Skip to content
NSTDA SPACE Education

NSTDA SPACE Education

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ และสะเต็มสำหรับเยาวชนไทย โดย สวทช.

  • Home
  • About Us
  • Asian Try Zero-G
  • Kibo-RPC
  • AHiS
  • Space Ratchaphruek Tree
  • Parabolic Flight
  • Articles
  • Alumni
  • Contact us
  • Home
  • News & Articles
  • โครงการ Asian Try Zero-G 2017-2018 เปิดรับไอเดียเด็กไทย ส่งไปทดลองบนอวกาศ
  • Asian Try Zero-G
  • News & Articles

โครงการ Asian Try Zero-G 2017-2018 เปิดรับไอเดียเด็กไทย ส่งไปทดลองบนอวกาศ

NSTDA SPACE Education 28/02/2017

โอกาสครั้งสำคัญสำหรับเยาวชนไทยมาถึงแล้ว!  เมื่อ สวทช. และ สทอภ. ร่วมกับ แจ็กซ่า เปิดรับไอเดียของเยาวชนไทย เพื่อส่งให้กับมนุษย์อวกาศญี่ปุ่นทำการทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งจะต้องเป็นการทดลองที่ไม่เคยทำมาก่อน และใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA) เปิดรับความคิดสร้างสรรค์จากเยาวชนไทยและคนรุ่นใหม่ (อายุไม่เกิน 27 ปี) เสนอโครงการทดลองในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง เพื่อส่งให้ นายโนริชิเงะ คะไน (Mr.Norishige Kanai) มนุษย์อวกาศญี่ปุ่น นำไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2561 

ภาพที่ 1 นายวรวุฒิ จันทร์หอม เยาวชนไทยที่ได้รับคัดเลือกจาก JAXA ในโครงการ Asian Try Zero-G 2016
มีโอกาสสัมผัสประสบการณ์ทดลองแบบ Realtime ที่ Tsukuba Space Center เมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2559

DSC_0165
DSC_0186
DSC_0236
DSC_0276
DSC_0303
DSC_0306
DSC_0307
DSC_0316
DSC_0327
DSC_0329
DSC_0332
DSC_0355
[Show thumbnails]
สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของโครงการที่ได้รับคัดเลือกให้นำไปทดลองจริงบนสถานีอวกาศนานาชาติ จะได้รับเกียรติบัตรจากแจ็กซาและของที่ระลึกจาก สวทช. พร้อมโอกาสเดินทางไปชมการทดลองของมนุษย์อวกาศแบบสด ๆ ผ่านห้องบังคับการที่ ศูนย์อวกาศเมืองสึคุบะ (Tsukuba Space Center) ของ JAXA ณ ประเทศญี่ปุ่น

โดยการสมัครแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. เยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี

– ส่งใบสมัครเป็นภาษาอังกฤษ
– สามารถสมัครเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มได้ กลุ่มละไม่เกิน 5 คน
– สามารถส่งได้ 1 ไอเดีย ต่อ 1 คน หรือ 1 ไอเดีย ต่อ 1 กลุ่ม

2. บุคคลทั่วไปอายุไม่เกิน 27 ปี

– ส่งใบสมัครเป็นภาษาอังกฤษ
– สามารถส่งได้ 1 ไอเดีย ต่อ 1 คน เท่านั้น
– ไม่สามารถสมัครเป็นกลุ่มได้
– ข้อเสนอการทดลองต้องมีการเขียนอธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์อย่างถูกต้อง

ภาพที่ 2 (จากซ้ายไปขวา) เยาวชนจากประเทศไทย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย
เข้าร่วมการกิจกรรม Astronaut Simulated Training ณ Tsukuba Space Center

ทั้งนี้ โครงการที่เสนอนั้นจะต้องเป็นการทดลองที่ไม่เคยได้รับเลือกให้ทดลองมาก่อน (สามารถตรวจสอบการทดลองที่ผ่านมาได้ที่ลิงค์ http://iss.jaxa.jp/en/kuoa/tryzerog/index.html) ใช้เวลาในการทดลองไม่เกิน 10 นาที โดยอุปกรณ์การทดลองที่มนุษย์อวกาศจะนำขึ้นไปบนสถานีอวกาศ ได้แก่ ลูกดิ่ง สายวัดความยาว 2 เมตร กระดาษเปล่าขนาด 50 ซม. X 50 ซม. กระดาษโอริงามิ (origami) เครื่องชั่งน้ำหนัก ขดลวดสปริง (Slinky) วัสดุอะลูมิเนียม เหล็ก ไม้ และพลาสติก แผนที่ดาว แปรงระบายสี หลอดดูดน้ำ อุปกรณ์เครื่องเขียน และเครื่องมือช่าง เป็นต้น

DOWNLOAD
Application Form 2017-2018 (แบบฟอร์มใบสมัคร) Application form (ตัวอย่างการกรอกใบสมัคร)

Guideline

Available onboard items

หมดเขตส่งใบสมัคร วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2560

  • ส่งใบสมัครทางอีเมล nse@nstda.or.th
  • ส่งใบสมัครทางไปรษณีย์มาที่
    NSTDA Space Education
    ฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช)
    111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง
    อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120”
    โดยถือวันที่ประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ

สอบถามเพิ่มเติมที่ โทร. 0-2564-7000 ต่อ 1177  และ 02-141-4605

ตัวอย่างข้อเสนอโครงการของเยาวชนไทยที่ได้รับคัดเลือกปี 2016

 “การโค้งของผิวของเหลวในอวกาศ (Capillary in Zero gravity)”

ตัวอย่างข้อเสนอโครงการของเยาวชนไทยที่ได้รับคัดเลือกปี 2015
“การวาดภาพสีน้ำด้วยพู่กันในสภาวะไร้น้ำหนัก (Zero-G Painting)”
“เราสามารถสร้างลมในอวกาศได้หรือไม่? (Can we make wind in the space?)”

>> ข่าวเยาวชนไทยที่ได้รับคัดเลือกปี 2015

>> ข่าวเยาวชนไทยที่ได้รับคัดเลือกปี 2016

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related

Tags: Asian try zero-g Asian try zero-g 2017-2018 Try Zero-G

Continue Reading

Previous: ประสบความสำเร็จ! การนำจรวดขับดันกลับมาใช้ใหม่ (Reusable Rockets)
Next: “บรรยายพิเศษ เจาะลึก! National Space Experiment 2017” วันพุธที่ 15 มีนาคม 2560

Related Stories

สัมมนาวิชาการและส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศ ภายในงาน NAC 2023
  • News & Articles
  • ราชพฤกษ์อวกาศ

สัมมนาวิชาการและส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศ ภายในงาน NAC 2023

31/03/2023
เยาวชนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ Kibo-ABC Award แข่งขันนำเสนอผลการทดลองบนอวกาศ
  • Asian Try Zero-G
  • News & Articles

เยาวชนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ Kibo-ABC Award แข่งขันนำเสนอผลการทดลองบนอวกาศ

20/03/2023
งานประชุมวิชาการ The 5th COSPAR Symposium ระหว่างวันที่ 16-21 เม.ย. 66 ณ ประเทศสิงคโปร์
  • News & Articles

งานประชุมวิชาการ The 5th COSPAR Symposium ระหว่างวันที่ 16-21 เม.ย. 66 ณ ประเทศสิงคโปร์

07/03/2023

You may have missed

สัมมนาวิชาการและส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศ ภายในงาน NAC 2023
  • News & Articles
  • ราชพฤกษ์อวกาศ

สัมมนาวิชาการและส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศ ภายในงาน NAC 2023

31/03/2023
เยาวชนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ Kibo-ABC Award แข่งขันนำเสนอผลการทดลองบนอวกาศ
  • Asian Try Zero-G
  • News & Articles

เยาวชนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ Kibo-ABC Award แข่งขันนำเสนอผลการทดลองบนอวกาศ

20/03/2023
งานประชุมวิชาการ The 5th COSPAR Symposium ระหว่างวันที่ 16-21 เม.ย. 66 ณ ประเทศสิงคโปร์
  • News & Articles

งานประชุมวิชาการ The 5th COSPAR Symposium ระหว่างวันที่ 16-21 เม.ย. 66 ณ ประเทศสิงคโปร์

07/03/2023
เทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology) คืออะไร?
  • News & Articles

เทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology) คืออะไร?

22/02/2023
NSTDA SPACE Education Copyright © All rights reserved. | DarkNews by AF themes.