NAC 2018 | การประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 14 - การพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพจากนวัตกรรมเกษตรยั่งยืน นวัตกรรมอาหาร (การผลิต functional ingredient)

การพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพจากนวัตกรรมเกษตรยั่งยืน นวัตกรรมอาหาร (การผลิต functional ingredient)
และการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ
(Bioeconomy implementation: Sustainable agriculture, food innovation, and biochemical industries)
Monday, 12 March 2018 9.00-16.30
BIOTEC-auditorium, BIOTEC Building Thailand Science Park


_______________________________________________________________________________________________________________

     การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (Bioeconomy) เป็นแนวทางการพัฒนาที่อาศัยความเข้มแข็งและข้อได้เปรียบของประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรชีวภาพ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ แนวคิดนี้ถูกนำเสนอได้รับการสนับสนุนจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก เป็นวิธีการพัฒนาที่อยู่บนความยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมีและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอย่างมีคุณค่าและได้ประโยชน์สูงสุด ประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่บนพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรชนิดต่างๆ ที่หาไม่ได้ที่อื่นในโลก รวมทั้งประเทศไทยยังเป็นประเทศเกษตรกรรมที่สามารถเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี สามารถผลิตผลิตผลทางการเกษตรได้อย่างต่อเนื่อง

     จากข้อได้เปรียบและความเข้มแข็งนี้ ประเทศไทยต้องการการสนับสนุนและปรับปรุงด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับการแข่งขันของประเทศและพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพได้ตามแนวทางที่วางไว้ การพัฒนาต้องการการบูรณาการการทำงานร่วมกันในหลายด้าน เช่น ภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรมการผลิต และภาคบริการของประเทศ เมื่อประยุกต์แนวทางการดำเนินงานนี้ร่วมกับประเด็นมุ่งเน้น 3 เรื่องของ สวทช. ในขณะนี้ สามารถพัฒนาการดำเนินงานที่ต่อเนื่องกันทั้ง 3 เรื่อง คือ 1) การพัฒนานวัตกรรมเกษตรแบบยั่งยืน เพื่อผลิตทรัพยากรและวัตถุดิบตั้งต้นที่มีคุณภาพ และมีคุณสมบัติตามที่ต้องการ 2) การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยการนำเอาทรัพยากรและวัตถุดิบที่มีไปแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในกลุ่มอาหาร อาหารสัตว์ เครื่องสำอางและสารชีวภัณฑ์ 3) การพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพและเชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งเป็นการนำเอาวัตถุดิบที่มีรวมไปถึงวัสดุเหลือทิ้งทางชีวภาพไปพัฒนาต่อเป็นสารมูลค่าสูงในกลุ่มต่างๆ โดยอาศัยเทคโนโลยีหลักในกลุ่ม Biorefinery เพื่อสร้างสารชนิดต่างๆ ส่งต่อให้อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพและกลุ่มเชื้อเพลิงชีวภาพ เพื่อเพื่อมูลค่าของทรัพยากรชีวภาพ ลดการใช้สารเคมี ลดการใช้ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเคมี

     สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดงานประชุมประจำปี 14th NSTDA Annual Conference หรือ NAC2018 ในหัวข้อ ตอบโจทย์ประเทศไทยด้วยงานวิจัยประเด็นมุ่งเน้น (Targeted R&D: Tackling Thailand Challenges) โดยการสัมมนาในส่วนนี้เป็นการนำเสนอแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพ จากประเด็นมุ่งเน้น 3 เรื่องของ สวทช. ซึ่งจะเป็นการร้อยเรียงห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ของแต่ละเรื่อง ตั้งแต่ด้านการเกษตร การพัฒนานวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพของประเทศจากทรัพยากรชีวภาพที่มี โดยการสัมมนาจะมีการนำเสนอภาพรวมแนวทางการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจฐานชีวภาพของประเทศ อาทิเช่น แนวทางการพัฒนานวัตกรรมเกษตรด้วยการผลิตพืชในระบบ Plant factory แนวทางการพัฒนาสารให้ประโยชน์เชิงหน้าที่ (Functional ingredient) และการพัฒนางานด้าน Biorefinery เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมชีวภาพ ในหัวข้อสุดท้ายของการสัมมนาในครั้งนี้ เป็นการนำเสนอมุมมองการทำงานวิจัยร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน จากนักวิจัยในบรัทเอกชนที่กำลังพัฒนางานวิจัยโดยใช้แนวทาง Open innovation เพื่อพัฒนานวัตกรรมบนฐาน Bioeconomy

     Development of Bioeconomy relies heavily on biodiversity and abundant bioresources of the nation. Each country takes this opportunity as an advantage to leverage its competitiveness in the global market. The concept of Bioeconomy has been proposed and adopted widely among many countries around the world. This idea is based on a concept of sustainable development, clean and green growth, together with environmentally friendly development model. It aims to extend use of bioresources and to create maximum value from those resources. Thailand is one of the countries that has potential on promoting Bioeconomy to level up its economic competitiveness. By taking advantage on its biodiversity and a massive amount of agricultural products that have been produced throughout the year, should Thailand use this opportunity to elevate its degree of competitiveness ?

     In order to do so, Thailand needs lots of supports and improvements, particularly the issue concerning science, technology and innovation. This effort requires collaboration and integration among actors involved in the development process such as the government, industrial sectors, research institutes, universities, and citizens. To apply Bioeconomy concept to NSTDA’s targeted research themes, which are now implemented as its strategic research, it can be categorized into three main applications. Firstly, it concerns with the development of sustainable and smart agriculture which can be designed to create better quality of agricultural products as raw materials for Bioeconomy. Secondly, to apply this concept into food innovation sector, which includes the development of functional ingredients from low value bioresources and converts them into high value-added products. Thirdly, a challenging approach is paved towards the development of new bio-industry for production of advanced biofuels and biochemicals. This concerns with the utilization of bioresources including agricultural waste using multi-disciplinary technologies to produce various bioproducts as alternative for those from petrochemical origins.

     NSTDA as a public research organization, recognizes the importance of increasing Thailand’s competitiveness based on the development of Bioeconomy. As part of the NAC 2018, this seminar aims to provide information regarding current status and situation of Bioeconomy adoption in Thailand. Furthermore, the concept of plant factory development, which is new to Thailand’s research, is one of key topics in the morning session. For the afternoon session, the trend on functional food development and synthetic biology for microbial cell factory will be presented by distinguished researches from leading international institutes. Lastly, the seminar will be concluded by a perspective of private sector on how to build up corporate research and innovation through public-private partnerships.

      This seminar will bring you future trends both at the global and national levels, challenges, risk factors, and success factors for creating Bioeconomy in Thailand. With multidimensional perspectives from distinguished speakers and participants, we believe this event will shed a light on why and how should we adopt Bioeconomy in Thailand effectively. 

Agenda  

09.30 - 10.30

Keynote: Implementing Bioeconomy: An overview on global status and current situation in Thailand

Assoc. Prof. Klanarong Sriroth

MitrPhol Sugar Co. Ltd., Thailand

10.30 - 10.45

Coffee break

10.45 - 12.00

Plant factory: a new paradigm of plant production
Mr. Katashi Kai
808 Factory Shinnippou Ltd., Japan

12.00 – 13.15

Lunch

13.15 - 14.15

Developments of microbial functions and their applications in food and bio-based industry

Prof. Dr. Kohei Oda

Professor Emeritus at the Kyoto Institute of Technology, Japan

14.15 - 14.30 Coffee break
14.30 - 15.30 Synthetic biology: Synthesis of plant-derived pharmaceutical compounds by microbial cell factory

Prof. Dr. Bo Yu

Institute of Microbiology

Chinese Academy of Sciences, China

15.30 - 16.30

Corporate research and innovation through public-private partnerships

Dr. Magnus Bergkvist

Global Innovation Incubator (Gii)

Thai Union Group PCL, Thailand