Skip to content
NSTDA SPACE Education

NSTDA SPACE Education

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ และสะเต็มสำหรับเยาวชนไทย โดย สวทช.

  • Home
  • About Us
  • Asian Try Zero-G
  • Kibo-RPC
  • AHiS
  • Space Ratchaphruek Tree
  • Parabolic Flight
  • Articles
  • Alumni
  • Contact us
  • Home
  • News & Articles
  • โครงการ Asian Try Zero-G 2016 เปิดรับไอเดียเด็กไทย
  • Asian Try Zero-G
  • News & Articles

โครงการ Asian Try Zero-G 2016 เปิดรับไอเดียเด็กไทย

NSTDA SPACE Education 05/01/2016

Try-Zero-G-2016-Banner

          สวทช. และ สทอภ. ร่วมกับ JAXA เปิดรับไอเดียของเยาวชนไทย เพื่อส่งให้กับมนุษย์อวกาศญี่ปุ่นทำการทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งจะต้องเป็นการทดลองที่ไม่เคยทำมาก่อน และใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที

          สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) ร่วมกับ องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA) เปิดรับความคิดสร้างสรรค์จากเยาวชนไทยและคนรุ่นใหม่ (อายุไม่เกิน 27 ปี) เสนอโครงการทดลองในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง เพื่อส่งให้ ทะคุยะ โอนิชิ (Mr.Takuya Onishi) มนุษย์อวกาศญี่ปุ่น นำไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2559 นี้ สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของโครงการที่ได้รับคัดเลือกให้นำไปทดลองจริงบนสถานีอวกาศนานาชาติ จะได้รับเกียรติบัตรจากแจ็กซาและของที่ระลึกจาก สวทช. พร้อมโอกาสเดินทางไปชมการทดลองของมนุษย์อวกาศแบบสด ๆ ผ่านห้องบังคับการที่ Tsukuba Space Center ประเทศญี่ปุ่น

การสมัครแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. เยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี

          – ส่งใบสมัครเป็นภาษาอังกฤษ

          – สามารถสมัครเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มได้ กลุ่มละไม่เกิน 5 คน

          – สามารถส่งได้ 1 ไอเดีย ต่อ 1 คน หรือ 1 ไอเดีย ต่อ 1 กลุ่ม

2. บุคคลทั่วไปอายุไม่เกิน 27 ปี

          – ส่งใบสมัครเป็นภาษาอังกฤษ

          – สามารถส่งได้ 1 ไอเดีย ต่อ 1 คน เท่านั้น

          – ไม่สามารถสมัครเป็นกลุ่มได้

          ทั้งนี้ โครงการที่เสนอนั้นจะต้องเป็นการทดลองที่ไม่เคยได้รับเลือกให้ทดลองมาก่อน (สามารถตรวจสอบการทดลองที่ผ่านมาได้ที่ลิงค์ http://jda.jaxa.jp/search.php?lang=e&keyword=Try+zero) ใช้เวลาในการทดลองไม่เกิน 10 นาที โดยอุปกรณ์การทดลองที่มนุษย์อวกาศจะนำขึ้นไปบนสถานีอวกาศ ได้แก่ ลูกดิ่ง สายวัดความยาว 2 เมตร กระดาษเปล่าขนาด 50 ซม. X 50 ซม. กระดาษโอริงามิ (origami) เครื่องชั่งน้ำหนัก ขดลวดสปริง (Slinky) วัสดุอะลูมิเนียม เหล็ก ไม้ และพลาสติก แผนที่ดาว แปรงระบายสี หลอดดูดน้ำ อุปกรณ์เครื่องเขียน และเครื่องมือช่าง เป็นต้น (สามารถดูรายละเอียดอุปกรณ์การทดลองเพิ่มเติมได้ที่ Call for Proposals Asian Try Zero-G

ส่งใบสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

  • ส่งทางอีเมล spaceeducation@nstda.or.th
  • ส่งทางไปรษณีย์มาที่
    “NSTDA Space Education
    ฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช)
    111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง
    อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120”โดยถือวันที่ประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ

สอบถามเพิ่มเติมที่ โทร. 0-2564-7000 ต่อ 1177

ตัวอย่างข้อเสนอของเยาวชนไทยที่ได้รับคัดเลือกปี 2015
“การวาดภาพสีน้ำด้วยพู่กันในสภาวะไร้น้ำหนัก (Zero-G Painting)”
“เราสามารถสร้างลมในอวกาศได้หรือไม่? (Can we make wind in the space?)”

>> ข่าวเยาวชนไทยที่ได้รับคัดเลือกปี 2015

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related

Tags: Asian try zero-g Try Zeo-G 2016 Try Zero-G การทดลองในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง สภาวะไร้น้ำหนัก สภาวะไร้แรงโน้มถ่วง

Continue Reading

Previous: APRSAF-22 Poster Contest Calendar 2016
Next: เยาวชนโครงการ Try Zero-G Asia 2015 ร่วมกิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติ 2559 ณ ทำเนียบรัฐบาล

Related Stories

ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ
  • Kibo-RPC
  • News & Articles

ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ

13/07/2023
กิจกรรม International Space Challenge 2024
  • News & Articles

กิจกรรม International Space Challenge 2024

09/05/2023
รายชื่อผู้สมัครโครงการ Asian Try Zero-G 2023
  • Asian Try Zero-G

รายชื่อผู้สมัครโครงการ Asian Try Zero-G 2023

02/05/2023

You may have missed

ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ
  • Kibo-RPC
  • News & Articles

ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ

13/07/2023
ผลคะแนน The 4th Kibo-Robot Programming Challenge รอบชิงแชมป์ประเทศไทย
  • Kibo-RPC

ผลคะแนน The 4th Kibo-Robot Programming Challenge รอบชิงแชมป์ประเทศไทย

12/07/2023
กิจกรรม International Space Challenge 2024
  • News & Articles

กิจกรรม International Space Challenge 2024

09/05/2023
รายชื่อผู้สมัครโครงการ Asian Try Zero-G 2023
  • Asian Try Zero-G

รายชื่อผู้สมัครโครงการ Asian Try Zero-G 2023

02/05/2023
NSTDA SPACE Education Copyright © All rights reserved. | DarkNews by AF themes.