Skip to content
NSTDA SPACE Education

NSTDA SPACE Education

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ และสะเต็มสำหรับเยาวชนไทย โดย สวทช.

  • Home
  • About Us
  • Asian Try Zero-G
  • Kibo-RPC
  • AHiS
  • Space Ratchaphruek Tree
  • Parabolic Flight
  • Articles
  • Alumni
  • Contact us
  • Home
  • Hubble Cast
  • ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 6: กล้องโทรทรรศน์ในอวกาศกับบนโลก
  • Hubble Cast

ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 6: กล้องโทรทรรศน์ในอวกาศกับบนโลก

NSTDA SPACE Education 29/07/2020
 
เคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ทำไมต้องส่งกล้องโทรทรรศน์ไปอยู่ในอวกาศ ในเมื่อมีกล้องโทรทรรศน์บนโลก บนยอดเขาสูงหลายแห่งอยู่แล้ว และอย่างไหนจะศึกษาดาราศาสตร์ได้ดีที่สุด
 
ปัจจุบันมีกล้องโทรทรรศน์มากมาย หลายขนาดและหลายลักษณะ บางแบบก็อยู่บนโลก เช่น ระบบกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) ที่ตั้งอยู่บนยอดเขาสูง 2,600 เมตร ในทะเลทราย อะตาคามา ประเทศชิลี ที่นี่มีระบบคอมพิวเตอร์ทันสมัยที่สุดใช้งาน
 
กล้องโทรทรรศน์อีกแบบหนึ่งอยู่ในอวกาศ เช่น กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล อยู่ในวงโคจรรอบโลก สูง 600 กิโลเมตร
 
กล้องโทรทรรศน์เกือบทุกแบบ จะมีอุปกรณ์พื้นฐานเหมือนกัน คือ มีกระจก มีอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ และระบบควบคุมการทำงาน
 
ส่วนสำคัญหลักคือกระจก จะเป็นตัวรวมแสงทั้งหมดที่มาจากดาวฤกษ์และกาแล็กซีที่อยู่ไกลแสนไกล แต่ยังไม่ได้เป็นภาพขยาย ตามที่หลายคนคิดกัน
 
ต่อจากนั้นจะมีกระจกชุดที่ 2 สะท้อนแสงดังกล่าวไปยังอุปกรณ์อื่นของกล้อง ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์หลักสองส่วน อย่างแรกคือกล้องถ่ายภาพ ซึ่งทำหน้าที่เหมือนกับกล้องถ่ายภาพดิจิทัลธรรมดา คือเป็นส่วนเก็บภาพถ่ายนั่นเอง
 
ต่อจากนั้นจะมี สเปกโตกราฟ คือ อุปกรณ์แยกแสงสีจากแสงที่รับมาให้เป็นองค์ประกอบของสีเหมือนที่เห็นในรุ้งกินน้ำ ซึ่งสามารถจะบอกคุณสมบัติทางกายภาพของวัตถุไกลๆ นั้นได้
บรรดาวิศวกรอัจฉริยะและนักดาราศาสตร์ที่มากด้วยจินตนาการทั่วโลก เสมือนอยู่ในสงครามค้นหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แข่งขันกันเปิดเผยความลับของเอกภพ
 
แล้วใครจะเป็นผู้ชนะ กล้องโทรทรรศน์ที่อยู่บนโลกเป็นผู้ชนะใช่หรือไม่ เพราะมันมีขนาดใหญ่กว่าจึงรวมแสงของดาวฤกษ์และกาแล็กซีที่อยู่ไกลๆ ได้มากกว่า
หรือว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศเป็นผู้ชนะ เพราะภาพที่ได้มีความคมชัดมาก จากการที่อยู่เหนือเมฆและไม่ถูกชั้นบรรยากาศรบกวน
 
 
แต่ในอีกด้านหนึ่ง ชั้นบรรยากาศจะปิดกั้นแสงที่มีความยาวคลื่นบางช่วงเอาไว้ ซึ่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศ เช่นกล้องฮับเบิล ที่อยู่เหนือชั้นบรรยากาศ จึงสามารถรับช่วงคลื่น อัลตราไวโอเลตและอินฟราเรดได้ ซึ่งไม่สามารถรับได้จากพื้นโลก
 
กล้องโทรทรรศน์บนโลกมีดีอีกข้อหนึ่งคือ สังเกตได้ในพื้นที่กว้างใหญ่ต่อการส่องไปแต่ละครั้ง และต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สามารถเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆ ได้ทันที เมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ใหม่ๆขึ้นมา
 
นักดาราศาสตร์แต่ละทีม มักจะใช้ร่วมกันทั้งสองแบบ คือทั้งกล้องโทรทรรศน์ที่อยู่บนโลกและในอวกาศ เพื่อไขปริศนาในเอกภพ
 
จึงสรุปได้ว่า ไม่มีการแข่งขันกันแต่อย่างใด แต่เพื่อให้ได้ผลงานที่สมบูรณ์ที่สุด จึงมีการใช้กล้องทั้งสองแบบที่แตกต่างกัน มาทำงานเสริมกันและกัน ไม่ว่ากล้องจะเล็กหรือใหญ่ จะอยู่ซีกโลกเหนือหรือใต้ อยู่บนโลกหรือในอวกาศ
 
ทั้งหมดล้วนแล้วแต่ร่วมกันทำหน้าที่เดียวกัน คือ เปิดเผยความลึกลับของสรรพสิ่งรอบตัวเรา
 

แปลและเรียบเรียง
อ.สิทธิชัย จันทรศิลปิน

  • FacebookFacebook
  • XX
  • LINELine
Tags: space telescopes telescope กล้องโทรทรรศน์ กล้องโทรทรรศน์อวกาศ ฮับเบิล

Continue Reading

Previous: ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 5: ฮับเบิลค้นพบวงแหวนของสสารมืด
Next: ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 7: ดาวฤกษ์ระเบิดในเนบิวลาผ้าคลุมไหล่

Related Stories

ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 37: แหล่งกำเนิดดาวฤกษ์มวลมหาศาล
  • Hubble Cast

ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 37: แหล่งกำเนิดดาวฤกษ์มวลมหาศาล

02/02/2021
ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 35: ตำนานของกล้องฮับเบิล
  • Hubble Cast

ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 35: ตำนานของกล้องฮับเบิล

06/01/2021
ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 34: กาแล็กซีขนาดใหญ่ใน Leo Triplet
  • Hubble Cast

ไขปริศนาจักรวาลกับฮับเบิล ตอนที่ 34: กาแล็กซีขนาดใหญ่ใน Leo Triplet

03/01/2021
  • JAXA เปิดตัวระบบ Simulator ของ Int-Ball2 ก้าวสำคัญสู่การพัฒนาหุ่นยนต์อวกาศ
  • เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์ทีม Astronut แชมป์นานาชาติ The 5th Kibo-RPC
  • JAXA ประกาศเลือก 2 การทดลองเยาวชนไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ
  • รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ The 6th Kibo-RPC
  • โครงการ The 6th Kibo Robot Programming Challenge

You may have missed

JAXA เปิดตัวระบบ Simulator ของ Int-Ball2 ก้าวสำคัญสู่การพัฒนาหุ่นยนต์อวกาศ
  • News & Articles

JAXA เปิดตัวระบบ Simulator ของ Int-Ball2 ก้าวสำคัญสู่การพัฒนาหุ่นยนต์อวกาศ

18/06/2025
เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์ทีม Astronut แชมป์นานาชาติ The 5th Kibo-RPC
  • Kibo-RPC

เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์ทีม Astronut แชมป์นานาชาติ The 5th Kibo-RPC

17/04/2025
JAXA ประกาศเลือก 2 การทดลองเยาวชนไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ
  • Asian Try Zero-G

JAXA ประกาศเลือก 2 การทดลองเยาวชนไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ

16/04/2025
รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ The 6th Kibo-RPC
  • Kibo-RPC

รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ The 6th Kibo-RPC

14/04/2025
NSTDA SPACE Education Copyright © All rights reserved. | DarkNews by AF themes.
เว็บไซต์นี้ใช้งานคุกกี้ ในการใช้งานสามารถใช้งานเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เว็บไซต์นี้จะมีเก็บค่าคุกกี้ เพื่อให้การใช้งานเว็บไซต์ของท่านเป็นไปอย่างความราบรื่นและเป็นส่วนตัวมากขึ้น จึงขอให้ท่านรับรองว่าท่านได้อ่านและทำความเข้าใจนโยบายการใช้งานคุกกี้AcceptPrivacy policy