Skip to content
NSTDA SPACE Education

NSTDA SPACE Education

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ และสะเต็มสำหรับเยาวชนไทย โดย สวทช.

  • Home
  • About Us
  • Space Ratchaphruek
  • AHiS
  • Asian Try Zero-G
  • Kibo-RPC
  • Parabolic Flight
  • National Space Exploration
  • News
  • Contact us
  • Home
  • News & Articles
  • รูปปั้นอะลูมิเนียมบนดวงจันทร์ สัญลักษณ์แห่งความเสียสละของนักบินอวกาศ
  • News & Articles

รูปปั้นอะลูมิเนียมบนดวงจันทร์ สัญลักษณ์แห่งความเสียสละของนักบินอวกาศ

NSTDA SPACE Education 31/01/2022

          บนดวงจันทร์มีรูปปั้นอลูมิเนียมเล็กๆ ขนาด 8.9 เซนติเมตร ที่ชื่อ Fallen Astronaut ออกแบบโดย พอล ฟาน ฮอยดอง (Paul Van Hoeydonck) เพื่อระลึกถึงนักบินอวกาศที่เสียชีวิตในการสำรวจอวกาศ

          Fallen Astronaut และแผ่นรายชื่อนักบินอวกาศทั้ง 14 คน ได้ถูกติดตั้งไว้ที่พื้นผิวดวงจันทร์ บริเวณหุบเขา Hadley Rille บนดวงจันทร์ โดยกลุ่มนักบินอวกาศยานอะพอลโล 15 (Apollo 15) เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1971 ซึ่งข้างๆ Fallen Astronaut เป็นแผ่นโลหะระบุรายชื่อนักบินอวกาศ 14 คน ที่เสียชีวิตจากภารกิจการสำรวจอวกาศ

          โครงการ Fallen Astronaut เป็นโครงการลับที่ เดวิด สก็อตต์ หนึ่งในนักบินอวกาศยานอะพอลโล 15 ได้แอบทางนาซานำตัวรูปปั้นและแผ่นรายชื่อขึ้นสู่อวกาศ เพื่อรำลึกถึงนักบินอวกาศทุกคนโดยไม่จำกัดเพศ และเชื้อชาติ เพื่อเป็นการตอบแทนความเสียสละและแสดงออกถึงความกล้าหาญ

          ตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้รูปปั้น Fallen Astronaut ก็ยังคงนอนอยู่บนพื้นผิวของดวงจันทร์ พร้อมๆ กับรอยเท้าของนักบินอวกาศที่ยังฝังรอยประทับบนพื้นผิวดวงจันทร์อีกแสนนาน

14 รายชื่อนักบินอวกาศของสหรัฐและสหภาพโซเวียตบนแผ่นป้าย

1. Theodore C. Freeman
อุบัติเหตุเครื่องบินตก (31 ตุลาคม ค.ศ. 1964)

2. Charles A. Bassett II
3. Elliot M. See Jr.
อุบัติเหตุเครื่องบินตก (28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1966)

4. Virgil I. Grissom
5. Roger B. Chaffee
6. Edward H. White II
อุบัติเหตุเพลิงไหม้ห้องโดยสารนักบินอวกาศ Apollo1 (27 มกราคม ค.ศ. 1967)

7. Vladimir M. Komarov
ร่มชูชีพยาน Soyuz1 ไม่ทำงานขณะกลับลงสู่โลก (24 เมษายน ค.ศ. 1967)

8. Edward G. Givens Jr.
อุบัติเหตุทางรถยนต์ (6 มิถุนายน ค.ศ. 1967)

9. Clifton C. Williams Jr.
อุบัติเหตุเครื่องบินตก (5 ตุลาคม ค.ศ. 1967)

10. Yuri A. Gagarin
อุบัติเหตุเครื่องบินตก (27 มีนาคม ค.ศ. 1968)

11. Pavel I. Belyayev
ป่วยด้วยโรคแผลในกะเพราะอาหาร (10 มกราคม ค.ศ. 1970)

12. Georgiy T. Dobrovolsky
13. Viktor I. Patsayev
14. Vladislav N. Volkov
ระบบปรับแรงดันยาน Soyuz11 ล้มเหลว ขณะกลับลงสู่โลก (30 มิถุนายน ค.ศ. 1971)


ข้อมูลจาก : Wikipedia

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related

Tags: Fallen Astronaut นักบินอวกาศ มนุษย์อวกาศ

Continue Reading

Previous: ดาวเคราะห์น้อย Itokawa กับการเกิดมหาสมุทรของโลก
Next: Lunar Gateway ของ NASA สถานีอวกาศถาวร โคจรรอบดวงจันทร์

Related Stories

International Space University (ISU) Space Study Program
  • News & Articles

International Space University (ISU) Space Study Program

31/01/2023
นักบินอวกาศญี่ปุ่นทดลอง 2 ไอเดียเยาวชนไทยบนสถานีอวกาศนานาชาติ
  • Asian Try Zero-G
  • News & Articles

นักบินอวกาศญี่ปุ่นทดลอง 2 ไอเดียเยาวชนไทยบนสถานีอวกาศนานาชาติ

25/01/2023
นภสร จงจิตตานนท์ คว้ารางวัล SIRIUS Award สำหรับวิทยานิพนธ์ด้านการจัดการในอุตสาหกรรมอวกาศ
  • News & Articles

นภสร จงจิตตานนท์ คว้ารางวัล SIRIUS Award สำหรับวิทยานิพนธ์ด้านการจัดการในอุตสาหกรรมอวกาศ

12/12/2022

NSTDA Space Education

Popular Posts

  • โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) 23.7k views
  • โครงการแข่งขัน The 2nd Kibo Robot Programming Challenge 9.4k views
  • โครงการ Asian Try Zero-G 2022 ท้าทาย ท้าไทย ไอเดียสุดปิ๊ง ทดลองจริงในอวกาศ 7.7k views
  • โครงการแข่งขัน The 3rd Kibo Robot Programming Challenge 6.6k views
  • รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ Asian Herb in Space (AHiS) 5.2k views

You may have missed

International Space University (ISU) Space Study Program
  • News & Articles

International Space University (ISU) Space Study Program

31/01/2023
นักบินอวกาศญี่ปุ่นทดลอง 2 ไอเดียเยาวชนไทยบนสถานีอวกาศนานาชาติ
  • Asian Try Zero-G
  • News & Articles

นักบินอวกาศญี่ปุ่นทดลอง 2 ไอเดียเยาวชนไทยบนสถานีอวกาศนานาชาติ

25/01/2023
พิธีส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศ เฟสที่ 1
  • Asian Herb in Space
  • ราชพฤกษ์อวกาศ

พิธีส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศ เฟสที่ 1

21/12/2022
นภสร จงจิตตานนท์ คว้ารางวัล SIRIUS Award สำหรับวิทยานิพนธ์ด้านการจัดการในอุตสาหกรรมอวกาศ
  • News & Articles

นภสร จงจิตตานนท์ คว้ารางวัล SIRIUS Award สำหรับวิทยานิพนธ์ด้านการจัดการในอุตสาหกรรมอวกาศ

12/12/2022
NSTDA SPACE Education Copyright © All rights reserved. | DarkNews by AF themes.