การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาเกษตรแบบบูรณาการเชิงพื้นที่ (Area based)

09:30 
- 11:30 น.
Hand,Holding,Light,Bulb,Against,Nature,On,Green,Leaf,With

วิทยากร

น.สพ.ยุคล ลิ้มแหลมทอง, นายสำราญ สาราบรรณ์, นายชูศักดิ์ ชื่นประโยชน์, นางสาวธารารัตน์ โพธิ์ศรี, นางสาวรัตนา เสาวนียากร, นายสมเกียรติ กิมาวหา, ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ and ดร.เมธินี ศรีวัฒนกุล

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 19 มราคม 2564 ให้การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) : โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นวาระแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป โดยยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2569 มีวิสัยทัศน์คือ “เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ประชาชนมีรายได้ดี คุณภาพชีวิตดี รักษาและฟื้นฟู ฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพให้มีคุณภาพที่ดี ด้วยการใช้ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม”

สาขาเกษตรเป็นหนึ่งในสาขายุทธศาสตร์เป้าหมายที่ต้องเร่งรัดพัฒนาให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น แนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาเกษตรในระยะ 5 ปีข้างหน้า มีเป้าหมาย “ปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรของประเทศไทยสู่ 3 สูง คือ ประสิทธิภาพสูงด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมผสานภูมิปัญญา มุ่งยกระดับผลผลิตเกษตรสู่มาตรฐานสูงครอบคลุมทั้งด้านคุณภาพ โภชนาการ ความปลอดภัย และระบบการผลิตที่ยั่งยืน เพื่อเป้าหมายให้การทำการเกษตรเป็นอาชีพที่สร้างรายได้สูง ด้วยการผลิตสินค้าเกษตรที่เน้นความเป็นพรีเมียม มีความหลากหลาย และกำหนดราคาขายได้ตามคุณภาพของผลผลิตเกษตร 

ประธานคณะอนุกรรมการการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาเกษตร ได้ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการคัดเลือกพื้นที่นำร่องใน 5 จังหวัดและกลุ่มสินค้าเป้าหมาย ได้แก่ จ.ราชบุรี (มะพร้าวน้ำหอม อ้อย สุกร โคนม กุ้งก้ามกราม สินค้าเกษตรปลอดภัยเกษตรอินทรีย์) จ.ลำปาง (ข้าวเหนียว ไผ่) จ.ขอนแก่น (อ้อย หม่อนไหม) จ.จันทบุรี (ทุเรียน มังคุด ปูม้า) จ.พัทลุง (ข้าว) ทำให้เป็นโมเดลการบริหารจัดการการผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน และแนวทางส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่ที่เชื่อมโยง B C และ G โดยระยะแรกจะดำเนินการในพื้นที่ 5 จังหวัดนำร่อง และขยายผลสู่พื้นที่จังหวัดอื่นๆ ต่อไป โดยดำเนินงานร่วมกันระหว่าง BCG สาขาเกษตร สาขาอาหาร สาขานวัตกรรม สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน สาขาท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในการสนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งหน่วยงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและหน่วยงานในพื้นที่ เช่น สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด และร่วมกับคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ คณะทำงานขับเคลื่อนการปฏิรูปเศรษฐกิจ ด้านการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูง คณะกรรมการเพิ่มมูลค่าพืชเกษตร หอการค้าไทยและคณะทำงานขับเคลื่อนการปฏิรูปเศรษฐกิจด้านการสร้างเกษตรมูลค่าสูง สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ ผู้ว่าราชการจังหวัด และหน่วยงานในพื้นที่ และหน่วยงานสนับสนุนงบประมาณ เพื่อร่วมกันในการพัฒนาให้เป็นพื้นที่ต้นแบบความร่วมมือ 4P สนับสนุนให้เกิดการยกระดับเกษตรกร  สร้างมูลค่าเพิ่มและส่งเสริมด้านการตลาดของสินค้าเกษตร รวมทั้ง ด้านการท่องเที่ยว

นิทรรศการออนไลน์ผ่าน Virtual Reallity

รับชมผลงานวิจัยและนิทรรศการจาก สวทช. แบบ ​Interactive.

เอกสารประกอบการบรรยาย

กำหนดการสัมมนา:

09.30 – 11.30 น.

การเสวนาเรื่อง “การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG แบบบูรณาการ เชิงพื้นที่  (Area based) จังหวัดราชบุรี และจังหวัดจันทบุรี” 
ผู้ร่วมการเสวนา:

  • เป้าหมายและแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาเกษตร
    น.สพ.ยุคล ลิ้มแหลมทอง
    ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาเกษตร           
  • เป้าหมายและแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model ด้านการเกษตร ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    นายสำราญ สาราบรรณ์
    รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

  • แนวทางการพัฒนาเกษตรมูลค่าสูงของเกษตรกรและภาคเอกชน
    นายชูศักดิ์ ชื่นประโยชน์
    ประธานคณะกรรมการเพิ่มมูลค่าพืชเกษตร หอการค้าไทยและคณะทำงานขับเคลื่อนการปฏิรูปเศรษฐกิจด้านการสร้างเกษตรมูลค่าสูง

  • เป้าหมายและความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model ในพื้นที่ จ.ราชบุรี
    นางสาวรัตนา เสาวนียากร
    เกษตรและสหกรณ์จังหวัดราชบุรี
  • เป้าหมายและความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model ในพื้นที่ จ.จันทบุรี
    นางสาวธารารัตน์ โพธิ์ศรี
    เกษตรและสหกรณ์จังหวัดจันทบุรี
  • แนวทางการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
    นายสมเกียรติ กิมาวหา
    รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  • แนวทางการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model ของสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
    ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ
    ผู้อำนวยการ
    สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)  (สวก.)

วิทยากรผู้ดำเนินรายการ:
ดร.เมธินี ศรีวัฒนกุล
กรรมการสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย และกรรมการสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย
และเลขานุการเครือข่ายเกษตรและอาหารปลอดภัย (GAP
Net)

หมายเหตุ เป็นการเสวนาสด

รวมรายการวิดิโอ

เกี่ยวกับวิทยากร

น.สพ.ยุคล ลิ้มแหลมทอง
ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาเกษตร
นายสำราญ สาราบรรณ์
รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (แนวทางการขับเคลื่อน BCG Model ด้านการเกษตร ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป้าหมายในระยะ 5 ปี)
นายชูศักดิ์ ชื่นประโยชน์
ประธานคณะกรรมการเพิ่มมูลค่าพืชเกษตร หอการค้าไทยและคณะทำงานขับเคลื่อนการปฏิรูปเศรษฐกิจด้านการสร้างเกษตรมูลค่าสูง
นางสาวธารารัตน์ โพธิ์ศรี
เกษตรและสหกรณ์จังหวัดจันทบุรี
นางสาวรัตนา เสาวนียากร
เกษตรและสหกรณ์จังหวัดราชบุรี
นายสมเกียรติ กิมาวหา
รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ
ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
ดร.เมธินี ศรีวัฒนกุล
กรรมการสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย และกรรมการสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย และเลขานุการเครือข่ายเกษตรและอาหารปลอดภัย (GAP Net)

สัมมนาอื่นๆ ​: