Gallic Gold

อนุภาคนาโนทองคำกรดแกลลิก สำหรับเครื่องสำอาง

          กรดแกลลิก (gallic acid) พบมากในพืช เช่น องุ่น เป็นต้น ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ต้านแบคทีเรียก่อโรคผิวหนังหรือสิวอักเสบ เช่น สแตฟฟิโลคอคคัส ออเรียส , โพรพิโอนิแบคทีเรียม แอคเน่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถยับยั้งเซลล์เพาะเลี้ยงมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น ทั้งนี้กรดแกลลิกยังมีคุณสมบัติการต้านการสร้างเม็ดสีผิว (Antimelanogenic acitivity) 

          ทองคำ ถูกนำมาใช้ในการรักษาทางการแพทย์ ในรูปของอนุภาคทองคำนาโน สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เช่น การนำส่งยีนและส่งยา ภาพทางการแพทย์ในโรคไขข้ออักเสบ และการรักษามะเร็ง เนื่องจากสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของอนุภาคทองนาโนนั่นเอง จากการวิจัยพบว่าอนุภาคทองคำนาโนที่มีช่วงระหว่าง 10-60 นาโนเมตร ไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์มนุษย์ และสามารถแทรกซึมไปยังชั้นหนังกำพร้าได้

จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement)

          ผู้ประดิษฐ์จึงได้ผลิตสารออกฤทธิ์เพื่อบำรุงผิวด้วยอนุภาคทองคำนาโนที่เชื่อมติดกับกรดแกลลิกที่สามารถแทรกซึมลงไปในผิวหนังชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) ซึ่งเป็นชั้นที่ไม่มีหลอดเลือด แต่ได้รับสารอาหารและถ่ายเทของเสียโดยการแพร่ผ่านหนังแท้ ซึ่งการนำอนุภาคทองคำนาโนที่เชื่อมติดด้วยกรดแกลลิกจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแทรกซึมแกลลิกเข้าสู่เซลล์ผิวได้ดีขึ้น

คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์

          - ทำให้ผิวกระจ่างใส

          - ช่วยลดการสร้างเม็ดสีของเซลล์เมลาโนไซต์ (Melanocytes) 

          - กระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังสร้างกลูตาไธโอน (glutathione) เพิ่มขึ้น

การประยุกต์ใช้งาน

          - เหมาะสำหรับเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ต่างๆได้

กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย

          กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง

 กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย

          บริษัทผลิตเครื่องสำอาง และบริษัทรับจ้างผลิตเครื่องสำอาง (OEM)

สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา

          อยู่ระหว่าง ยื่นขอรับสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1701007297 (ยื่นวันที่ 8 ธันวาคม 2560)

สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์

          อยู่ระหว่างพัฒนา


ตารางที่ 1 ร้อยละการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารทดสอบ


สาร

% Tyrosinase inhibition

GA-HAuCl4

36.70

Sodium-HAuCl4

15.14




ติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

นางสาวพิชชานันท์ พงษ์พรรณากุล
ศูนย์บริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
โทรศัพท์ 086- 451-4455 E-mail : pitcpo@kku.ac.th

รศ.ดร.จุรีรัตน์  ดาดวง
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทรศัพท์ 086-851-1422 E-mail : jurpoo@kku.ac.th

นางวันนิสา วงษ์สัมปันโน
อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทรศัพท์ 091-130-4198 E-mail : kkubiz@hotmail.com

ผลงานที่จัดแสดง