NAC 2018 | การประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 14 - 3. กลุ่ม-สุขภาพและคุณภาพชีวิต


3. กลุ่ม-สุขภาพและคุณภาพชีวิต
 

A3 ,C3-สุขภาพและคุณภาพชีวิต : Sensor Series / บจก.ซีดีไอพี(ประเทศไทย) / SCG Open Innovation Center / โซนกิจกรรมพิเศษ Innovation Solution

B3 ,D3-สุขภาพและคุณภาพชีวิต : Sensor Series /ห้องปฏิบัติการระบบนำส่ง / ห้องปฏิบัติการนาโนเวชสำอาง/ โรงงานต้นแบบ GMP / โซนกิจกรรมพิเศษ Innovation Solution

 

Sensor Series :ประกอบไปด้วย

  1. Microfilaria Detection ระบบตรวจหาพยาธิระยะไมโครฟิลาเรียแบบกึ่งอัตโนมัติ ผลงานวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC)
  2. PIEnodeอุปกรณ์ IoTสำหรับตรวจวัดอุณหภูมิความชื้นอากาศและความเข้มแสง โดยส่งข้อมูลผ่าน ระบบ NETPIE ผลงานวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC)

3 GASSET แก๊สเซนเซอร์ต้นทุนต่ำ ผลงานวิจัยของห้องปฏิบัติการวิจัยอุปกรณ์เชิงคาร์บอนและนาโนอิเล็กทรอนิกส์ (CNL) 

 

บจก.ซีดีไอพี(ประเทศไทย)

ดำเนินธุรกิจรับจ้างวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารเสริม เครื่องสำอาง และยาสมุนไพรแบบครบวงจร ตั้งแต่การพัฒนาสูตร ผลิต การออกแบบฉลากสินค้า การขึ้นทะเบียน และจัดจำหน่าย นอกจากนี้ยังให้บริการด้านการวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ในรูปแบบ One Stop Service

 

ศูนย์นวัตกรรม SCG Open Innovation Center

เป็นศูนย์กลางการเปิดรับความร่วมมือด้านงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม กับภาครัฐ-เอกชน-การศึกษาทั่วโลก เพื่อให้เกิดเครือข่ายการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เร็วและดียิ่งกว่า Open Innovation Center ได้กำหนดขอบข่าย 60 กลุ่มเทคโนโลยี (Technology Platform) ที่สนใจและพร้อมหาความร่วมมือ ซึ่งสอดคล้องกับ 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ 1.) ธุรกิจซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง 2.) ธุรกิจเคมิคอลส์ และ 3.) ธุรกิจแพคเกจจิ้ง ที่เอสซีจีมีความเชี่ยวชาญ ทั้งองค์ความรู้ ประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ และการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าอย่างแท้จริง เพื่อนำพากลุ่มเป้าหมายที่ต้องการร่วมมือกับเอสซีจี เข้าสู่โปรแกรมการทำ R&D อย่างเป็นระบบร่วมกันและพัฒนาไปเป็นนวัตกรรม ทั้งในรูปแบบของการส่งเสริมประสิทธิภาพกระบวนการผลิต หรือก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ ภายใต้จุดมุ่งหมายเพื่อการดำเนินธุรกิจร่วมกันอย่างยั่งยืนต่อไป

 

ห้องปฏิบัติการระบบนำส่ง

วิจัยพัฒนาระบบนำส่งนาโน ซึ่งใช้สำหรับการนำส่งสารสำคัญในกลุ่มเภสัชภัณฑ์และเคมีเกษตรเพื่อการป้องกันและรักษาโรคในคน สัตว์และพืช โดยมุ่งเน้นเพื่อประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์และการเกษตร การนำไปประยุกต์ใช้งานทำได้หลายหลาย สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นฐานทางการแพทย์ สาธารณสุข อุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคของแต่ละอุตสาหกรรม

 

ห้องปฏิบัติการนาโนเวชสำอาง

มุ่งประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางชนิดใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์เวชสำอางจากสมุนไพรไทย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาสูตรตำรับที่มีส่วนผสมของสมุนไพรไทย โดยใช้นาโนเทคโนโลยีในการเตรียมสมุนไพรในรูปแบบนาโนพาร์ทิเคล นาโนลิโปโซม นาโนอิมัลชั่น และอื่นๆ  ในส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความคงตัวให้กับสมุนไพรไทย รวมถึงการทดสอบฤทธิ์และประสิทธิศักดิ์ของผลิตภัณฑ์ในการให้ความชุ่มชื้น ชะลอความแก่ ทำให้ผิวขาว ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านการอับเสบ และอื่นๆ

 

โรงงานต้นแบบเครื่องสำอาง

ให้บริการสนับสนุนภาคเอกชนโดยที่ลงทุนจัดตั้งศูนย์วิเคราะห์ทดสอบกลางและจัดตั้งโรงงานต้นแบบในระดับ Pilot Scale เพื่อทดลองผลิตแก่ผู้ประกอบการภาคเอกชนภาคอุตสาหกรรม, SMEs และ OTOP ในรูปแบบ One-Stop Service ก่อนการลงทุนผลิตในระดับอุตสาหกรรมจริง อาทิ ให้บริการผลิตอนุภาคนาโน เครื่องสำอาง และเวชสำอาง ในระดับทดลองผลิตก่อนผลิตระดับอุตสาหกรรมจริง ตามมาตรฐาน ASEAN GMP การให้บริการวิเคราะห์คุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ตามมาตรฐาน ASEAN GMP เพื่อการยื่นขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์และการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ ช่วยยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทย