ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ นักวิจัยไบโอเทค สวทช. ได้รับรางวัลทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2562

ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีเอนไซม์ กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์ นักวิจัยหญิงคนที่ 12 ของไบโอเทค ที่ได้รับทุนจากโครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ประจำปี 2562 (L’OREAL For Women in Science 2019) สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life sciences) จากผลงานวิจัยเรื่อง “เอนอีช (ENZease): เอนไซม์อัจฉริยะทูอินวันสำหรับกระบวนการผลิตสิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”

อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีกระบวนการผลิตที่ใช้สารเคมีและพลังงานสูง ซึ่งก่อให้เกิดมลภาวะและปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสิ่งทอที่ลดการใช้สารเคมี ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ ‘เทคโนโลยีเอนไซม์’ จึงเป็นที่ต้องการและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ ดร.ธิดารัตน์ ฯ และคณะวิจัย จึงได้มุ่งหน้าคิดค้นเทคโนโลยีเอนไซม์จากเชื้อจุลินทรีย์ผ่านกระบวนการที่ซับซ้อน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเอนไซม์ที่มี ศักยภาพสูง และนำไปสู่การพัฒนาเอนไซม์สัญชาติไทยที่สามารถนำไปใช้ทดแทนการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตผ้าฝ้ายในอุตสาหกรรมสิ่งทอได้ โดย เอนอีซ (ENZease) เอนไซม์อัจฉริยะทูอินวันสำหรับกระบวนการผลิตสิ่งทอที่สามารถลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกได้พร้อมกันในขั้นตอนเดียว โดยสูตรเอนไซม์ที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถทดแทนการใช้สารเคมีได้ โดยใช้ปริมาณน้ำ เวลา และอุณหภูมิ น้อยกว่kกระบวนการผลิตผ้าแบบเดิมถึง 2 เท่า ช่วยลดต้นทุนการผลิตผ้าฝ้ายให้น้อยลง ผ้าฝ้ายที่ได้ยังมีคุณภาพดีกว่าทั้งด้านความแข็งแรง การย้อมติดสี สามารถนำเข้าสู่กระบวนการย้อมสีและพิมพ์ลายเพื่อนำไปตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเอนอีซที่คิดค้นได้โดยทีมวิจัยนี้ยังสามารถเข้ามาช่วยยกระดับคุณภาพของผ้าไทยทั้งในระดับอุตสาหกรรมและสิ่งทอพื้นเมืองและเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบเชิงบวกทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสังคม เศรษฐกิจ และชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน โดยเฉพาะประชาชนชาวไทย อย่างมหาศาลต่อไปในอนาคต

เอนอีชเป็นผลงานวิจัยร่วมระหว่างไบโอเทค เอ็มเทค และ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ธนไพศาล ปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตเอนไซม์เอนอีชได้ถูกถ่ายทอดให้กับผู้ผลิตเอนไซม์ในประเทศไทย เพื่อทำการผลิตในเชิงพาณิชย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการขยายฐานลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้น หากมีการพัฒนาและส่งเสริมให้อุตสาหกรรมสิ่งทอไทยและทั่วโลกได้รู้จักและมีการนำเอนไซม์เอนอีชเข้าไปใช้อย่างจริงจังก็จะนำไปสู่การพัฒนากระบวนการผลิตผ้าฝ้ายในอุตสาหกรรมสิ่งทอที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

โครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” หรือ For Women in Science จัดขึ้นโดย บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด จากการสนับสนุนของสำนักเลขาธิการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 17 ในประเทศไทย โดยจะมอบทุนวิจัยทันละ 250,000 บาท ให้กับนักวิจัยหญิงรุ่นใหม่ที่มีอายุระหว่าง 25-40 ปี เพื่อผลักดันนักวิจัยสตรีของไทยให้เดินหน้าสร้างผลงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

BIOTEC Researcher is once again awarded the L’Oréal Thailand’s “For Women in Science 2019”

This year, Dr. Thidarat Nimchua, BIOTEC Senior Researcher and Team Leader of Enzyme Technology, Biorefinery and Bioproduct Technology Research Group, is honored with the L’Oréal-UNESCO For Women in Science Awards by L’Oréal (Thailand) for her extraordinary work: “ENZease: Dual-activity Enzyme for One-step Biodesizing and Bioscouring Process of Cotton Fabrics.” The work revolves around the development of full spectrum enzyme technology and utilization of enzyme produced by microorganisms in textile industry.

Conventionally, the preparation process to produce cotton-based textiles involves desizing of starches that is applied to the yarn during weaving and scouring in order to remove natural impurities such as pectin and waxy materials. . The highly polluting industrial process causes severe environmental pollution owing to the use of toxic chemicals and dyes and large amount of energy consumption. Dr. Nimchua introduces ENZease, the “2-in-1” enzyme, which is developed and optimized for a fast, integrated enzyme-based pretreatment process, combining desizing and scouring steps into a single step for cotton fabric. ENZease is developed using series of cutting edge technologies, including high-throughput screening and identification of high-potential microbes that are capable of producing target enzymes, and enzyme production technology including fermentation, downstream and formulation in order to obtain a fast and eco-textile manufacturing process. The “2-in-1” enzyme provides amylase (the enzyme that can hydrolyses starch) and pectinase (the enzyme that can remove pectin and waxes), which are able to operate at the same pH and temperature range. With the use of ‘ENZease’, one-step process for desizing and scouring of cotton fabric could be established, making large scale operations simpler and cost-effective.

The L’Oréal-UNESCO For Women in Science Awards are yearly presented to women in recognition of their scientific accomplishment and their remarkable commitment to make a difference in a field that still largely dominated by men. In Thailand, the L’Oréal ‘For Women in Science’ fellowship program established since 2002 offering a 250,000 baht grant to each of the selected Thai female researchers aged between 25-40 years across two categories: Life Science and Physical Science. Dr. Nimchua is among five outstanding Thai female scientists whose research works benefit communities, society, the environment, and the country.

Dr. Nimchua becomes the 12th BIOTEC researcher selected for this prestigious award. Her predecessors include Dr. Ubolsree Leartsakulpanich, Mrs. Wansika Kiatpathomchai, Dr. Lily Eurwilaichitr, Dr. Kallaya Dangtip, Dr. Kobkul Laoteng, Dr. Nitsara Karoonuthaisiri, Dr. Saengchan Senapin, Dr. Sansanee Noisakran, Dr. Jittima Piriyapongsa, Dr. Taridaporn Buajarern and Dr. Wirulda Pootakham who were honored in 2003, 2005, 2006, 2007, 2008, 2009, 2011, 2012, 2013 and 2018 respectively. In addition, Dr. Chawanee Thongpanchang, was named UNESCO-L’ORÉAL International Fellow in 2007.