นักวิจัยไบโอเทค ได้รับรางวัลทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2561

ดร.วิรัลดา ภูตะคาม หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยจีโนม หน่วยวิจัยเทคโนโลยีจีโนม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. ได้รับทุนจากโครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ประจำปี 2561 (L’OREAL For Women in Science 2018) สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life sciences) จากผลงานวิจัยเรื่อง “การศึกษากระบวนการตอบสนองของปะการังต่อการเพิ่มอุณหภูมิของน้ำทะเลและการประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของปะการังในน่านน้ำไทยเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศใต้ท้องทะเลอย่างยั่งยืน” ซึ่งนับนักวิจัยหญิงคนที่ 11 ของไบโอเทคที่ได้รับรางวัลนี้ โดยพิธีมอบทุนรางวัลจัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2561 ณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ

ดร.วิรัลดา และคณะวิจัย ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีทางจีโนมิกส์และทรานสคริปโตมิกส์เข้ามาช่วยตอบโจทย์แนวปะการังฟอกขาวในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน อันเนื่องมาจากการเพิ่มอุณหภูมิของน้ำทะเล โดยใช้เทคโนโลยี Pacific Biosciences (PacBio) sequencing ซึ่งอ่านลำดับเบสได้ยาวและถูกต้องแม่นยำ ในการค้นหาข้อมูลลำดับเบส 16S rRNA และ internal transcribed spacer sequence (ITS) ซึ่งเป็นลำดับเบสมาตรฐานที่ใช้เปรียบเทียบความหลากหลายทางพันธุกรรมของปะการังและ coral-associated bacteria วิธีนี้ดีกว่าการประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมแบบดั้งเดิมซึ่งเป็นวิธีที่ช้า ให้ผลไม่ค่อยแม่นยำและทำซ้ำได้ยากอีกด้วย

ดร.วิรัลดา และคณะวิจัย เป็นกลุ่มนักวิจัยแรกๆ ของโลกที่เริ่มศึกษาบทบาทของจุลินทรีย์ที่อาศัยร่วมกับปะการังต่อการอยู่รอดของปะการังในช่วงที่อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น ข้อมูลความหลากหลายทางพันธุกรรมของปะการังและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่กับปะการังสามารถใช้ประเมินโอกาสการอยู่รอดของปะการังแต่ละสปีชีส์ได้เมื่อสภาวะแวดล้อมเกิดการแปรปรวนในอนาคต นอกจากนี้ยังได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนในปะการังเมื่ออุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น เพื่อค้นหาเครื่องหมายโมเลกุลแบบสนิปสำหรับใช้ในการคัดเลือกปะการังโคโลนีที่ทนต่อการเพิ่มอุณหภูมิของน้ำทะเล ซึ่งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งสามารถนำไปใช้คัดเลือกปะการังโคโลนีที่ทนร้อน (ไม่แสดงอาการฟอกขาวหรือฟอกขาวน้อย) เพื่อทำการขยายกิ่งพันธุ์ปะการังก่อนทำการย้ายปลูกกลับทะเล ภายใต้โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูแนวปะการังของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

โครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” หรือ For Women in Science จัดขึ้นโดย บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด จากการสนับสนุนของสำนักเลขาธิการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 16 ในประเทศไทย โดยจะมอบทุนวิจัยทันละ 250,000 บาท ให้กับนักวิจัยหญิงรุ่นใหม่ที่มีอายุระหว่าง 25-40 ปี เพื่อผลักดันนักวิจัยสตรีของไทยให้เดินหน้าสร้างผลงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปัจจุบันทุนวิจัย ลอรีอัลฯ มอบทุนวิจัยแก่นักวิทยาศาสตร์สตรีรวมแล้วทั้งสิ้น 69 ท่าน โดยมีนักวิจัยหญิงไบโอเทคที่เคยได้รับทุนสนับสนุนวิจัยดังกล่าวมาแล้วจำนวน มี 11 ท่าน ได้แก่ ดร.อุบลศรี เลิศสกุลพานิช (2546) นางวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย (2548) ดร.ลิลี่ เอื้อวิไลจิตร (2549) ดร.กัลยาณ์ แดงติ๊บ (2550) ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง (2551) ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริ (2552) ดร แสงจันทร์ เสนาปิน (2554) ดร.ศันสนีย น้อยสคราญ (2555) ดร.จิตติมา พิริยะพงศา (2556) ดร.ธริดาพร บัวเจริญ (2556) และ ดร.วิรัลดา ภูตะคาม (2561) ตามลำดับ

BIOTEC scientist awarded the L’Oréal Thailand “For Women in Science” Fellowship 2018

BIOTEC’s researcher is once again honored with the L’Oreal-UNESCO For Women in Science awards by L’Oreal (Thailand) for her extraordinary work contributing to the sustainable development of the country.

Dr. Wirulda Pootakham, Head of Genomic Research Lab, is the latest recipient of the L’Oreal-UNESCO For Women in Science Award 2018 in the field of Life Sciences. Her work entitled “The elucidation of thermal stress response and the assessment of genetic diversity of corals in Thai waters” seeks to make an impact in sustainable marine ecosystem conservation and restoration.

Coral reefs are one of the most diverse ecosystems on earth, supporting biodiversity and serving as habitats to millions of marine species. Unfortunately, the devastating effect of rising seawater temperature due to global warming causes severe bleaching of coral reefs around the world. Even a slight elevation in ocean temperature (1-2 degrees Celsius) can cause a massive bleaching event, resulting in the death of the coral reefs which has catastrophic impact on marine ecosystems. The elucidation of thermal stress response and the assessment of genetic diversity in corals and their associated symbionts will lead to a discovery beneficial to future coral conservation and restoration programs. To evaluate the degree of genetic diversity in corals, Dr. Pootakham led the team to sequence DNA barcodes (internal transcribed spacer; ITS) from the collected samples from various locations in the Gulf of Thailand and Andaman Sea. These DNA barcodes were subsequently used to assess the level of coral genetic diversity. In addition, the differences in gene expression between heat-tolerant and heat-sensitive coral colonies during thermal stress were compared. Basic knowledge obtained from these studies will be valuable in predicting the survival rate of coral reefs in Thai waters as they encounter fluctuating environments in the future. Molecular markers associated with heat tolerance can be used by the Department of Marine and Coastal Resources to select heat-tolerant colonies and propagate them for coral reef restoration programs, which is part of a larger sustainable marine ecosystem conservation and restoration effort.

In Thailand, the fellowships were established in 1997 by L’Oreal and UNESCO. Every year the program offers a THB 250,000 grant to each selected researcher aged between 25-40 years across two categories, Life Sciences and Physical Sciences.

Dr. Pootakham becomes the 11th BIOTEC researcher selected for this prestigious award. Her predecessors include Dr. Ubolsree Leartsakulpanich, Mrs. Wansika Kiatpathomchai, Dr. Lily Eurwilaichitr, Dr. Kallaya Dangtip, Dr. Kobkul Laoteng, Dr. Nitsara Karoonuthaisiri, Dr. Saengchan Senapin, Dr. Sansanee Noisakran, Dr. Jittima Piriyapongsa and Dr. Taridaporn Buajarern who were honored in 2003, 2005, 2006, 2007, 2008, 2009, 2011, 2012 and 2013 respectively. In addition, Dr. Chawanee Thongpanchang, was named UNESCO-L’ORÉAL International Fellow in 2007.