การลดกลิ่นบูดเน่าในการเตรียมยางก้อนถ้วยและยางแท่งโดยใช้สาร enR/3S® (เอ็นอาทริปเปิ้ลเอส)

ไทยเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติรายใหญ่ของโลก ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของยางแท่ง ซึ่งมียางก้อนถ้วยเป็นวัตถุดิบสำคัญของการผลิตยางแท่ง ปัญหาหลักของกระบวนการแปรรูปขั้นต้น คือ กลิ่นเหม็นของยางก้อนถ้วยที่เกิดขึ้นจากจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนตามธรรมชาติเข้าไปย่อยสลายโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของยางพารา ทำให้เกิดสารระเหยที่มีกลิ่นหลายชนิด และจะถูกส่งต่อไปยังยางแท่ง STR 10/STR 20 ด้วย

การแก้ปัญหาตั้งแต่การผลิตยางก้อนถ้วยจึงเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนกว่า เพราะสามารถป้องกันการเกิดกลิ่นเหม็นได้ตั้งแต่สวนยางพาราจนถึงโรงงานผลิตยางแท่งและโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ยาง

ทีมวิจัยได้ค้นพบสารจับตัวน้ำยางพาราชนิดใหม่ ที่สามารถผลิตยางก้อนถ้วยไร้กลิ่น ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และปรับปรุงโครงสร้างของโปรตีนให้ใหญ่ขึ้น ซึ่งช่วยลดกลิ่นจากการเน่าเสียได้ มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม

 

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • ช่วยแก้ไขปัญหากลิ่นเหม็นได้ตั้งแต่สวนยางพาราจนถึงโรงงานผลิตยางแท่งและโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ยาง
  • มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม
  • กระบวนการของ enR/3S® สามารถประยุกต์ใช้ที่ผู้ผลิตยางก้อนถ้วย ลดระยะเวลาบ่มก่อนการแปรรูปเป็นยางแท่ง

 

สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา

  • คำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เลขที่ 2101000358 เรื่อง วิธีการเตรียมยางก้อนถ้วย สำหรับนำไปใช้เตรียมเป็นยางแท่งที่มีความหนืดคงที่ และวิธีการเตรียมยางแท่งที่มีความหนืดคงที่ วันที่ยื่น 2 มกราคม 2564 
  • PCT/TH2021/000072, METHOD FOR PREPARATION OF NATURAL RUBBER WITH CONSTANT VISCOSITY USING ALDEHYDE COMPOUND, International filing date: 14 Dec 2021
  • เครื่องหมายทางการค้า (Trademark) enR/3S® (เอ็นอาทริปเปิ้ลเอส) 

สถานภาพของผลงานวิจัย 

  • ต้นแบบระดับ pilot scale อยู่ระหว่างทดสอบภาคสนาม

ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ ในกลุ่มผู้ผลิตยางก้อนถ้วย และ/หรือ ยางแท่ง และ ผู้ผลิตและจำหน่ายเคมีสำหรับยาง

นักวิจัย
นางฉวีวรรณ คงแก้ว นายสุริยกมล มณฑา นางสาวปิยะดา สุวรรณดิษฐากุล และคณะ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

เอกสารประกอบการบรรยาย

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:

ขนิษฐา สิริจามร
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

นิทรรศการอื่นๆ :