ทิศทางการพัฒนาวัคซีนและชีวเภสัชภัณฑ์ เพื่ออุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ไทย

13:30 
- 16:30 น.
ทิศทางการพัฒนาวัคซีนและชีวเภสัชภัณฑ์ เพื่ออุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ไทย

วิทยากร

น.สพ. ยุคล ลิ้มแหลมทอง, รศ.น.สพ.ดร.ชาญณรงค์ รอดคำ, น.สพ.สุชาติ วรวุฒางกูร, น.สพ.กษิดิ์เดช ธีรนิตยาธาร, ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ and ดร.พนิต กิจสุบรรณ

ในแต่ละปีประเทศไทยมีความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากโรคติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสในปศุสัตว์ สัตว์บก เช่น สุกร สัตว์ปีก โค กระบือ แพะ แกะ มีมูลค่าสูงมากกว่า 30,000 ล้านบาทต่อปี

เมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้นเกษตรกรจำเป็นต้องใช้ยาต้านจุลชีพเพิ่มสูงขึ้นเพื่อรักษาสัตว์ที่ป่วยเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่มีการระบาดในสัตว์บกปัจจุบัน ได้แก่ โรคลัมปี สกิน  (Lumpy skin disease)  โรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and mouth disease : FMD) โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever : ASF) โรคพีอาร์อาร์เอส (Porcine reproductive and respiratory syndrome : PRRS) โรคท้องร่วงติดต่อในสุกร (Porcine Epidemic Diarrhea : PED) เป็นต้น ทำให้มีโอกาสเกิดเชื้อดื้อยาในสัตว์และผลที่ตามมานำไปสู่ปัญหาการเกิดเชื้อดื้อยาในคน ดังนั้นหากต้องการบริโภคสัตว์ที่มีสุขภาพแข็งแรงและปลอดโรค จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคแก่ปศุสัตว์

ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศในส่วนของปศุสัตว์คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดี วัคซีนที่นำเข้าจากต่างประเทศและขายในท้องตลาดหลายชนิดมีข้อจำกัดที่ควบคุมโรคได้ไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากวัคซีนเหล่านั้นผลิตมาจากเชื้อที่เป็นสายพันธุ์ของต่างประเทศ อีกทั้ง เชื้อจุลชีพที่ก่อโรคในแต่ละพื้นที่อาจมีความแตกต่างทางพันธุกรรม (Genetic diversity) หรือมีการกลายพันธุ์ (Mutation) เกิดขึ้น ดังนั้นการใช้วัคซีนที่ผลิตขึ้นจากเชื้อจุลชีพที่ก่อโรคที่เป็นเชื้อประจำถิ่นของไทย หรือพัฒนามาจากเชื้อสายพันธุ์ที่ระบาดในฟาร์มของประเทศไทย เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้ 

 

นิทรรศการออนไลน์ผ่าน Virtual Reallity

รับชมผลงานวิจัยและนิทรรศการจาก สวทช. แบบ ​Interactive.

กำหนดการสัมมนา:

13.30 – 13.50 น. ทิศทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีนสัตว์เพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดของโรค ภายใต้แผนพัฒนา BCG Model
โดย น.สพ. ยุคล ลิ้มแหลมทอง
ประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG สาขาเกษตร
13.50 – 14.20 น. แนวโน้มตลาดวัคซีนสัตว์น้ำในประเทศไทยในมุมของ Start-up
โดย รศ.น.สพ.ดร.ชาญณรงค์ รอดคำ
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
14.20 – 14.50 น. มุมมองการลงทุนวิจัย และพัฒนาวัคซีนและชีวเภสัชภัณฑ์สำหรับเกษตรกรรมในประเทศไทย
โดย น.สพ.กษิดิ์เดช ธีรนิตยาธาร
บริษัท กรีน อินโนเวทีฟ ไบโอเทคโนโลยี จำกัด
14.50 – 15.20 น. แนวโน้มตลาดวัคซีนปศุสัตว์ในประเทศไทยในมุมของ Start-up
โดย ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Co-founder และ
CEO บริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด
15.20 – 15.50 น. มุมมองการลงทุนวิจัยวัคซีนในปศุสัตว์ไทย
โดย น.สพ.สุชาติ วรวุฒางกูร 
บริษัท ไบโอซายน์ แอนิมัล เฮลธ์ จำกัด (มหาชน)
15.50 – 16.20 น. โอกาสการเติบโตของธุรกิจโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุในระดับอุตสาหกรรมประเทศไทย
โดย ดร.พนิต กิจสุบรรณ
บริษัท คินเจน ไบโอเทค จำกัด
16.20 – 16.30 น. แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

*หมายเหตุ ห้องประชุมออนไลน์จะเปิดระบบ 15 นาทีก่อนเริ่มงาน

รวมรายการวิดิโอ

 

 

เกี่ยวกับวิทยากร

น.สพ. ยุคล ลิ้มแหลมทอง
ประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG สาขาเกษตร
รศ.น.สพ.ดร.ชาญณรงค์ รอดคำ
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
น.สพ.สุชาติ วรวุฒางกูร
บริษัท ไบโอซายน์ แอนิมัล เฮลธ์ จำกัด (มหาชน)
น.สพ.กษิดิ์เดช ธีรนิตยาธาร
บริษัท กรีน อินโนเวทีฟ ไบโอเทคโนโลยี จำกัด
ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Co-founder และ CEO บริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด
ดร.พนิต กิจสุบรรณ
บริษัท คินเจน ไบโอเทค จำกัด

สัมมนาอื่นๆ ​: