นักวิจัยไบโอเทคได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี 2561

ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ นักวิจัยห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเอนไซม์ หน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์และชีวเคมีภัณฑ์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี 2561 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จากผลงานวิจัยเรื่อง “เอนอีซ เอนไซม์อัจฉริยะเพื่อกระบวนการการผลิตสิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ซึ่งเป็นผลงานร่วมวิจัยระหว่างไบโอเทค ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) โรงงานสิ่งทอธนไพศาล และ บริษัท เอเซียสตาร์เทรด จำกัด

ผลงานวิจัยดังกล่าวมุ่งเน้นการบูรณาการองค์ความรู้ในสหสาขาวิชาต่างๆ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย อาทิ เทคโนโลยีการคัดเลือกเชื้อจุลินทรีย์แบบสมรรถนะสูง เทคโนโลยีการหมัก (fermentation technology) เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวเอนไซม์หลังการผลิต (downstream processing technology) และ เทคโนโลยีการผสมสูตรเอนไซม์ (enzyme formulation technology) โดยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโมเลกุลของเอนไซม์และโมเลกุลของสารเติมแต่งด้วยเทคนิคทางชีวฟิสิกส์ เพื่อพัฒนา “เอนไซม์เอนอีซ” ซึ่งเป็นเอนไซม์อัจฉริยะที่สามารถใช้เพื่อทดแทนสารเคมีในกระบวนการลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายออกอย่างง่ายดายในขั้นตอนเดียว ทำให้ช่วยลดขั้นตอนที่ยุ่งยากในการผลิตฝ้าฝ้าย ลดระยะเวลา พลังงาน แรงงาน และค่าใช้จ่ายโดยรวมในการผลิตลงได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของกระบวนการเดิม นอกจากนั้น กระบวนการผลิตผ้าฝ้ายโดยใช้เอนไซม์เอนอีซยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ทดแทนกระบวนการผลิตผ้าแบบดั้งเดิมทั้งในระดับวิสาหกิจชุมชน และระดับอุตสาหกรรมได้ง่าย เพราะไม่ต้องเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรใดๆ และยังช่วยให้ผู้ประกอบการสิ่งทอทั้งในระดับวิสาหกิจชุมชนและระดับอุตสาหกรรมสามารถเพิ่มกำลังการผลิตผ้าฝ้ายต่อวันได้มากขึ้นอีกด้วย

เอนไซม์เอนอีซได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบริษัท เอเซียสตาร์เทรด จำกัด เพื่อผลิตจำหน่ายเชิงพาณิชย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีบริษัท พิสิษฐ์ อินเตอร์กรุ๊ป เป็นตัวแทนในการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทยและโซนประเทศใกล้เคียง นอกจากนี้ คณะวิจัยยังมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ให้กับวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มชาวบ้านที่มีการพัฒนาสินค้าผ้าฝ้ายพื้นเมืองให้หันมาใช้กระบวนการผลิตผ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาศักยภาพสิ่งทอในชุมชนให้สามารถสร้างความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ และนำไปสู่การยกระดับสินค้าพื้นเมือง การผลิตสิ่งทอเทคนิค หรือนวัตกรรมสิ่งทออื่นๆ ส่งผลกระทบต่อการสร้างงาน สร้างรายได้ คุณภาพชีวิต และสร้างชุมชนให้มีความเข็มแข็งต่อไป

โดยในปีนี้รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น มอบให้แก่ คุณสุวัฒน์ รติวัชรากร และคณะ จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จากผลงานเรื่อง “ระบบควบคุมแรงดันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบ Redundancy”

มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ เริ่มดำเนินการโครงการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น และรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ขึ้นตั้งแต่ปี 2543 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชิดชูเกียรตินักเทคโนโลยีไทยที่มีผลงานดีเด่นทั้งในภาครัฐหรือภาคเอกชน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักวิชาการ และนักเทคโนโลยีที่มีความสามารถจำนวนมากในประเทศไทย ได้ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีของไทยให้สามารถแข่งขันในเชิงอุตสาหกรรม และเชิงพาณิชย์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นกลไกในการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างจริงจังและต่อเนื่องของประเทศไทย โดยในปีนี้มีการแถลงข่าวเปิดตัวเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี 2561 โดย น.สพ.รุจเวทย์ ทหารแกล้ว ประธานคณะกรรมการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2561 ณ โรงแรมดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก

BIOTEC researcher awarded Young Technologist Award 2018

Dr. Thidarat Nimchua, BIOTEC researcher based at the Enzyme Technology Laboratory, was awarded the 2018 Young Technologist Award for her achievement in the development of ‘ENZease’, intelligent enzyme for eco-friendly textile production process.

Textile wet processing is a highly polluting industrial process owing the use of toxic chemicals and dyes and consuming large amount of energy. The convention chemical process of cotton-based textiles begins with desizing of starches (size) applied to the yarn during weaving and scouring of the material in an alkaline bath to remove natural impurities, resulting in polluted waste stream. Due to her extensive background in enzyme development, Dr. Nimchua seeks to address the issue by looking into the application of enzyme in developing a more eco-friendly textile processing system.

‘ENZease’, a dual-activity enzyme, was developed and optimized for a fast, integrated enzyme-based pretreatment process, combining the desizing and scouring steps into a single step for cotton fabric. ENZease provides amylase (starch-removing enzyme) and pectinase (wax-eliminating enzyme) activities that can function under similar pH and temperature range. One-step process for desizing and scouring of cotton fabric could be established using only ‘ENZease’, making large scale operations more simple and cost effective.

ENZease was co-developed by a researchers from the National Center for Genetic Engineering and Biotechnology (BIOTEC) and the National Metal and Materials Technology Center (MTEC) in partnership with Thanapaisal, a local textile company. The enzyme was tested in starch (desizing) and wax removing (scouring) process of cotton fabric in one-step. The result is satisfactory as enzyme-treated fabrics demonstrated superior properties which are lower amount of remaining starch, higher wettability and softer touch compared to that of chemical-treated fabric, meeting quality standard set by the factory.

The technology has been transferred to Asia Star Trade Co., Ltd (AST) for commercial-scale production of ENZease. The enzyme product has been delivered to targeted customers including textile companies and community enterprise to be used in their textile preparation processes.

The awards was initiated in 2000 and have been given annually by the Foundation for the Promotion of Science and Technology under the Patronage of His Majesty the King. Each winner receives a shield of honor presented by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn.