การทำนายน้ำหนักด้วยปัญญาประดิษฐ์สำหรับการบริหารจัดการงานปศุสัตว์

AI Weight Prediction for Livestock Management
ในงานด้านปศุสัตว์

การตรวจวัดและทำนายน้ำหนักของสัตว์เป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการบริหารจัดการฟาร์ม และเป็นตัวชี้วัดถึงปริมาณและคุณภาพของผลผลิต อย่างไรก็ตาม
กระบวนการตรวจวัดในปัจจุบันยังคงอาศัยมนุษย์เป็นผู้ดำเนินงานหลัก ทำให้มีข้อจำกัดในการที่จะได้รับข้อมูลจำนวนมากในระยะเวลาที่กำหนดและเพียงต่อการผลการวิเคราะห์ได้อย่างแม่นยำ

งานวิจัยนี้คือ นวัตกรรมสำหรับการตรวจวัดและทำนายน้ำหนักสัตว์แบบเรียลไทม์ (Real-time) สำหรับการทำปศุสัตว์แบบแม่นยำสูง (PLF: Precision Livestock Farming)
เพื่อเป็นตัวช่วยในการบริหารจัดการงานปศุสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และการสื่อสาร อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมเทคโนโลยีที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายหรือต่อยอดองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่งานปศุสัตว์ในด้านอื่น ๆ อาทิเช่น เทคโนโลยีการสื่อสารอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT: Internet of Things) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเซนเซอร์จากสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม
และบันทึกคุณลักษณะของไก่แบบเรียลไทม์ เพื่อติดตามการเจริญเติบโตตลอดระยะเวลาการเลี้ยงนวัตกรรมนี้จะเป็นประโยชน์ต่อวงการปศุสัตว์ในประเทศ ซึ่งจะยกระดับให้อุตสาหกรรมปศุสัตว์ไทยมีศักยภาพในการแข่งขันระดับโลก โดยการลดต้นทุนและเพิ่มผลกำไรให้แก่ผู้ประกอบการ อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างทักษะและความรู้ให้แก่เกษตรกรสู่ความเป็น Smart Farmer ที่สามารถนำเทคโนโลยีไปใช้ในการบริหารจัดการงานปศุสัตว์ได้อย่างมีประสทธิภาพ และต่อยอดองค์ความรู้เดิม เพื่อปรับปรุงหรือพัฒนานวัตกรรมใหม่ที่จะให้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณมากยิ่งขึ้น ต่อไป

คุณลักษณะ
  1. ทำนายน้ำหนักแบบไม่สัมผัส ไม่ทำลาย และไม่รบกวนต่อสวัสดิภาพสัตว์ (Non-invasive weight prediction)
  2. ตั้งช่วงเวลาทำงานหรือระยะห่างการบันทึก และแสดงผลต่อเนื่องแบบเวลาจริงได้(Real-time monitoring)
  3. เป้าหมายช่วงของความแม่นยำของค่าน้ำหนัก เช่น สำหรับฟาร์มไก่อยู่ที่ ±50 ถึง ±100 กรัม (High accuracy)
  4. สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงผล (Data visualization tools) ที่ใช้งานง่าย (User-friendly interface) ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อการนำไปวิเคราะห์ต่อได้
  5. เชื่อมต่อเพื่อเข้าร่วมและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับระบบบริหารจัดการฟาร์มที่มีอยู่แล้วได้ (Integration with existing systems)
  6. อนาคตสามารถต่อยอดการทำนายในอีกหลายตัวแปรพร้อมกันได้ (Multiple parameter prediction) ได้แก่ สายพันธุ์ อายุ เพศ และขนาดตัว
จุดเด่น/ประโยชน์ของเทคโนโลยี
  • การวัดแบบไม่สัมผัสช่วยติดตามค่าน้ำหนักสัตว์ได้ต่อเนื่องตลอดระยะเวลาการเลี้ยงโดยไม่กระทบต่อสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare)
  • เข้าถึงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลกับส่วนอื่นในรูปแบบปศุสัตว์แบบแม่นยำสูงสะดวกในการบริหารจัดการฟาร์ม
ขอบเขต/ข้อจำกัดการใช้งาน

เหมาะสำหรับการเลี้ยงไก่ในโรงเรือนระบบปิด (Evaporative Cooling System) ที่มีไก่จำนวนมาก ต้องการการบริหารจัดการฟาร์มแบบแม่นยำสูง และต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และปรับปรุงกระบวนการการผลิตให้ดียิ่งขึ้นอีก


กลุ่มลูกค้า/ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
  1. ฟาร์มปศุสัตว์ขนาดใหญ่ สถานภาพการพัฒนา
  2. หาแหล่งทุนดำเนินการ
วิจัยพัฒนาโดย
  • ทีมวิจัย Thermal and Sensing Technology Sandbox
  • กลุ่มวิจัย กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ (SSDRG)
ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (SPD)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120