การตรวจสุขภาพระดับยีนสำหรับปัจจัยเสี่ยงของโรคต่างๆ : Gene Diagnosis Business (ผลงานของ สนช.)

 
จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement)

- การตรวจสุขภาพระดับยีนนั้น ใช้เทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยยีนที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคนั้นๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคมะเร็ง

- เป็นนวัตกรรมด้านการบริการการตรวจวินิจฉัยยีนซึ่งพัฒนาต่อยอดผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยการนำไพรเมอร์ (primer) สายสั้นๆ ที่ถูกออกแบบให้มีลำดับเบสคู่สมกับช่วงสายพันธุกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเพื่อหาตำแหน่งพันธุกรรมที่แสดงถึงปัจจัยเสี่ยงในการก่อให้เกิดโรคเปรียบเทียบกับข้อมูลรหัสพันธุกรรม

- สามารถพัฒนาพัฒนาการตรวจโรคต่างๆได้มากขึ้นโดยใช้หลักการเดียวกัน เช่น โรคอ้วน ปัญหาการได้ยิน

- สามารถให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นโดยรวบรวม hotspots ในยีนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็ง หรือโรคหัวใจ ให้อยู่ในรูปฐานข้อมูลซึ่งจะช่วยทำให้ต้นทุนและเวลาในการวิเคราะห์ลดลง

คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์

   การวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมของบริษัทฯ จะใช้ไพรเมอร์ที่คิดค้นโดย รองศาสตราจารย์ ดร. คล้ายอัปสร พงศ์รพีพร ที่ปรึกษาขององค์กรซึ่งได้มีการศึกษาในระดับห้องปฏิบัติการ และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีการวิเคราะห์ด้วยการทำ multiplex ทำให้มีความแม่นยำในการวิเคราะห์

การประยุกต์ใช้งาน

การตรวจสุขภาพระดับยีนนั้นสามารถพัฒนาการตรวจโรคต่างๆได้มากขึ้นโดยใช้หลักการเดียวกัน เช่น โรคอ้วน ปัญหาการได้ยิน นอกจากนี้ยังสามารถรวบรวมฐานข้อมูลทางพันธุกรรมสำหรับโรคต่างๆ เพื่อเผยแพร่

กลุ่มลูกค้า/ ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย

- ผู้โรงพยาบาล: เป็นการนำชุดตรวจไปใช้ หรือรับตัวอย่างจากคนไข้เพื่อส่งตรวจกับบริษัท

- กลุ่มนักวิจัย: เป็นการนำฐานข้อมูลไปใช้

กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย

- กลุ่มโรงพยาบาลและคลินิก

- กลุ่มบริษัทที่ให้บริการตรววจสุขภาพระดับยีน

สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา

สิทธิบัตร เลขที่คำขอ 0701000430 เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2550
ชื่อการประดิษฐ์: CETP Set 2 (HG Primers Set 2) (โอลิโกนิวคลีโอไทด์ไพรเมอร์สำหรับการตรวจวิเคราะห์ยีน Cholesteryl Ester transfer Protein)

สิทธิบัตรเลขที่คำขอ 0701000449 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550
เรื่อง LDL receptor Set 1 (HG Primers Set 1)
(โอลิโกนิวคลีโอไทด์ไพรเมอร์สำหรับการตรวจวิเคราะห์ยีนตัวรับ LDL receptor)

สถานะ การพัฒนาผลิตภัณฑ์

อยู่ในขั้นการเก็บข้อมูลด้านประสิทธิภาพ

ภาพรวมตลาด

- ขนาดของตลาด: ผู้ป่วยในประเทศ

- อัตราการเติบโตของตลาด: ประเทศไทยอัตราตายจากกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดจะติดอันดับ 1 ใน 3 มาโดยตลอด ที่สำคัญได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง ในปี 2545 มีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นจำนวน 32,903 คน และเพิ่มสูงขึ้น เป็นจำนวน 40,092 คน ในปี 2546 สำหรับผู้ป่วยจากโรคหัวใจขาดเลือดในปี 2545 มีจำนวน 77,323 คน และเพิ่มสูงขึ้นเป็นจำนวน 92,733 ในปี 2546

- สภาวะการแข่งขันของอุตสาหกรรม: เน้นความน่าเชื่อถือ และคุณภาพในการบริการเป็นหลัก