Skip to content
NSTDA SPACE Education

NSTDA SPACE Education

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ และสะเต็มสำหรับเยาวชนไทย โดย สวทช.

  • Home
  • About Us
  • Asian Try Zero-G
  • Kibo-RPC
  • AHiS
  • Space Ratchaphruek Tree
  • Parabolic Flight
  • Articles
  • Alumni
  • Contact us
  • Home
  • Kibo-RPC
  • โครงการแข่งขัน Space Flying Robot Programming Challenge 2020 (SRPC2020)
  • Kibo-RPC

โครงการแข่งขัน Space Flying Robot Programming Challenge 2020 (SRPC2020)

NSTDA SPACE Education 15/10/2019

          สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ องค์การสำรวจอวกาศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JAXA), องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ (NASA) และหน่วยงานพันธมิตร จัดโครงการแข่งขัน Space Flying Robot Programming Challenge 2020 (SRPC2020) เป็นครั้งแรกของประเทศไทย ชิงรางวัลรวมมูลค่า 200,000 บาท

          โดยทีมชนะเลิศจะได้สิทธิ์เป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมการแข่งขัน Kibo Robot Programming Challenge 2020 รอบชิงแชมป์เอเชีย ณ Tsukuba Space Center ประเทศญี่ปุ่น ในเดือนกันยายน พ.ศ.2563

  • ตรวจสอบรายชื่อทีมที่ส่งใบสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน
  • การแข่งขัน The 2nd Kibo Robot Programming Challenge

ที่มาโครงการ

          องค์การสำรวจอวกาศประเทศญี่ปุ่น (Japan Aerospace Exploration Agency : JAXA) และองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ (National Aeronautics and Space Administration : NASA) ได้มีความร่วมมือกัน ริเริ่มจัดการแข่งขันภารกิจหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศ ชิงแชมป์เอเชีย ในระดับเยาวชนขึ้นเป็นครั้งแรก ภายใต้โปรแกรม JAPAN US Open Platform Partnership (JP-US OP3) โดยจะจัดการแข่งขันรอบชิงแชมป์เอเชีย ในเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 2020 ณ Tsukuba Space Center ประเทศญี่ปุ่น

          สำหรับหุ่นยนต์ที่ใช้ในการแข่งขันในครั้งนี้ คือหุ่นยนต์ Astrobee ของ NASA และหุ่นยนต์ Int Ball ของ JAXA โดยเป็นการแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ Astrobee ผู้ช่วยนักบินอวกาศที่ใช้งานอยู่จริงบนสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station : ISS) ให้ปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย

          เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของเยาวชนไทย ในการพัฒนาขีดความรู้ความสามารถด้านสะเต็มศึกษา (Science Technology Engineering and Mathematics Education : STEM Education) และเตรียมทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมสอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานสมาชิกของ Kibo-ABC (Asian Beneficial Collaboration through “Kibo” Utilization) จึงได้รับมอบสิทธิ์ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรอบชิงแชมป์ประเทศไทย เพื่อคัดเลือกหาทีมชนะเลิศเป็นตัวแทนทีมเยาวชนไทย เข้าร่วมการแข่งขัน Kibo Robot Programming Challenge 2020 รอบชิงแชมป์เอเชียในเดือนกันยายน พ.ศ.2563 ต่อไป

          โดย สวทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มีความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), Drone Academy Thailand, H&M, บริษัท สเปซแซ่บ จำกัด, สมาคมยุวชนอวกาศไทย, สมาคมอากาศยานไร้คนขับแห่งประเทศไทย, Spaceth.co และ Pantip Pratunam ร่วมกันจัดโครงการแข่งขัน Space Flying Robot Programming Challenge 2020 (SRPC2020) ครั้งแรกของประเทศไทย

ข้อมูลเกมที่ใช้ในการแข่งขัน

ฉากสถานการณ์:

          ณ สถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งอยู่สูงจากพื้นโลกราว 400 กิโลเมตร ได้มีอุกกาบาตพุ่งเข้ามาในวงโคจร และชนเข้ากับชิ้นส่วนของสถานีอวกาศนานาชาติ จนทำให้เกิดช่องโหว่และมีอากาศรั่วไหล

          ส่วนที่เกิดความเสียหายก็คือ Kibo Module ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นภารกิจที่ต้องกอบกู้โดยเร่งด่วน โดยใช้หุ่นยนต์ Astrobee ช่วยค้นหาตำแหน่งจุดที่เกิดความเสียหายและทำการซ่อมแซม ซึ่งจะต้องรวบรวมข้อมูลจาก Astrobee พร้อมกับการสนับสนุนจาก Int-Ball ที่ทำหน้าที่เป็นหุ่นยนต์ถ่ายภาพ

          ภารกิจสุดท้ายที่ต้องทำภายใต้เวลาอันจำกัดก็คือ การยิงเลเซอร์เพื่อเชื่อมช่องโหว่ให้ปิดสนิท จนไม่มีอากาศรั่วไหลอีกต่อไป แต่ถ้ายิงเลเซอร์ผิดตำแหน่ง กลับจะทำให้ช่องโหว่ขยายกว้างเพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญคือการยิงเลเซอร์ให้ตรงจุดที่มีอากาศรั่วไหลเพื่อหยุดยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสถานีอวกาศนานาชาติ

Game Overview:

          ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องสร้างโปรแกรมขึ้นมาเพื่อควบคุม Astrobee โดยใช้ Android Application ที่เขียนด้วยภาษา JAVA ให้เคลื่อนที่จากจุดเริ่มต้น ไปยังพื้นที่ที่กำหนด โดยจะต้องเคลื่อนเข้าไปอ่าน QR Code ตามจุดที่กำหนด และเคลื่อนไปยิงเลเซอร์ที่เป้าหมายสุดท้าย ซึ่งคะแนนการแข่งขันจะคำนวณจากความแม่นในการยิงเลเซอร์สู่เป้าหมายของ Astrobee และเวลาที่ใช้ในการปฎิบัติภารกิจ

เกณฑ์การสมัคร

  1. นักเรียนระดับประถมศึกษาจนถึงระดับปริญญาตรี สมัครเข้าร่วมการแข่งขันประเภททีม สมาชิกทีมละ 3 คน (สามารถอยู่ต่างสถาบันการศึกษาได้)
  2. ส่งใบสมัครมาที่อีเมล jaxathailand@nstda.or.th (หมดเขตส่งใบสมัคร 19 เม.ย. 63) เมื่อทางโครงการฯ ได้รับใบสมัครเรียบร้อยแล้ว จะจัดส่ง ID และ Password ให้กับหัวหน้าทีมทางอีเมล เพื่อใช้ทดลองระบบ Simulator โดยเขียนโปรแกรมนามสกุล .APK ควบคุม Astrobee ใน Server ของ JAXA (https://jaxa.krpc.jp) และใช้เป็น ID สำหรับการแข่งขันในรอบคัดเลือก
  3. เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์บังคับหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศ  Astrobee ของ NASA ตามภารกิจที่กำหนด
  4. ในการแข่งขันรอบชิงแชมป์ประเทศไทย จะเป็นการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ในเกม Simulationโดยใช้เซิฟเวอร์ของ JAXA ประเทศญี่ปุ่นทำการแข่งขัน
  5. ในการแข่งขันรอบชิงแชมป์เอเชีย ช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ณ Tsukuba Space Center ประเทศญี่ปุ่น โดยจะเป็นการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee จริง  โดยสื่อสารตรงไปที่สถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งมีนักบินอวกาศเป็นผู้ควบคุมการแข่งขัน
  6. ผลตัดสินการแข่งขันของผู้จัดงานถือเป็นที่สิ้นสุด
  7. ผู้จัดงานขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

กำหนดการแข่งขัน

  • ปิดรับใบสมัคร วันที่ 19 เมษายน 2563
  • การแข่งขันรอบคัดเลือกรอบแรกทางออนไลน์ โดยมีข้อปฏิบัติ ดังนี้
    1. Upload ไฟล์โปรแกรม APK เข้าสู่ Server ของการแข่งขัน (https://jaxa.krpc.jp) ภายในวันที่ 26 พ.ค. 63 ไม่เกินเวลา 11.59 น. ตามเวลาประเทศไทย
    2. ส่ง Clip VDO ความยาว 3-5 นาที เพื่อแนะนำทีม และอธิบายโค้ดที่เขียนขึ้นมาโดยย่อ Upload ไฟล์ VDO ขึ้น YouTube และส่งลิงก์พร้อมแจ้งรหัสประจำทีม (Thailand-xxxx) ภายในวันที่ 26 พ.ค. 63 ไม่เกินเวลา 11.59 น. ตามเวลาประเทศไทย
  • ทีมที่มีคะแนนสูงสุด 20 อันดับแรก จะผ่านเข้าสู่รอบชิงแชมป์ประเทศไทย โดยจะประกาศผลให้ทราบในวันที่ 29 พ.ค. 63 เวลา 09.30 น. ทางหน้าเว็บไซต์โครงการ และ Facebook โครงการ
  • การแข่งขันรอบชิงแชมป์ประเทศไทย ให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 20 ทีม Upload ไฟล์โปรแกรม APK ขึ้นสู่ Server ของการแข่งขัน (https://jaxa.krpc.jp) ภายในวันที่ 8 มิ.ย. 63 ไม่เกินเวลา 11.59 น. ตามเวลาประเทศไทย

รางวัล

  • ทีมชนะเลิศ เงินรางวัล 25,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • ทีมรองชนะเลิศ ทีมที่ 1 เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • ทีมรองชนะเลิศ ทีมที่ 2 เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลทีมนำเสนอยอดเยี่ยม เงินรางวัล 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลทีมดีเด่น ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เงินรางวัล 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลทีมดีเด่น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เงินรางวัล 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

 


จัดโดย

  • กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related

Tags: Astrobee coding Int-Ball JAXA Kibo Robot Programming Challenge NASA NSTDA programming Space Flying Robot Programming Challenge STEM Education สถานีอวกาศนานาชาติ เขียนโปรแกรม แข่งขันเขียนโปรแกรม โค้ดดิ้ง

Continue Reading

Next: รู้หรือไม่? ในอวกาศก็มี Drone เหมือนกัน แต่เป็น Space Drone ที่ชื่อว่า “Astrobee”

Related Stories

สวทช. ประกาศผล “คิโบะ โรบ็อต โปรแกรมมิง ชาเลนจ์ ครั้งที่ 3” ทีมโซลาร์ซิสเท็มทรี คว้ารางวัลชนะเลิศ เป็นตัวแทนประเทศเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ
  • Kibo-RPC

สวทช. ประกาศผล “คิโบะ โรบ็อต โปรแกรมมิง ชาเลนจ์ ครั้งที่ 3” ทีมโซลาร์ซิสเท็มทรี คว้ารางวัลชนะเลิศ เป็นตัวแทนประเทศเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ

22/07/2022
อันดับคะแนนรอบ 40 ทีมสุดท้าย โครงการ The 3rd KIBO-Robot Programming Challenge
  • Kibo-RPC

อันดับคะแนนรอบ 40 ทีมสุดท้าย โครงการ The 3rd KIBO-Robot Programming Challenge

07/07/2022
ประกาศผลทีมผ่านเข้ารอบ 40 ทีม The 3rd KIBO-Robot Programming Challenge
  • Kibo-RPC

ประกาศผลทีมผ่านเข้ารอบ 40 ทีม The 3rd KIBO-Robot Programming Challenge

28/06/2022

NSTDA Space Education

Popular Posts

  • โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) 23.8k views
  • โครงการแข่งขัน The 2nd Kibo Robot Programming Challenge 9.4k views
  • โครงการ Asian Try Zero-G 2022 ท้าทาย ท้าไทย ไอเดียสุดปิ๊ง ทดลองจริงในอวกาศ 7.8k views
  • โครงการแข่งขัน The 3rd Kibo Robot Programming Challenge 6.8k views
  • 9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่ได้มาจากการสำรวจอวกาศ 5.7k views

You may have missed

เยาวชนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ Kibo-ABC Award แข่งขันนำเสนอผลการทดลองบนอวกาศ
  • Asian Try Zero-G
  • News & Articles

เยาวชนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ Kibo-ABC Award แข่งขันนำเสนอผลการทดลองบนอวกาศ

20/03/2023
งานประชุมวิชาการ The 5th COSPAR Symposium ระหว่างวันที่ 16-21 เม.ย. 66 ณ ประเทศสิงคโปร์
  • News & Articles

งานประชุมวิชาการ The 5th COSPAR Symposium ระหว่างวันที่ 16-21 เม.ย. 66 ณ ประเทศสิงคโปร์

07/03/2023
เทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology) คืออะไร?
  • News & Articles

เทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology) คืออะไร?

22/02/2023
MMX ภารกิจสำรวจดวงจันทร์โฟบอสของดาวอังคาร เพื่อนำตัวอย่างกลับสู่โลก
  • News & Articles

MMX ภารกิจสำรวจดวงจันทร์โฟบอสของดาวอังคาร เพื่อนำตัวอย่างกลับสู่โลก

22/02/2023
NSTDA SPACE Education Copyright © All rights reserved. | DarkNews by AF themes.