Skip to content
NSTDA SPACE Education

NSTDA SPACE Education

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ และสะเต็มสำหรับเยาวชนไทย โดย สวทช.

  • Home
  • About Us
  • Asian Try Zero-G
  • Kibo-RPC
  • AHiS
  • Space Ratchaphruek Tree
  • Parabolic Flight
  • Articles
  • Alumni
  • Contact us
  • Home
  • News & Articles
  • ไอเดียเด็กไทยเจ๋ง! มนุษย์อวกาศญี่ปุ่นเลือกไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ
  • Asian Try Zero-G
  • News & Articles

ไอเดียเด็กไทยเจ๋ง! มนุษย์อวกาศญี่ปุ่นเลือกไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ

NSTDA SPACE Education 14/12/2015

แจ็กซา เลือกสุดยอดไอเดียการทดลองวิทยาศาสตร์ของเยาวชนไทย 2 เรื่อง คือ “การวาดภาพสีน้ำด้วยพู่กันในสภาวะไร้น้ำหนัก (Zero-G Painting)” และ “เราสามารถสร้างลมในอวกาศได้หรือไม่? (Can we make wind in the space?)” ส่งให้กับมนุษย์อวกาศญี่ปุ่นทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ และส่งกลับคลิปวีโอการทดลองมาสู่โลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

12311148_10153700887576904_9219394695461424272_n

ดร.กฤษฎ์ชัย สมสมาน ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) กล่าวว่า สวทช. ร่วมกับ องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ Japan Aerospace Exploration Agency (แจ็กซา) จัดทำโครงการ Try Zero-G 2015 เปิดรับแนวคิดการทดลองวิทยาศาสตร์จากเยาวชนไทย เพื่อส่งให้มนุษย์อวกาศญี่ปุ่น นายคิมิยะ ยูอิ เลือกนำไปใช้ทดลองในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง บนสถานีอวกาศนานาชาติ

“ในโครงการมีเยาวชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจาก ออสเตรเลีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เป็นต้น ให้ความสนใจส่งไอเดียการทดลองวิทยาศาสตร์เข้าร่วมจำนวน 81 เรื่อง ซึ่งทางแจ็กซาได้คัดเลือกไอเดียของเด็กไทยจำนวน 2 เรื่อง ขึ้นไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ที่ผ่านมา

โดยการทดลองวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 เรื่อง ประกอบด้วย การทดลอง “Zero-G Painting” ผลงานของ ด.ญ.วริศา ใจดี โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน และ น.ส.ศวัสมน ใจดี โรงเรียนศรีบุณยานนท์

และ การทดลอง“Can we make wind in the space?” ผลงานของ น.ส.สุภัสสร หวังพาณิชกุล  น.ส.พชรา ภัทรบดี และน.ส.พิชญา กรีพร จากโรงเรียนมัธยมปัญญารัตน์ ซึ่งขณะนี้มนุษย์อวกาศได้ส่งคลิปวีโอการทดลองมาสู่โลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้การที่เด็กๆ เข้าร่วมโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการคิดและค้นคว้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ที่ได้จากการทดลองในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาก เพราะการทดลองนี้ไม่สามารถทำได้บนพื้นโลก”

Team1

น.ส.ศวัสมน ใจดี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนศรีบุณยานนท์ เจ้าของไอเดียการทดลอง Zero-G Painting” กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการทดลองนี้มาจากตนเองกับน้องชอบวาดภาพมาก หลายครั้งที่พวกเรานอนวาดบนที่นอน ดินสอช่วยให้เรานอนหงายท้องวาดรูปได้ แต่ปากกาลูกลื่น และปากกาสีเมจิกไม่สามารถทำได้ แม่เคยเล่าให้ฟังเรื่องปากกาที่ถูกออกแบบมาสำหรับให้นักบินอวกาศใช้ ไม่ว่าจะกลับหัวตีลังกาอย่างไรก็สามารถเขียนติด จากนั้นพวกเราก็ทดลองเอาพู่กันและสีน้ำมาวาดรูป โดยยกกระดาษขึ้นข้างบนเหมือนกับที่เราเคยนอนวาดรูป แต่สีหยดเลอะเทอะ พวกเราเรียนรู้มาว่าทุกสิ่งจะร่วงสู่พื้นเพราะแรงโน้มถ่วง พวกเราจึงตั้งข้อสงสัยว่า ถ้าเช่นนั้นในอวกาศที่ไม่มีแรงโน้มถ่วง การนอนหงายท้องวาดรูปด้วยพู่กันและสีน้ำจะได้ภาพที่สวยงามเหมือนกับตอนที่เรานั่งวาดรูป และปล่อยให้สีหยดลงกระดาษด้วยแรงโน้มถ่วงหรือไม่

ผลจากการวาดภาพด้วยสีและพู่กันในสภาพที่ไร้แรงโน้มถ่วงบนสถานีอวกาศนานาชาติ พบว่า ไม่ว่าเราจะวาดรูปโดยวางกระดาษในแนวไหนก็ตาม ทั้งแนวตั้ง แนวนอน ด้านล่างหรือด้านบน สีน้ำก็จะไม่หยด หรือหลุดจากพู่กัน เนื่องจากสภาวะไร้เเรงโน้มถ่วง ตัวแปรที่สามารถมีผลกระทบต่อการทดลองได้คือ การดูดซับน้ำของกระดาษ ผลคือ น้ำจะมีผิวกลมเพราะเเรงตึงผิวแต่จะไม่หยดลงมา เพราะฉะนั้น สีจะติดกระดาษในรูปแบบที่พู่กันวาดลงไปค่ะ พวกเราขอขอบคุณโครงการแจ็กซาและ สวทช. ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอความคิดของตนเอง มันช่วยไขข้อสงสัยมากมายเกี่ยวกับอวกาศให้พวกเราเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นค่ะ”

Team2

ด้าน น.ส.พิชญา กรีพร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนโรงเรียนมัธยมปัญญารัตน์ เจ้าของไอเดียการทดลอง Can we make wind in the space? กล่าวว่า เราพยายามตั้งคำถามที่ไม่ค่อยมีคนถามเกี่ยวกับอวกาศ เพื่อเป็นความรู้ใหม่ๆ จึงได้ไอเดียเรื่อง ลม เพราะพวกเราพยายามค้นคว้าในอินเทอร์เน็ตว่ามีคำอธิบายใดๆ บ้างเกี่ยวกับลมในอวกาศซึ่งก็ยังไม่ค่อยพบข้อมูลมากนัก ซึ่งเราสงสัยว่า หากเราปล่อยวัตถุให้ลอยอยู่ในอวกาศและใช้กระดาษพัด วัตถุที่ลอยอยู่นั้นจะถูกพัดออกไปเหมือนตอนอยู่บนโลกหรือไม่ หรือว่าการพัดจะไม่ส่งผลอะไรกับวัตถุเลย เลยส่งโครงการทดลองนี้เข้าร่วมประกวด

“เมื่อได้ทราบว่าไอเดียของพวกเราได้รับคัดเลือกไปทดลองบนอวกาศ พวกเรารู้สึกดีใจและภูมิใจมาก และจากที่ได้ชมผลการทดลองทำให้เราทราบว่า ในสภาวะไร้น้ำหนักบนอวกาศ การสร้างแรงลมสามารถทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้ซึ่งเป็นตามกฎของนิวตัน วัตถุที่มีมวลน้อยจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าวัตถุที่มีมวลมากกว่าเมื่อมีแรงเท่ากันมากระทำค่ะ”

Kibo_PM_and_ELM-PS

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related

Tags: Can we make wind in the space Japan Aerospace Exploration Agency JAXA Kimiya Yui NSTDA Try Zero-G Zero-G Painting กฤษฎ์ชัย สมสมาน การทดลองในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง คิมิยะ ยูอิ พชรา ภัทรบดี พิชญา กรีพร วริศา ใจดี ศวัสมน ใจดี สภาวะไร้แรงโน้มถ่วง สวทช สุภัสสร หวังพาณิชกุล โรงเรียนมัธยมปัญญารัตน์ โรงเรียนศรีบุณยานนท์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน

Continue Reading

Previous: GNSS.asia Challenge 2015
Next: แนะนำองค์การวิจัยและพัฒนาการสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA)

Related Stories

สัมมนาวิชาการและส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศ ภายในงาน NAC 2023
  • News & Articles
  • ราชพฤกษ์อวกาศ

สัมมนาวิชาการและส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศ ภายในงาน NAC 2023

31/03/2023
เยาวชนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ Kibo-ABC Award แข่งขันนำเสนอผลการทดลองบนอวกาศ
  • Asian Try Zero-G
  • News & Articles

เยาวชนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ Kibo-ABC Award แข่งขันนำเสนอผลการทดลองบนอวกาศ

20/03/2023
งานประชุมวิชาการ The 5th COSPAR Symposium ระหว่างวันที่ 16-21 เม.ย. 66 ณ ประเทศสิงคโปร์
  • News & Articles

งานประชุมวิชาการ The 5th COSPAR Symposium ระหว่างวันที่ 16-21 เม.ย. 66 ณ ประเทศสิงคโปร์

07/03/2023

You may have missed

สัมมนาวิชาการและส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศ ภายในงาน NAC 2023
  • News & Articles
  • ราชพฤกษ์อวกาศ

สัมมนาวิชาการและส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศ ภายในงาน NAC 2023

31/03/2023
เยาวชนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ Kibo-ABC Award แข่งขันนำเสนอผลการทดลองบนอวกาศ
  • Asian Try Zero-G
  • News & Articles

เยาวชนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ Kibo-ABC Award แข่งขันนำเสนอผลการทดลองบนอวกาศ

20/03/2023
งานประชุมวิชาการ The 5th COSPAR Symposium ระหว่างวันที่ 16-21 เม.ย. 66 ณ ประเทศสิงคโปร์
  • News & Articles

งานประชุมวิชาการ The 5th COSPAR Symposium ระหว่างวันที่ 16-21 เม.ย. 66 ณ ประเทศสิงคโปร์

07/03/2023
เทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology) คืออะไร?
  • News & Articles

เทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology) คืออะไร?

22/02/2023
NSTDA SPACE Education Copyright © All rights reserved. | DarkNews by AF themes.