ความร่วมมือการส่งเสริมและผลักดันนวัตกรรมเพื่อการศึกษาสำหรับภูมิภาค (Regional based Innovative Education Platform)

Introduction:

การส่งเสริมและผลักดันนวัตกรรมเพื่อการศึกษาสำหรับภูมิภาค เป็นการทำความร่วมมือระหว่างแพลตฟอร์มนวัตกรรมการศึกษาของศูนย์เทคโนโลนีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช. ร่วมกับกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 11 มหาวิทยาลัย ได้แก่(1) มรภ.ชัยภูมิ (2) มรภ.นครราชสีมา (3) มรภ.บุรีรัมย์ (4) มรภ.มหาสารคาม (5) มรภ.ร้อยเอ็ด (6) มรภ.เลย (7) มรภ.ศรีสะเกษ (8) มรภ.สกลนคร (9) มรภ.สุรินทร์ (10) มรภ.อุดรธานี และ (11) มรภ.อุบลราชธานี

พิธีลงนามจัดขึ้นในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564 ณ ห้องประชุมพิมานราชพฤกษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมี รศ.มาลิณี  จุโฑปะมา อธิการบดี มรภ.บุรีรัมย์ กล่าวต้อนรับ และ ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กล่าวความเป็นมาของความร่วมมือโดยมีวิดิทัศน์จาก ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์  ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. กล่าวแสดงความยินดีและมอบโอวาท

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นฐานรากสำคัญด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และสารสนเทศขั้นสูงของประเทศ มีพันธกิจผลักดันให้เกิดระบบนิเวศน์การใช้งานเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศขั้นสูง ผ่านโครงสร้างพื้นฐาน เครือข่ายพันธมิตรภาคการศึกษา และภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อรองรับประเทศไทย  4.0

มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันที่ผลิตบัณฑิตที่มีอัตลักษณ์ มีคุณภาพ มีสมรรถนะ และเป็นสถาบันหลักที่บูรณาการองค์ความรู้สู่นวัตกรรมในการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ มีพันธกิจผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และน้อมนำแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ความร่วมมือการส่งเสริมและผลักดันนวัตกรรมเพื่อการศึกษาสำหรับภูมิภาค เป็นการนำเทคโนโลยีในแฟลตฟอร์มนวัตกรรมการศึกษา 5 เทคโนโลยี ได้แก่ (1) KidBright (2) ThaiJo (3) NSTDA MOOC (4) Navanurak Platform (5) Museum Pool ไปขยายผลและสร้างความร่วมมือพัฒนาการเรียนการสอน งานวิจัยและนวัตกรรม ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้ง 11 สถาบัน โดยมีการเริ่มการอบรมการใช้แพลตฟอร์มนวนุรักษ์สำหรับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 เป็นการอบรมแรกในความร่วมมือ

 

 

คุณลักษณะ

  1. พัฒนางานวิจัยที่ส่งเสริมการพัฒนากำลังคนให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 
  2. สนับสนุนและส่งเสริมการใช้ผลงานวิจัยไปยังสถานศึกษา ชุมชนออนไลน์ให้เกิดการเข้าถึงการเรียนรู้ในวงกว้าง 
  3. ส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศด้านการศึกษาเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
  4. ยกระดับศักยภาพคนไทยทุกช่วงวัย  

จุดเด่น/ประโยชน์ของเทคโนโลยี

  1. KidBright: บอร์ดสมองกลฝังตัว (Embedded Board) เสมือนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่มีไมโครคอนโทรลเลอร์ (Microcontroller) สามารถรับข้อมูล ประมวลผล และสั่งงานเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ตามที่ต้องการได้
  2. ThaiJo หรือ Thai Journals Online:  แพลตฟอร์มบริหารจัดการองค์ความรู้ (วารสาร) วิชาการของประเทศ เพื่อยกระดับกระบวนการวารสารของประเทศ
  3. ระบบการศึกษาออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน (Massive Open Online Courses หรือ MOOC): เป็นแพลตฟอร์มสำหรับระบบจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในระบบเปิดที่สามารถรองรับผู้เรียนได้อย่างไม่จำกัด เพื่อการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิตของคนไทย 
  4. Navanurak Platform: ซอฟท์แวร์แพลตฟอร์มเพื่อการจัดเก็บข้อมูลทางวัฒนธรรม ความหลากหลายทางชีวภาพ และทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้ชุมชนหรือหน่วยงานสามารถจัดเก็บข้อมูลได้ด้วยตัวเองเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยอนุรักษ์ให้ข้อมูลวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพท้องถิ่น
  5. Museum Pool: เป็นระบบบริหารจัดการเนื้อหานำชมพิพิธภัณฑ์ที่สามารถสร้างโมไบล์แอปพลิเคชันนำชมได้ โดยเป็นแอปพลิเคชันเดียวที่สามารถเข้าชมได้ทุกพิพิธภัณฑ์ในเครือข่าย    

ขอบเขต/ข้อจำกัดการใช้งาน 

  1. สนับสนุนเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้ภายใต้แผนงานวิจัย (TOP) ด้านนวัตกรรมเพื่อการศึกษา (Innovative Education Platform)
  2. สนับสนุนระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ
  3. สนับสนุนวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเชิงเทคนิคในการอบรม ให้คำปรึกษา บริการด้านเทคนิค การใช้งานระบบ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น 
  4. ให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมด้านอื่นๆ ของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 สถาบัน. . 

กลุ่มลูกค้า/ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย

  1. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  2. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  3. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย   
  4. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 
  5. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  6. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  7. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  8. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  9. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ 
  10. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 
  11. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

สถานภาพการพัฒนา

  1. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการศึกษา สร้างกิจกรรมการมีส่วนรวมระหว่างศูนย์ฯ และสถาบันการศึกษาเครือข่าย 
  2. ส่งเสริม สนับสนุนร่วมมือด้านวิชาการ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 
  3. ร่วมวิจัยพัฒนาและขยายผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านการศึกษา
  4. ร่วมกันหาแหล่งทุนสำหรับการวิจัยพัฒนานวัตกรรมด้านการศึกษาในระดับภูมิภาค
  5. ร่วมพัฒนาศักยภาพบุคลากร
  6. เข้าร่วมประชุมและร่วมจัดงานฝึกอบรม สัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ  

หน่วยงานพันธมิตร

  • สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
  • สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
  • ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)
  • สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย 
  • องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)
  • องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
  •  

เอกสารประกอบการบรรยาย

รวมรายการวิดิโอนิทรรศการ

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:

งานพัฒนากำลังคนด้านอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศ
ฝ่ายบริหารโครงสร้างพื้นฐาน
ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (SPD)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email

นิทรรศการอื่นๆ :