ปูนา กับวิถีชีวิต-ความมั่นคงทางอาหาร-เศรษฐกิจ

13:00 
- 16:00 น.
Freshwater,Crab,,Thai,Farmer,Caught,A,Crab,In,Rice,Field.

วิทยากร

ผศ.ดร.นิภาศักดิ์ คงงาม, คุณสังข์ โคตรวงษา, คุณสุทธิเดช อัศวชมพูนุช and คุณสันติ สติพา

ปูนา เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่อยู่ในวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่น มีรสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ มักพบในเมนูท้องถิ่นของชุมชนภาคเหนือ ภาคอีสาน และขยายไปยังชุมชนเมืองเกือบทั่วประเทศ ในอดีตชาวบ้านขุดหาปูตามทุ่งนาที่เป็นแหล่งอาศัยตามธรรมชาติ แต่เมื่อชาวนาปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตข้าวเน้นใช้ปุ๋ยและสารเคมีสูงขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิต ทำให้ระบบนิเวศในนาข้าวเปลี่ยนแปลงไป สิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ที่อาศัยในระบบนิเวศนาข้าวได้รับผลกระทบ

ส่งผลให้ปูนามีจำนวนลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ปูนายังคงได้รับความนิยมในการบริโภคและมีความต้องการในตลาดสูง ทำให้เกิดธุรกิจนำเข้าปูนาจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยไม่ทราบแหล่งที่มาที่ชัดเจน และหลายชุมชนเริ่มสนใจจับปูนามาขังเพื่อเลี้ยงไว้จำหน่าย โดยเฉพาะในสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 หลายคนตกงานและย้ายกลับมายังถิ่นฐานบ้านเกิด จึงมีผู้สนใจเลี้ยงปูนาจำหน่ายเป็นอาชีพสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงปูนายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากชุมชนยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศที่เหมาะสมกับการเลี้ยงปูนา การอนุบาลลูกปูวัยอ่อน อาหารที่เหมาะสมแต่ละช่วงวัย จึงไม่สามารถผลิตเพิ่มจำนวนได้อย่างยั่งยืน

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการเลี้ยงปูนาด้วยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ โดยใช้กลไกการสนับสนุนให้ชุมชนนำความรู้ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น มาประยุกต์ใช้ร่วมกับองค์ความรู้ทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับชนิดพันธุ์ วงจรชีวิต สูตรอาหารธรรมชาติ การจัดการระบบนิเวศและสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมอย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามแนวทาง BCG ให้ชุมชนใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพของชุมชน สนับสนุนให้เกิดการส่งต่อภูมิปัญญาและองค์ความรู้จากผู้เฒ่าผู้แก่ไปสู่คนรุ่นใหม่ (Bio-economy) สนับสนุนการใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเป็นอาหารเลี้ยงปูนา นำน้ำในบ่อเพาะเลี้ยงปล่อยกลับหมุนเวียนไปในแปลงนา เพิ่มปุ๋ยชีวภาพและธาตุอาหารในดิน (Circular economy) ส่งเสริมให้สร้างสมดุลระบบนิเวศ สร้างความตระหนักลดการใช้สารเคมีในบริเวณรอบบ่อเลี้ยง (Green Economy) ปัจจุบัน เกิดเครือข่ายจุดเรียนรู้ต้นแบบการเลี้ยงปูนาด้วยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ สร้างเศรษฐกิจรายได้ในชุมชน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่

  1. สถานีศึกษาการเลี้ยงปูนากลุ่มชุมชนเมืองบัว อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด
  2. สถานีการเลี้ยงปูนาเลียนแบบธรรมชาติ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารปูนาตำบลเมืองลีง อ.จอมพระ จ.สุรินทร์
  3. สถานีการเลี้ยงปูนาเลียนแบบธรรมชาติ อภิชาฟาร์ม ต.หนองเหล็ก อ.ศรีขรภูมิ   จ. สุรินทร์  โดยมีแกนนำเกษตรกรหรือนวัตกรชุมชน เป็นผู้ส่งต่อความรู้ โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และภาคประชาสังคม ในการขยายผลความรู้ไปยังพื้นที่ชุมชนต่างๆ ในจังหวัดสุรินทร์

นิทรรศการออนไลน์ผ่าน Virtual Reallity

รับชมผลงานวิจัยและนิทรรศการจาก สวทช. แบบ ​Interactive.

กำหนดการสัมมนา:

13.00 -15.30 น.

การเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ปูนา กับวิถีชีวิต-ความมั่นคงทางอาหาร-เศรษฐกิจ (ชุมชน)” โดย

  1. ผศ.ดร.นิภาศักดิ์ คงงาม
    คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  2. คุณสังข์ โคตรวงษา
    ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารปูนาตำบลเมืองลีง อ.จอมพระ จ.สุรินทร์
  3. คุณสุทธิเดช อัศวชมพูนุช
    เจ้าของธุรกิจผู้เลี้ยงปูนารุ่นใหม่ ฟาร์มปูนามาเฟีย ต.ลี้  จ.ลำพูน
  4. คุณสันติ สติพา
    เลขานุการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารปูนาตำบลเมืองลีง อ.จอมพระ จ.สุรินทร์
  5. ดร.อัครเดช สุพรรณฝ่าย (ผู้ดำเนินรายการ)
    คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
15.30 – 16.00 น. ผู้เข้าฟังร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

หมายเหตุ ห้องประชุมออนไลน์จะเปิดระบบ 15 นาทีก่อนเริ่มงาน

รวมรายการวิดิโอ

เกี่ยวกับวิทยากร

ผศ.ดร.นิภาศักดิ์ คงงาม
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
คุณสังข์ โคตรวงษา
ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารปูนาตำบลเมืองลีง อ.จอมพระ จ.สุรินทร์
คุณสุทธิเดช อัศวชมพูนุช
เจ้าของธุรกิจผู้เลี้ยงปูนารุ่นใหม่ ฟาร์มปูนามาเฟีย ต.ลี้ จ.ลำพูน
คุณสันติ สติพา
เลขานุการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนธนาคารปูนาตำบลเมืองลีง อ.จอมพระ จ.สุรินทร์

สัมมนาอื่นๆ ​: