30 มีนาคม 2566

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านโอมิกส์ที่นำไปสู่การปรับปรุงพันธุ์แบบแม่นยำ และโอกาสของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชระดับโลก

CE Design Solution in Practice

วิทยากร
  • ดร. ธีรยุทธ ตู้จินดา
  • ศ.ดร. มรกต ตันติเจริญ 
  • ดร. บุญญานาถ นาถวงษ์
  • ดร.ศิริลักษณ์ จิตรอักษร
  • ศ.ดร. กมล เลิศรัตน์
  • ดร.สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง
  • ดร.ศิริพัฒน์ เรืองพยัคฆ์
  • รศ.ดร.ศิวเรศ อารีกิจ
  • ดร.สามารถ วันชะนะ
  • ดร.วินิตชาญ รื่นใจชน
  • ดร.ปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์
  • ดร.อรประไพ คชนันท์
  • ดร.วศิน ผลชีวิน, ผู้ดำเนินรายการ

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านโอมิกส์ที่นำไปสู่การปรับปรุงพันธุ์แบบแม่นยำ และโอกาสของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชระดับโลก

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก (Climate change) อันเนื่องมาจากสภาวะโลกร้อน (Global warming) ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตร้อนชื้นที่พื้นที่การเกษตรยังอาศัยน้ำฝนและความเหมาะสมของสภาพภูมิอากาศในการเพาะปลูก เช่นในประเทศไทย ปรากฏการณ์โลกร้อนทำให้การเกษตรของไทยมีความเสี่ยงทางด้านการผลิตเป็นอย่างมาก นำไปสู่ประสิทธิภาพของการผลิตที่ลดลง หรือ ล้มเหลวในการผลิต ซึ่งลดทอนความสามารถในการแข่งขันของประเทศลงอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิตให้สูงมากขึ้น และชะลอกิจกรรมทางการเกษตรที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมลง รวมทั้งการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การนำทรัพยากรมาใช้ใหม่ หรือ ใช้กับการผลิตที่มีมูลค่า รวมทั้งการเพิ่มมูลค่าของสินค้าและเศษเหลือจากไร่นาโดยใช้นวัตกรรม รัฐบาลได้นำโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG มาเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างสมดุลสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

เทคโนโลยีด้านโอมิกส์ที่นำไปสู่การปรับปรุงพันธุ์แบบแม่นยำเป็นแนวทางในการแก้ไขที่สำคัญ การพัฒนาพันธุ์พืชให้สามารถปรับตัวรองรับกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ทันเวลา และพันธุ์พืชที่ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและเป็นมิตรกับส่งแวดล้อม ต้องอาศัยองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านโอมิกส์  ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีระดับจีโนมนำมาใช้ในการเพิ่มศักยภาพในการปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ โดยสามารถระบุยีน หรือ QTL ที่มีความสัมพันธ์กับลักษณะการปรับตัวได้ดีต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ทนร้อน ทนหนาว ทนแล้ง ทนน้ำท่วม ต้านทานต่อโรคแมลง เป็นต้น และพัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ติดตามการถ่ายทอดทางพันธุกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดเลือกที่แม่นยำและรวดเร็ว ในกระบวนการปรับปรุงพันธุ์ต่างๆ เทคโนโลยีด้านการใช้โมเลกุลเครื่องหมายในการปรับปรุงพันธุ์และ การแก้ไขพันธุกรรม นำไปสู่การพัฒนาพันธุ์พืชใหม่ที่มีลักษณะตามความต้องการอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยให้นักปรับปรุงพันธุ์สามารถพัฒนาพันธุ์พืชใหม่ได้ในระยะเวลาที่สั้นลง ให้ผลผลิตสูงในพื้นที่จำกัด และปรับตัวได้ดีในสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ด้วยภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอาจทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต

เมล็ดพันธุ์เป็นสินค้าเกษตรมูลค่าสูง เป็นสินค้าที่มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกมาก ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาเกษตร ซึ่งเน้นการสร้างขีดความสามารถด้านปัจจัยการผลิต ซึ่งเมล็ดพันธุ์ก็เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ เมล็ดพันธุ์สร้างผลกระทบทั้งในระดับเกษตรกร ที่เน้นการทำเกษตรแบบประณีต ใช้พื้นที่ผลิตน้อยแต่ได้รายได้สูง อุตสาหกรรมเมล็ดไทยมีศักยภาพสูง โดยประเทศไทยตั้งเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค (SEED HUB) เพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและส่งออกเมล็ดพันธุ์เพิ่มขึ้นในระดับหมื่นล้านบาท สวทช.เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมขับเคลื่อนนโยบาย Seed Hub โดยการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยในอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ เกิดการทำงานร่วมกันที่เรียกว่า Seed cluster ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา สวทช. สนับสนุนทั้งในเรื่องหน่วยบริหารจัดการเชื้อพันธุกรรม (Plant Germplasm Bank) ที่เป็นการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมระยะยาวสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่เมล็ดพันธุ์ ได้แก่ เทคโนโลยีการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีและชุดตรวจวินิจฉัยต่อเชื้อก่อโรคพืชในอุตสาหกรรมผลิตเมล็ดพันธุ์ เทคโนโลยีจีโนมในการวินิจฉัย ตรวจสอบโรคและความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ลูกผสมสำหรับการส่งออกเมล็ดพันธุ์ และการใช้เทคโนโลยีจีโนมในการคัดเลือกพันธุ์ ซึ่งช่วยให้ภาคเอกชนส่งออกเมล็ดพันธุ์และพัฒนาพันธุ์ได้รวดเร็วขึ้น  นอกจากนั้น สวทช ยังช่วยสร้างขีดความสามารถให้ภาคเอกชนในการนำไปพัฒนาต่อยอด โดยสนับสนุนให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและพัฒนาบุคลากร ได้แก่ การสร้างนักปรับปรุงพันธุ์รุ่นใหม่ ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่ โดยมุ่งหวังให้อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์เติบโต และมีความมั่นคงยั่งยืนทั้งระบบ และก้าวขึ้นเป็นผู้นำการผลิตเมล็ดพันธุ์ของโลก

เวทีเสวนา “ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านโอมิกส์ที่นำไปสู่การปรับปรุงพันธุ์แบบแม่นยำ และโอกาสของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชระดับโลก” จะเป็นการนำเสนอความพร้อมทางด้านข้อมูล QTL ที่สำคัญและเครื่องหมายโมเลกุลที่สามารถนำไปใช้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการคัดเลือกในพืชสำคัญของประเทศ เช่น ช้าว ข้าวโพด มะเขือเทศ พืชสมุนไพร (กัญชา กัญชง บัวบก) พืชผัก (แตง มะระ) และ ไม้ผล (มะพร้าว) เป็นต้น โดยจะมีการสาธิตระบบปฏิบัติการ Rice, Tomato and Maize Database & Breeding Platform ซึ่งสามารถให้ผู้ที่สนใจสมัครเป็นสมาชิกเพื่อใช้งาน รวมทั้งการจัดเจรจาสำหรับเอกชนและหน่วยงานที่สนใจรับสิทธิการนำเทคโนโลยีด้านโมเลกุลเครื่องหมายไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งเทคโนโลยีเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยโรคพืชซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถให้แก่ภาคเอกชนในการผลิตและส่งออกเมล็ดพันธุ์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

กำหนดการสัมมนา

08.30 – 08.50 น. ลงทะเบียน
08.50 – 09.00 น. กล่าวเปิดสัมมนา

โดย ดร. ธีรยุทธ ตู้จินดา, รองผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ  

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

09.00 – 09.30 น. บรรยายพิเศษ “BCG กับ อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ไทย”

โดย ศ.ดร. มรกต ตันติเจริญ, ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

09.30 – 10.10 น. อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ไทยและโอกาสของประเทศไทยที่จะเป็นผู้นำการส่งออก

โดย ดร. บุญญานาถ นาถวงษ์, นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย

10.10 – 10.50 น. การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ไทยไปสู่ผู้ผลิตระดับโลก

โดย ดร.ศิริลักษณ์ จิตรอักษร, ผู้อำนวยการกองวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร

10.50 – 11.30 น. ความพร้อมของเทคโนโลยีในการขับเคลื่อนการเกษตรสู่การเกษตรรแบบแม่นยำ

โดย ศ.ดร. กมล เลิศรัตน์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย
13.00 – 15.00 น. เสวนา “เทคโนโลยีด้าน Omics กับความพร้อมของประเทศไทยในการผลักดันอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์และการเกษตรมูลค่าสูง”

ผู้ดำเนินการเสวนา: ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา และ ดร.วศิน ผลชีวิน ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

ผู้ร่วมเสวนา (คนละ 15 นาที)

  • ดร.สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ
  • ดร.ศิริพัฒน์ เรืองพยัคฆ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • รศ.ดร.ศิวเรศ อารีกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ดร.สามารถ วันชะนะ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
  • ดร.วินิตชาญ รื่นใจชน ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
  • ดร.ปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร
  • ดร.อรประไพ คชนันท์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

เทคโนโลยีที่นำเสนอ 

  • เทคโนโลยีจีโนมในการวินิจฉัย ตรวจสอบ โรคและความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ลูกผสมสำหรับการส่งออกเมล็ดพันธุ์ และการใช้เทคโนโลยีจีโนมในการคัดเลือกพันธุ์ ซึ่งช่วยให้ภาคเอกชนส่งออกเมล็ดพันธุ์และพัฒนาพันธุ์ได้รวดเร็วขึ้น โดยศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ
  • Demo ระบบปฏิบัติการ Rice, Tomato and Maize Database & Breeding Platform โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
    • ฐานข้อมูลพันธุ์ (พันธุ์ปรับปรุงและพันธุ์พื้นเมือง จำนวน 250 พันธุ์)
    • ฐานข้อมูลฟีโนไทป์ลักษณะต่างๆ
    • ฐานข้อมูลจีโนไทป์ (ตำแหน่ง SNP จำนวน 1,000,000 SNPs)
    • Genome Browser สำหรับสืบค้นตำแหน่ง gene และ variants
    • ฐานข้อมูลตำแหน่ง QTL จากการวิเคราะห์ GWAS ในลักษณะต่างๆ
    • Web-based tools สำหรับวิเคราะห์ GWAS และ candidate gene annotation 
  • เทคโนโลยีการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีและชุดตรวจวินิจฉัยต่อเชื้อก่อโรคพืชในอุตสาหกรรมผลิตเมล็ดพันธุ์ โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
15.00 – 15.30 น. โต๊ะเจรจาการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการให้บริหารด้านเทคโนโลยี

 

 

เกี่ยวกับวิทยากร
ดร. ธีรยุทธ ตู้จินดา
รองผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ศ.ดร. มรกต ตันติเจริญ 
ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ดร. บุญญานาถ นาถวงษ์
นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย
ดร.ศิริลักษณ์ จิตรอักษร
ผู้อำนวยการกองวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร
ศ.ดร. กมล เลิศรัตน์
นักวิจัยอาวุโส ศูนย์วิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ดร.สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง
ผู้อำนวยการ ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ
ดร.ศิริพัฒน์ เรืองพยัคฆ์
ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รศ.ดร.ศิวเรศ อารีกิจ
ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดร.สามารถ วันชะนะ
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
ดร.วินิตชาญ รื่นใจชน
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
ดร.ปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์
ผู้อำนวยการ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร
ดร.อรประไพ คชนันท์
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยและการค้นหาสารชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
ดร.วศิน ผลชีวิน
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, ผู้ดำเนินรายการ
หัวข้อสัมมนาอื่นๆ