ทางเลือก ทางรอด ฝ่าวิกฤตโควิด-19 ด้วยนวัตกรรมด้านสุขภาพและความงาม

09:00 
- 12:00 น.
asian-business-people-wearing-protective-face-mask

วิทยากร

ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย, ดร.สุวิมล สุรัสโม, ดร.ไพศาล ขันชัยทิศ, ดร.ธวิน เอี่ยมปรีดี, ดร.เดวิด มกรพงศ์, คุณสุพร เจริญวัฒนานนท์ and คุณชยภัทร รัชตวิภาสนันท์

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เริ่มแพร่เข้าสู่ประเทศไทยในช่วงต้นปี 2563
มีการติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก รัฐบาลต้องประกาศปิดประเทศ งดรับนักท่องเที่ยวทุกรูปแบบ
ตลอดจนการปิดสถานบริการหรือสถานที่เสี่ยงต่อที่มีการติดเชื้อเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค
ส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาวะเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงทางสุขภาพ เศรษฐกิจโลกหดตัว
รุนแรงที่สุดในรอบหลายสิบปี

ในขณะที่เศรษฐกิจไทยในช่วงปี 2564 มีการชะลอตัวสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากมีความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยังไม่คลี่คลาย อย่างไรก็ตาม ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคธุรกิจเริ่มมีประสบการณ์และสามารถปรับตัวได้ดีขึ้น เกิดโอกาสทางธุรกิจจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป จากกระแสความนิยมทางด้านการดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้น โดยผู้บริโภคทั่วโลกและประเทศไทยในปัจจุบันให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น จนทำให้พฤติกรรมในการบริโภคเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสินค้าที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น

อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพและความงามมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องทั้งในไทยและต่างประเทศ ซึ่งเป็น 1 ใน 12 ธุรกิจที่คาดว่าจะเติบโตในปีนี้ ในช่วงกลางปี 2564 ที่ผ่านมา พบว่ามีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมความงาม ซึ่งไทยส่งออกเครื่องสำอางอันดับ 2 อาเซียน ตลาดเครื่องสำอางในกลุ่มสกินแคร์ในประเทศไทยเติบโตดีมาตลอด แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากโควิดทำให้ตลาดลดลงแต่ยังคงทรงตัว และคาดว่าจะกลับมาได้รับความนิยมเหมือนเดิมหรือมากกว่าเดิม เนื่องจากโรคระบาดทำให้คนเริ่มให้ความสำคัญกับสุขภาพและความงามมากขึ้น อีกทั้งจากการส่งเสริมของภาครัฐที่ได้ผลักดันผลงานวิจัยด้านนวัตกรรมทางด้านสุขภาพและความงาม และการสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ (Startup) ในการนำผลงานเข้าสู่การผลิตเชิงพาณิชย์มากขึ้น ประกอบกับการมีจุดแข็งจากโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงทั้งกระบวนการผลิตและเครื่องจักรอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมด้านสุขภาพและความงามของไทยจะสามารถขยายตัวขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง

กลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามเป็นสินค้าที่สามารถพัฒนาต่อยอดด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ ซึ่งการมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้มาสนับสนุนประสิทธิภาพและความปลอดภัย รวมทั้งกลไกออกฤทธิ์ของสารออกฤทธิ์และผลิตภัณฑ์ เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่สนับสนุนประสิทธิภาพของสินค้า ช่วยเพิ่มมูลค่าและความน่าเชื่อถือให้กับสารออกฤทธิ์และผลิตภัณฑ์เวชสำอาง และเป็นปัจจัยที่ทำให้อุตสาหกรรมเวชสำอางประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ อีกทั้ง ในปัจจุบันมีการนำสารสกัดธรรมชาติจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมาใช้เป็นองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์สุขภาพกลุ่มผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์และเวชสำอางมากขึ้น ซึ่งสารสำคัญต้องผ่านกระบวนการวิเคราะห์ที่ได้มาตรฐาน ประเมินคุณสมบัติทั้งทางกายภาพ เคมี และทางชีวภาพ เพื่อให้ทราบถึงการออกฤทธิ์ต่อร่างกาย การพัฒนาต่อยอดในรูปแบบของอนุภาคห่อหุ้มเพื่อการกักเก็บในระดับนาโนเมตร เป็นกระบวนการที่สำคัญในการควบคุมปริมาณการกักเก็บและการปลดปล่อยสารสำคัญได้ตรงกับเซลล์เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำมาประยุกต์ให้เหมาะกับการนำไปใช้ในระบบของการนำส่งทางผิวหนังทั้งในรูปแบบของเภสัชภัณฑ์และเวชสำอาง นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนานวัตกรรมระบบนำส่งด้วยเข็มขนาดไมโครเมตร ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อทดแทนการใช้เข็มธรรมดาทั่วไปในนำส่งสู่ชั้นใต้ผิวหนัง เพื่อฟื้นฟูสภาพผิว ลดรอยเหี่ยวย่น และรอยแผลเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในทางการแพทย์และความงามมากขึ้น ซึ่งนวัตกรรมด้านสุขภาพและความงามดังกล่าวสามารถช่วยเพิ่มยอดขายและสร้างโอกาสการเติบโตทางธุรกิจด้านสุขภาพและความงามในประเทศไทย รวมทั้ง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ

 

 

นิทรรศการออนไลน์ผ่าน Virtual Reallity

รับชมผลงานวิจัยและนิทรรศการจาก สวทช. แบบ ​Interactive.

กำหนดการสัมมนา:

09.00 – 09.05 น.

กล่าวต้อนรับและเปิดงาน
โดย ดร.วรรณี ฉินศิริกุล
ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.

09.05 – 09.50 น.

Beauty and Personal Care Trends 2022 
โดย คุณชยภัทร รัชตวิภาสนันท์ 
Senior Research Analyst – Beauty and Personal, Thailand, Mintel

09.50 – 10.50 น.

เสวนา Success stories: โอกาสใหม่ทางธุรกิจ…ด้านสุขภาพและความงาม โดย  

  • ดร.เดวิด มกรพงศ์
    ประธานเจ้าหน้าที่นวัตกรรมและกรรมการผู้จัดการ
    บริษัท อาร์ แอนด์ ดี รีเสิร์ช อินโนเวชั่น แอนด์ ซัพพลาย จำกัด
  • คุณสุพร เจริญวัฒนานนท์
    กรรมการ บริษัท นารา แฟคทอรี่ จำกัด
  • ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย
    นักวิจัยอาวุโส ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.

ดำเนินรายการ:
โดย
คุณกชกร เอี่ยมวิมังสา
ผู้ประสานงาน ฝ่ายความร่วมมือและประชาสัมพันธ์ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.

10.50 – 11.20 น. Proving Your Claims: Scientific Substantiation Services Using Human Skin Models
โดย ดร.ธวิน เอี่ยมปรีดี 
นักวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.
11.20 – 11.40 น. 

Nanocarrier: Smart technology for Beauty & Wellness
โดย ดร.สุวิมล สุรัสโม     
นักวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.

11.40 – 12.00 น.

แผ่นแปะ microneedle ช่วยซึมซาบ นวัตกรรมนำส่งสู่ชั้นใต้ผิวหนัง ที่ท่านสามารถออกแบบได้
โดย ดร.ไพศาล ขันชัยทิศ
นักวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.

*หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม โดยยังคงไว้ซึ่งเนื้อหาและสาระสำคัญของการสัมมนา

รวมรายการวิดิโอ

 

 

 

 

เกี่ยวกับวิทยากร

ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย
นักวิจัยอาวุโส ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.
ดร.สุวิมล สุรัสโม
นักวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.
ดร.ไพศาล ขันชัยทิศ
นักวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.
ดร.ธวิน เอี่ยมปรีดี
นักวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.

 

ดร.เดวิด มกรพงศ์
ประธานเจ้าหน้าที่นวัตกรรมและกรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์ แอนด์ ดี รีเสิร์ช อินโนเวชั่น แอนด์ ซัพพลาย จำกัด
คุณสุพร เจริญวัฒนานนท์
กรรมการ บริษัท นารา แฟคทอรี่ จำกัด
คุณชยภัทร รัชตวิภาสนันท์
Senior Research Analyst – Beauty and Personal Thailand, Mintel

สัมมนาอื่นๆ ​: