Skip to content
NSTDA SPACE Education

NSTDA SPACE Education

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ และสะเต็มสำหรับเยาวชนไทย โดย สวทช.

  • Home
  • About Us
  • Space Ratchaphruek
  • AHiS
  • Asian Try Zero-G
  • Kibo-RPC
  • Parabolic Flight
  • National Space Exploration
  • News
  • Contact us
  • Home
  • News & Articles
  • รู้หรือไม่? ในอวกาศก็มี Drone เหมือนกัน แต่เป็น Space Drone ที่ชื่อว่า “Astrobee”
  • Kibo-RPC
  • News & Articles

รู้หรือไม่? ในอวกาศก็มี Drone เหมือนกัน แต่เป็น Space Drone ที่ชื่อว่า “Astrobee”

NSTDA SPACE Education 22/02/2020

          หลังจากที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Importance of development Space Drone in ISS “ โดย Mr.Roberto Carlino วิศวกรจาก NASA Ames Research Center ผู้ที่ทำหน้าที่ทดสอบ Hardware และ Software ของหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศ Astrobee เมื่อวันศุกร์ที่ 21 ก.พ. 63 ที่ผ่านมา ซึ่งงานบรรยายได้จัดขึ้น ณ ห้องบุษกร อาคารเนคเทค สวทช., อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

          Space Drone คืออะไร? Space Drone คือหุ่นยนต์เพื่อช่วยนักบินอวกาศทำงานภารกิจต่างๆทั้งในสถานีอวกาศหรือยานอวกาศ ลดเวลาในการทำภารกิจ โดยสามารถให้นักบินอวกาศทำงานเฉพาะงานส่วนของมนุษย์เท่านั้น

          Astrobee คืออะไร? Astrobee คือหุ่นยนต์ Space Drone ตัวใหม่ที่ทาง NASA Ames Research Center นำไปใช้งานบน ISS ซึ่งหุ่นยนต์ตัวนี้ทำงานเป็นระบบอัตโนมัติเป็นหลัก แต่ในบางกรณีนักบินอวกาศก็สามารถควบคุมได้เช่นกัน ซึ่งงานหลักของหุ่นตัวนี้จะเน้นการขนถ่ายสิ่งของบนอวกาศ งานสแกนหาของโดยใช้ Tag RFID และตรวจกับโดยกล้องที่ติดในโดรนและตรวจสอบโดย Software อีกทั้งหน้าที่หลักของหุ่นยนต์ที่ก็คือการช่วยเหลือสำหรับงานวิจัยขั้นสูงกับนักบินอวกาศบนสถานีและจะมาแทนที่ หุ่นยนต์ Spheresซึ่งเป็นหุ่นยนต์ชนิดแรกที่ใช้บนยานอวกาศอีกด้วย

Astrobee ทำงานอย่างไร?

  • Astrobee ประกอบไปด้วยกล้อง หน่วยประมวลผล touch screen ไมโครโฟน เซนเซอร์ตรวจวัดต่างๆ และแขนกลเพื่อใช้ในการจับยึดและทำงานขนส่งต่างๆ ซึ่งโครงสร้างของ Astrobee ส่วนใหญ่สร้างจาก การ 3D Printing
  • Astrobee ใช้แบตเตอรีแบบ Lithium ion 4 ก้อน โดยต้องกลับไปที่สถานีเพื่อชาร์จพลังงานหลังการใช้งานต่อวัน
  • ระบบการเคลื่อนที่ของ Astrobee ใช้อากาศภายใน ISS มาอัดและพ่นออกทาง nozzles เพื่อใช้ในการขับเคลื่อน
  • การทำงานของ Astrobee เป็นแบบอัตโนมัติทั้งหมด แต่ก็สามารถเปลี่ยนมาเป็นระบบควบคุมเองโดยทางภาคพื้นดินบนโลกได้ด้วย

Astrobee ช่วยงานนักบินอวกาศอะไรได้บ้างละ?

  • ช่วยลดเวลาในการทำงานที่เป็นกิจวัตรซ้ำๆที่นักบินอวกาศทำประจำ
  • ช่วยในการเคลื่อนย้ายสิ่งของต่างๆโดยใช้แขนกล Robotic arm
  • ช่วยนักบินอวกาศในการทดลองงานวิจัย Microgravity บน ISS
  • คอยตรวจสอบคุณภาพอากาศ รังสี และอุณหภูมิภายใน ISS
  • ตรวจสอบสภาพภายในสถานีอวกาศโดยสร้างเป็น map หรือแผนที่จำลองใน ISS และยังสามารถทำเป็น sound map และ heat map ได้อีกด้วย
  • สามารถสแกนตามหาของหรือเครื่องมือที่นักบินอวกาศวางทิ้งไว้ใน ISS โดยใช้ tag RFID

          นอกจากหุ่นยนต์ Astrobee ของ NASA แล้วยังมี หุ่นยนต์ Int-Ball ของ JAXA และ CIMON ของ Airbus ทำงานอยู่บนสถานีอวกาศ ISS อีกด้วย

          หุ่นยนต์นี้มันดูเจ๋งมากใช่มั้ยละ!? แล้วถ้าเราแป็นคนไทยอยากร่วมทำงานและพัฒนาด้านอวกาศละ จะเริ่มต้นหรือทำอย่างไรได้บ้าง ซึ่งคำถามนี้ก็เป็นคำถามของผู้เขียนเอง และ วิศวกรนาซ่าได้ให้คำตอบมาว่า

          เราก็สามารถร่วมเป็นส่วนนึงของกิจกรรมอวกาศได้เหมือนกัน โดยผ่านทาง หน่วยงาน UNOOSA (United Nations Office for Outer Space Affairs) ที่มีโปรเจคด้านอวกาศมากมาย ไม่ว่าจจะเป็น โปรเจค BARTOLOMEO ที่สามารถให้นักวิจัยส่งการทดลองในรูปแบบขนาด 3U (10cm*10cm*30cm)

          สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.unoosa.org/oosa/en/ourwork/psa/hsti/orbitalmission/bartolomeo/index.html

          อีกทั้งยังมีอึกหนึ่งกิจกรรมดีๆ จากทาง สวทช. และ JAXA  ที่ร่วมกันจัดโครงการแข่งขันให้นักเรียนและนักศึกษามาออกแบบโปรแกรมสำหรับหุ่นยนต์บนสถานีอวกาศอีกด้วย นั่นก็คือ Space Flying Robot Programming challenge 2020 สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://10.228.26.24:31586/spaceeducation/krpc2020


เขียนและเรียบเรียงโดย

นายคมสัน ฐามนกิจประสาท
นักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2
คณะวิศวกรรมศาสตร์ Kyushu University ประเทศญี่ปุ่น

นายธรรมบดี ธนศรีบดี
นักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4
คณะวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related

Tags: Astrobee JAXA NASA NASA Ames Research Center NSTDA Roberto Carlino Space Drone Space Flying Robot Programming Challenge 2020

Continue Reading

Previous: โครงการแข่งขัน Space Flying Robot Programming Challenge 2020 (SRPC2020)
Next: แถลงข่าว “โครงการ Space Flying Robot Programming Challenge 2020”

Related Stories

International Space University (ISU) Space Study Program
  • News & Articles

International Space University (ISU) Space Study Program

31/01/2023
นักบินอวกาศญี่ปุ่นทดลอง 2 ไอเดียเยาวชนไทยบนสถานีอวกาศนานาชาติ
  • Asian Try Zero-G
  • News & Articles

นักบินอวกาศญี่ปุ่นทดลอง 2 ไอเดียเยาวชนไทยบนสถานีอวกาศนานาชาติ

25/01/2023
นภสร จงจิตตานนท์ คว้ารางวัล SIRIUS Award สำหรับวิทยานิพนธ์ด้านการจัดการในอุตสาหกรรมอวกาศ
  • News & Articles

นภสร จงจิตตานนท์ คว้ารางวัล SIRIUS Award สำหรับวิทยานิพนธ์ด้านการจัดการในอุตสาหกรรมอวกาศ

12/12/2022

NSTDA Space Education

Popular Posts

  • โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) 23.7k views
  • โครงการแข่งขัน The 2nd Kibo Robot Programming Challenge 9.4k views
  • โครงการ Asian Try Zero-G 2022 ท้าทาย ท้าไทย ไอเดียสุดปิ๊ง ทดลองจริงในอวกาศ 7.7k views
  • โครงการแข่งขัน The 3rd Kibo Robot Programming Challenge 6.7k views
  • รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ Asian Herb in Space (AHiS) 5.2k views

You may have missed

International Space University (ISU) Space Study Program
  • News & Articles

International Space University (ISU) Space Study Program

31/01/2023
นักบินอวกาศญี่ปุ่นทดลอง 2 ไอเดียเยาวชนไทยบนสถานีอวกาศนานาชาติ
  • Asian Try Zero-G
  • News & Articles

นักบินอวกาศญี่ปุ่นทดลอง 2 ไอเดียเยาวชนไทยบนสถานีอวกาศนานาชาติ

25/01/2023
พิธีส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศ เฟสที่ 1
  • Asian Herb in Space
  • ราชพฤกษ์อวกาศ

พิธีส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศ เฟสที่ 1

21/12/2022
นภสร จงจิตตานนท์ คว้ารางวัล SIRIUS Award สำหรับวิทยานิพนธ์ด้านการจัดการในอุตสาหกรรมอวกาศ
  • News & Articles

นภสร จงจิตตานนท์ คว้ารางวัล SIRIUS Award สำหรับวิทยานิพนธ์ด้านการจัดการในอุตสาหกรรมอวกาศ

12/12/2022
NSTDA SPACE Education Copyright © All rights reserved. | DarkNews by AF themes.