Skip to content
NSTDA SPACE Education

NSTDA SPACE Education

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ และสะเต็มสำหรับเยาวชนไทย โดย สวทช.

  • Home
  • About Us
  • Space Ratchaphruek
  • AHiS
  • Asian Try Zero-G
  • Kibo-RPC
  • Parabolic Flight
  • National Space Exploration
  • News
  • Contact us
  • Home
  • ไม่มีหมวดหมู่
  • 9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่ได้มาจากการสำรวจอวกาศ
  • News & Articles
  • ไม่มีหมวดหมู่

9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่ได้มาจากการสำรวจอวกาศ

NSTDA SPACE Education 15/11/2022

ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยแรงผลักดันของ NASA เพื่อการสำรวจพรมแดนใหม่ด้วยภารกิจการเดินทางไปยังดวงจันทร์ ดาวอังคาร และสู่ห้วงอวกาศ ซึ่งได้นำไปสู่การประดิษฐ์เทคโนโลยีใหม่ๆ มากมาย และด้วยสิ่งเหล่านี้ได้ทำให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันของเรา เช่น กล้องถ่ายรูป โน้ตบุ๊ก เมมโมรี่โฟม เครื่อง CT Scan และแม้แต่นมผงดัดแปลงสำหรับทารก

และนี่คือตัวอย่างของ 9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่ได้มาจากการสำรวจอวกาศ

1. กล้องโทรศัพท์มือถือ (Camera Phones)
ในช่วงปี ค.ศ. 1990 ทีมงานของ Jet Propulsion Laboratory ของ NASA สร้างกล้องที่มีคุณภาพทางวิทยาศาสตร์ซึ่งมีขนาดเล็กพอที่จะติดตั้งบนยานอวกาศได้ ส่งผลให้ในปัจจุบันกล้องโทรศัพท์หนึ่งในสามของทั้งหมดบนโลกมีการใช้งานเทคโนโลยีนี้

2. รองเท้ากีฬา (Athletic Shoes)
คนรักรองเท้า ต้องรู้สึกขอบคุณการสำรวจอวกาศ เมื่ออดีตวิศวกรของ NASA ได้เสนอแนวคิดสำหรับพื้นรองเท้าแบบกลวงซึ่งเต็มไปด้วยวัสดุดูดซับแรงกระแทก โดยเริ่มจากเทคโนโลยีการสร้างชุดที่พัฒนาโดยโครงการอวกาศ

3. ฉนวนกันความร้อนบ้าน (Home Insulation)
อวกาศเป็นสถานที่ที่มีอุณหภูมิสุดขั้ว ทั้งร้อนจัดและหนาวจัด จึงนำไปสู่การพัฒนาฉนวนของ NASA โดยผลิตจากอลูมิเนียมพอลิเมอร์ เพื่อรักษาสภาพอากาศที่รู้สึกสบายภายในยานอวกาศ ซึ่งปัจจุบันนำมาใช้เป็นฉนวนกันความร้อนในบ้าน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดการความร้อนและความเย็นภายในบ้าน

4. นมผงดัดแปลงสำหรับทารก (Baby Formula)
ส่วนประกอบที่ช่วยเสริมคุณค่าทางโภชนาการในสูตรสำหรับนมผงดัดแปลงสำหรับทารกส่วนใหญ่ สามารถสืบย้อนต้นกำเนิดกลับไปสู่งานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจาก NASA ซึ่งใช้สาหร่ายเป็นอาหารเลี้ยงนักบินอวกาศเพื่อเพิ่มระยะเวลาการปฏิบัติภารกิจในอวกาศ

5. แขนขาเทียม (Artificial Limbs)
นวัตกรรมของ NASA ในเรื่องของวัสดุดูดซับแรงกระแทก ตลอดจนวิทยาการหุ่นยนต์และกิจกรรมนอกยานอวกาศ (ที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ spacewalk) กำลังได้รับการดัดแปลงเพื่อใช้พัฒนาแขนขาเทียมที่ดียิ่งขึ้น

6. หูฟังไร้สาย (Wireless Headsets)
หูฟังไร้สายที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งในทุกวันนี้ จะเป็นไปไม่ได้เลยหากปราศจากการลงทุนด้านเทคโนโลยีการสื่อสารของ NASA เพื่อให้นักบินอวกาศสามารถเชื่อมต่อถึงกันโดยที่ไม่ต้องใช้มือ

7. เมมโมรี่โฟม (Memory Foam)
ที่นอนเมมโมรี่โฟม ที่สัมผัสได้ถึงความนุ่มสบายเข้ากับสรีระของมนุษย์ เกิดจากโฟมที่น่าทึ่งซึ่งพัฒนาโดย NASA ในช่วงปลายทศวรรษ 1960 เพื่อให้ความรู้สึกสบาย โดยพัฒนาขึ้นมาเพื่อการดูดซับแรงกระแทกสำหรับนักบินทดสอบ

8. โน้ตบุ๊กและเมาส์คอมพิวเตอร์ (Laptop and the computer mouse)
คอมพิวเตอร์พกพาเครื่องแรกที่มีการออกแบบแบบฝาพับ ถูกสร้างขึ้นโดย NASA สำหรับโครงการกระสวยอวกาศ ความก้าวหน้าด้านการออกแบบสำหรับรุ่นต่อๆ มาจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ใหม่ ในปี 1960 นักวิจัยจากหน่วยงานอวกาศพยายามทำให้คอมพิวเตอร์มีการโต้ตอบได้มากขึ้น โดยมีแนวคิดว่าจะจัดการกับข้อมูลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์อย่างไรให้ดีที่สุด จึงนำไปสู่การกำเนิดของเมาส์คอมพิวเตอร์

9. CT Scan (Computerized Tomography Scan)
เทคโนโลยีการประมวลผลสัญญาณดิจิทัลที่ NASA เป็นผู้บุกเบิกในระหว่างภารกิจ Apollo สำหรับภาพถ่ายดวงจันทร์ที่ปรับปรุงด้วยคอมพิวเตอร์ ถือเป็นรากฐานของเทคนิคการถ่ายภาพร่างกายขั้นสูง เช่น CT scan ที่ใช้ตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายด้วยรังสีเอกซ์


อ้างอิงข้อมูล
https://www.morganstanley.com/Themes/global-space-economy

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related

Tags: สำรวจอวกาศ เทคโนโลยี เทคโนโลยีอวกาศ

Continue Reading

Previous: ประกาศผลรางวัล APRSAF Space Achievement ประจำปี 2022
Next: นภสร จงจิตตานนท์ คว้ารางวัล SIRIUS Award สำหรับวิทยานิพนธ์ด้านการจัดการในอุตสาหกรรมอวกาศ

Related Stories

International Space University (ISU) Space Study Program
  • News & Articles

International Space University (ISU) Space Study Program

31/01/2023
นักบินอวกาศญี่ปุ่นทดลอง 2 ไอเดียเยาวชนไทยบนสถานีอวกาศนานาชาติ
  • Asian Try Zero-G
  • News & Articles

นักบินอวกาศญี่ปุ่นทดลอง 2 ไอเดียเยาวชนไทยบนสถานีอวกาศนานาชาติ

25/01/2023
นภสร จงจิตตานนท์ คว้ารางวัล SIRIUS Award สำหรับวิทยานิพนธ์ด้านการจัดการในอุตสาหกรรมอวกาศ
  • News & Articles

นภสร จงจิตตานนท์ คว้ารางวัล SIRIUS Award สำหรับวิทยานิพนธ์ด้านการจัดการในอุตสาหกรรมอวกาศ

12/12/2022

NSTDA Space Education

Popular Posts

  • โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) 23.7k views
  • โครงการแข่งขัน The 2nd Kibo Robot Programming Challenge 9.4k views
  • โครงการ Asian Try Zero-G 2022 ท้าทาย ท้าไทย ไอเดียสุดปิ๊ง ทดลองจริงในอวกาศ 7.7k views
  • โครงการแข่งขัน The 3rd Kibo Robot Programming Challenge 6.7k views
  • รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ Asian Herb in Space (AHiS) 5.2k views

You may have missed

International Space University (ISU) Space Study Program
  • News & Articles

International Space University (ISU) Space Study Program

31/01/2023
นักบินอวกาศญี่ปุ่นทดลอง 2 ไอเดียเยาวชนไทยบนสถานีอวกาศนานาชาติ
  • Asian Try Zero-G
  • News & Articles

นักบินอวกาศญี่ปุ่นทดลอง 2 ไอเดียเยาวชนไทยบนสถานีอวกาศนานาชาติ

25/01/2023
พิธีส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศ เฟสที่ 1
  • Asian Herb in Space
  • ราชพฤกษ์อวกาศ

พิธีส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศ เฟสที่ 1

21/12/2022
นภสร จงจิตตานนท์ คว้ารางวัล SIRIUS Award สำหรับวิทยานิพนธ์ด้านการจัดการในอุตสาหกรรมอวกาศ
  • News & Articles

นภสร จงจิตตานนท์ คว้ารางวัล SIRIUS Award สำหรับวิทยานิพนธ์ด้านการจัดการในอุตสาหกรรมอวกาศ

12/12/2022
NSTDA SPACE Education Copyright © All rights reserved. | DarkNews by AF themes.