คิวบ์-เอกซ์ (Cube-X) ก้อนฆ่าเชื้อโรคชนิดไอระเหยแบบพกพา

Introduction:

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อุปกรณ์เพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคผ่านการสัมผัสบนพื้นผิวที่ปนเปื้อนเป็นที่สนใจขึ้นอย่างมาก เพื่อตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าว คิวบ์เอกซ์ (Cube-X) หรือก้อนฆ่าเชื้อชนิดไอระเหยในภาชนะปิด ถูกพัฒนาขึ้นจากการเตรียมวัสดุนาโนไฮบริดเพื่อใช้ในการปลดปล่อยสารฆ่าเชื้อ เช่น เอทานอลในรูปแบบของไอระเหย โดยกลไกการฆ่าเชื้อโรคคือ ไอของเอทานอลที่ระเหยออกจาก คิวบ์เอ็กซ์ จะเข้าสู้พื้นที่ที่มีการปนเปื้อนโดยเชื้อโรค

ไอของเอทานอลดังกล่าวจะรบกวนเยื่อหุ้มเซลล์ของเชื้อโรค ทำให้สามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ทำลายพื้นผิว การใช้งานทำได้ง่ายโดยการใส่ก้อนฆ่าเชื้อในกล่องพลาสติกขนาด 10 x10 x 3 ลูกบาศก์เซนติเมตร ปิดฝาทิ้งไว้เป็นระยะเวลา 6 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 25-37 องศาเซลเซียส คิวบ์เอ็กซ์ผลิตจากกรดไขมันและอนุพันธ์ของเซลลูโลสทำให้สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติเมื่อสิ้นสุดการใช้งาน อีกทั้งกระบวนการผลิตสามารถทำได้ง่าย ต้นทุนการผลิตต่ำ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย

         

สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี

  • ก้อนฆ่าเชื้อชนิดไอระเหยโดยใช้โครงสร้างขนาดนาโนเมตรเป็นกลไกหลักในการควบคุมการปลดปล่อย
  • เป็นนวัตกรรมการฆ่าเชื้อแนวใหม่บนพื้นผิวที่ยากในการเข้าถึง เช่น ธนบัตร กุญแจ คีย์การ์ด และเครื่องประดับ
  • มีประสิทธิภาพในการปลดปล่อยสารฆ่าเชื้อได้ตรงจุด ในปริมาณที่เหมาะสม 
  • เป็นผลิตภัณฑ์จากสารสกัดธรรมชาติและสารอินทรีย์มีความปลอดภัยตาม FDA 
  • สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ชนิด Escherichia coli (E. coli) ATCC 25922, Staphylococcus aureus (S. aureus) ATCC 6538 และ ฆ่าเชื้อไวรัส Porcine Epidemic Diarrhea Virus (PEDV) (โคโรนาหมู) Influenza A virus subtype H1N1 (ไข้หวัดใหญ่) Enterovirus (มือเท้าปาก) บนพื้นผิวได้ 

สถานภาพสิทธิบัตร
สิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2001005368 เรื่อง .กระบวนการเตรียมนาโนไฮบริดคิวบิคเพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อจุลชีพบนพื้นผิว วันที่ยื่นคำขอ 22 กันยายน 2563

กลุ่มอุตสาหกรรม 

  • เวชสำอาง/เวชภัณฑ์
  • การแพทย์

ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ / วิจัยพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม 

สถานภาพของผลงานวิจัย
ผลการทดลองระดับห้องปฏิบัติการได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นไปได้

นักวิจัย
ดร. ลัพธ์พร วยาจุต (หัวหน้าโครงการ)
ดร. ชุลีกร โชติสุวรรณ
ดร. พนิดา พรหมพินิจ
ดร. รวีวรรณ ถิรมนัส
นาย สักรินทร์ ดูอามัน
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

เอกสารประกอบการบรรยาย

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:

จิรนันท์ บุบผามาลา
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

นิทรรศการอื่นๆ :