Skip to content
NSTDA SPACE Education

NSTDA SPACE Education

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ และสะเต็มสำหรับเยาวชนไทย โดย สวทช.

  • Home
  • About Us
  • Asian Try Zero-G
  • Kibo-RPC
  • AHiS
  • Space Ratchaphruek Tree
  • Parabolic Flight
  • Articles
  • Alumni
  • Contact us
  • Home
  • News & Articles
  • SpaceX เตรียมส่งตัวอ่อนหมึกหูช้างและหมีน้ำ สู่สถานีอวกาศนานาชาติ
  • News & Articles

SpaceX เตรียมส่งตัวอ่อนหมึกหูช้างและหมีน้ำ สู่สถานีอวกาศนานาชาติ

NSTDA SPACE Education 05/06/2021
          SpaceX เตรียมพร้อมที่จะปล่อยภารกิจยานขนส่งสินค้าครั้งที่ 22 ไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ภายในสัปดาห์นี้ และมีสิ่งชีวิตที่น่าสนใจบรรจุอยู่ภายในแคปซูลขนส่งสินค้า Dragon
 
          หมึกหูช้าง (Bobtail squid) และหมีน้ำ (tardigrades) จะมุ่งหน้าเดินทางสู่วงโคจรเพื่อช่วยนักวิจัยตอบคำถามสำคัญเกี่ยวกับการบินในอวกาศ
หมึกหูช้างและหมีน้ำ จะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศโดยจรวด Falcon 9 รุ่นใหม่ที่มีชื่อเรียกว่า B1067 ซึ่งหากทุกอย่างเป็นไปตามแผน ภารกิจ CRS-2 ของ SpaceX และการปล่อยยานขนส่งสินค้า Dragon ครั้งที่ 22 ภายใต้สัญญา Commercial Resupply Service กับ NASA จะปล่อยออกจาก Pad 39A ที่ Kennedy Space Center ของ NASA ในรัฐฟลอริดา ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน 64 (ตรงกับวันที่ 4 มิ.ย. ของประเทศไทย)
 
          ตัวอ่อนหมึกหูช้าง จะเป็นหนึ่งในการทดลองวิจัยในสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งหมึกตัวเล็กเหล่านี้เป็นสิ่งมีชีวิตที่น่าสนใจ เมื่อเรืองแสงในความมืด โดยมีอวัยวะพิเศษในถุงหมึกที่ส่องสว่างได้ในเวลากลางคืน
 
          นักวิจัยหวังว่าหมึกจะช่วยให้ความกระจ่างว่า จุลินทรีย์ในสัตว์มีปฏิกิริยาอย่างไรต่อการบินในอวกาศ ด้วยเหตุนี้ NASA จึงส่งตัวอ่อนของหมึกที่เพิ่งฟักออกมาไปยังอวกาศ เพื่อศึกษาว่าความสัมพันธ์ระหว่างหมึกกับกลุ่มจุลินทรีย์ชีวภาพมีพฤติกรรมอย่างไรในสภาวะไร้น้ำหนัก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัยที่เรียกว่า “ความเข้าใจต่อสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำต่อปฏิกิริยาระหว่างสัตว์กับจุลินทรีย์”
 
          ปลาหมึกนั้นมีระบบภูมิคุ้มกันคล้ายกับของมนุษย์ แม้จะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างธรรมดากว่า แต่นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้การศึกษาได้ง่าย
 
  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related

Tags: Bobtail squid SpaceX หมึกหูช้าง

Continue Reading

Previous: ครบรอบ 40 ปี โครงการกระสวยอวกาศของนาซา
Next: WISA Woodsat ดาวเทียมไม้ดวงแรกของโลก

Related Stories

ทีมกาแล็กติก 4 คว้าอันดับ 3 รอบชิงแชมป์นานาชาติ โครงการ Kibo-RPC ครั้งที่ 4
  • News & Articles

ทีมกาแล็กติก 4 คว้าอันดับ 3 รอบชิงแชมป์นานาชาติ โครงการ Kibo-RPC ครั้งที่ 4

30/10/2023
ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ
  • Kibo-RPC
  • News & Articles

ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ

13/07/2023
กิจกรรม International Space Challenge 2024
  • News & Articles

กิจกรรม International Space Challenge 2024

09/05/2023

You may have missed

ทีมกาแล็กติก 4 คว้าอันดับ 3 รอบชิงแชมป์นานาชาติ โครงการ Kibo-RPC ครั้งที่ 4
  • News & Articles

ทีมกาแล็กติก 4 คว้าอันดับ 3 รอบชิงแชมป์นานาชาติ โครงการ Kibo-RPC ครั้งที่ 4

30/10/2023
ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ
  • Kibo-RPC
  • News & Articles

ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ

13/07/2023
ผลคะแนน The 4th Kibo-Robot Programming Challenge รอบชิงแชมป์ประเทศไทย
  • Kibo-RPC

ผลคะแนน The 4th Kibo-Robot Programming Challenge รอบชิงแชมป์ประเทศไทย

12/07/2023
กิจกรรม International Space Challenge 2024
  • News & Articles

กิจกรรม International Space Challenge 2024

09/05/2023
NSTDA SPACE Education Copyright © All rights reserved. | DarkNews by AF themes.