิจัย สวทช.
    โดย ดร.สุมาลี กำจรวงศ์ไพศาล
    ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.
  • มุมมองจากภาครัฐ
    โดย นพ. นพพร ชื่นกลิ่น
    ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม
    ดร.นเรศ ดำรงชัย
    ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์
  • มุมมองจากภาคเอกชน
    โดย  ดร.โอสถ เนระพูศรี
    บริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอหน์สัน (ไทย) จำกัด

ดำเนินรายการอภิปรายโดย
ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

icon_pdf กำหนดการ