เซ็นเซอร์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับระบบวัดน้ำและเเสดงแผนที่อัตโนมัติ : i-Sensor (ผลงานของ สวทช.)

 
จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement)

i-Sensor พัฒนาขึ้นจากไอออนเซนซิทีฟฟีลด์เอฟเฟคทรานซิสเตอร์ หรือ อีสเฟต หรือ ไอเอสเฟต ซึ่งสามารถสร้างด้วยฟิล์มที่สามารถตรวจสอบแบบเฉพาะเจาะจงได้ อย่างเช่น ไนเตรท โปแตสเซียม หรือ ฟอสเฟต เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ อีสเฟตจึงเป็นเซ็นเซอร์ที่มีประโยชน์หลากหลาย และด้วยขนาดที่เล็ก รวมทั้งเป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่กินไฟน้อย จึงสามารถนำมาประยุกต์เพื่อใช้ในงานวิเคราะห์ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ทั้งยังสามารถพัฒนาต่อจนสามารถทำเป็นระบบที่สามารถสอบเทียบและควบคุมแบบอัตโนมัติได้ คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้อีสเฟตมีข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับหัววัดแบบกระเปราะแก้วทั่วไป

คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์

i-Sensor เป็นเครื่องมือพัฒนาขึ้นจากไมโครเซ็นเซอร์ (เซ็นเซอร์ขนาดเล็กระดับไมครอน สร้างขึ้นโดยเทคโนโลยีไมโครแฟบบริเคชั่นซึ่งใช้ในการสร้างอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์) โดย TMEC ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของเนคเทคและ สวทช. ซึ่งมีสาธารณูปโภคและเครื่องจักร สำหรับไมโครแฟบบริเคชั่นเทคโนโลยี โดย i-Sensor ถูกพัฒนาเพื่อนำมามาใช้ในการวัดระดับค่าความเป็นกรดด่างในของเหลว หรือ สามารถเรียกได้ว่าเป็น พีเอชมิเตอร์ ซึ่งมีคุณภาพตามมาตรฐานสากลแต่มีราคาถูกเนื่องจากสามารถผลิตขึ้นเองในประเทศ พร้อมใช้งานกับระบบต้นแบบสำหรับวัดคุณภาพน้ำแบบอัตโนมัติ ซึ่งสามารถรองรับเซ็นเซอร์ต่างๆ ได้หลายชนิด โดยที่ระบบจะแสดงค่าที่วัดได้จาก sensors ต่างๆ และสามารถแสดงผลบน Google earth ได้

การประยุกต์ใช้งาน

- สามารถเรียกข้อมูลค่าที่วัดจาก i-Sensor ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เนต โดยสามารถแสดงผลบน Google map ได้

- สามารถเรียกดูข้อมูลได้ตามที่ผู้ใช้ต้องการ => ส่งผลให้สามารถลดหรือใช้สารเคมี อาหารเลี้ยงสัตว์น้ำ ไฟฟ้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง

- สามารถใช้ร่วมกับอิเล็กทรอนิกส์เซ็นเซอร์อื่นๆ รวมทั้งที่พัฒนาขึ้นโดย สวทช. เช่น ดีโอเซ็นเซอร์ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ เซ็นเซอร์วัดความลึกของน้ำ เป็นต้น

กลุ่มลูกค้า/ ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย

- อุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น ฟาร์มเลี้ยงกุ้ง ปลา

- โรงงานไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม กรมชลประทาน โรงงานฟอกหนัง โรงฆ่าสัตว์

กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย

- บริษัทติดตั้งระบบวัดน้ำ ผู้จำหน่ายเซ็นเซอร์

- บริษัทขายหรือผลิต อาหารสัตว์น้ำ

- ผู้ที่ผลิตหรือใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์เคมี หรือ อุตสาหกรรมอาหารและยา

สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา

ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรเกี่ยวกับการวัดไนเตรทแล้ว และปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมยื่นขอจดสิทธิบัตรเกี่ยวกับการผลิต และตรวจสอบ อีสเฟต อีก 3 ฉบับ

สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์

- ต้นแบบที่สามารถรองรับ i-Sensor หนึ่งตัว พร้อมทั้งมีการส่งข้อมูลของค่าที่วัดจากเซ็นเซอร์ รวมทั้งพิกัด ผ่านทาง ระบบ GSM

- แผนที่แบบกึ่งอัตโนมัติ บน Google earth

ภาพรวมตลาด

- โอกาสทางธุรกิจสำหรับตลาดเซ็นเซอร์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยถือว่ายังการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากผู้ใช้งานในกลุ่มอุตสาหกรรมและการเกษตร ซึ่งค่อนข้างมีความหลากหลายในการใช้งาน

- ตลาดในประเทศไทยยังคงเป็นของผู้ประกอบการที่นำเข้าจากต่างประเทศ จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่จะนำผลงาน i-Sensor และระบบวัดน้ำและแสดงแผนที่อัตโนมัติที่พัฒนาขึ้นในประเทศไปต่อยอดทางธุรกิจ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานและต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้ รวมทั้งสามารถให้บริการและส่งมอบสินค้าได้เร็ว และมีช่องทางการทำตลาดได้กว้างขวาง