หนังสือคู่มือโควิด-19

คู่มือโควิด-19
ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์
ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เอกสารนี้ทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19
สามารถเผยแพร่ได้ในวงกว้างโดยไม่ต้องขออนุญาต
*** ขอสงวนสิทธิ์ห้ามนำไปตีพิมพ์เพื่อจัดจำหน่ายทางการค้า ***
เผยแพร่ครั้งแรก มกราคม 2564
Disclaimer: ข้อมูลในเอกสารนี้ได้จากการประมวลข้อมูลจากหลายแหล่งอ้างอิง โดยหลักมาจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC, Centers for Disease Control and Prevention) ประเทศสหรัฐอเมริกา, องค์การอนามัยโลก (WHO, World Health Organization), เว็บไซต์ด้านวิชาการ เช่น วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ และสื่อสารมวลชนที่มีระดับความน่าเชื่อถือสูง ทั้งนี้ สำหรับข้อมูลการปฏิบัติตนบางอย่างที่แตกต่างออกไป ให้ถือปฏิบัติตามประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.)
สวทช.-ฝล. ลงนามบันทึกความเข้าใจด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดัดแปรสภาพอากาศ
(25 มกราคม 2564) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ลงนามบันทึกความเข้าใจด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดัดแปรสภาพอากาศ ในรูปแบบเสมือนจริง (Virtual MOU Signing Ceremony) ผ่านระบบ Zoom กับกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีนายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร, ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. และ ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำนวยการนาโนเทค ร่วมลงนาม
นวัตกรรมแผ่นกรองอากาศต้านรา-แบคทีเรีย นาโนเทค สวทช. ตอบโจทย์มลภาวะทางอากาศ
นาโนเทค สวทช. ชูเทคโนโลยีการเคลือบนาโน สู่การประยุกต์เป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ตอบความต้องการใช้งานในสถานการณ์ปัจจุบัน อย่างแผ่นกรองอากาศสำหรับรถยนต์ต้านเชื้อรา-แบคทีเรีย ผลงานจากโจทย์เอกชนอย่าง “เอเทค ฟิลเตรชั่น” ชูความพร้อมรับมือวิกฤตด้วยนวัตกรรมไทย เตรียมเปิดตลาดรับปี ’64
สวทช. ร่วมกับ บ.แพคฯ ส่งมอบนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ป้องกันโควิค-19
วันที่ 22 มกราคม 2564 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) พร้อมด้วย บริษัท แพค คอร์เปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมส่งมอบนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ป้องกันโควิด-19 ให้กับโรงพยาบาลระยอง และหอการค้าจังหวัดระยอง
โดยมี นางกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. นักวิจัยและผู้บริหารบริษัท แพคฯ ร่วมส่งมอบนวัตกรรม อาทิ หน้ากากอนามัยประสิทธิภาพสูงเซฟีพลัส (Safie Plus) จำนวน 10,000 ชิ้น วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. โดยผลิตจากบริษัทเอกชน ซึ่งได้รับรองมาตรฐานการผลิตตามมาตรฐาน ISO 13485 และน้ำยาทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ (PAC Klean) จำนวน 600 ลิตร ร่วมวิจัยพัฒนากับ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ซึ่งสามารถนำไปฉีดพ่นเครื่องปรับอากาศ หวังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ชำระล้างสิ่งสกปรก คราบไขมัน โดยที่ไม่กัดกร่อนทำลายแผงคอยล์เย็น รวมถึงนวัตกรรมเครื่องแลกเปลี่ยนอากาศ (PAC EneRVent) จะช่วยเพิ่มอากาศบริสุทธิ์ โดยอาศัยหลักการดูดอากาศจากภายนอกเข้ามาผ่านแผ่นกรองในเครื่อง และสามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5
ทั้งนี้ สวทช. และพันธมิตรหวังให้นวัตกรรมและผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ช่วยปกป้องและเป็นขวัญกำลังใจให้กับทีมบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลและผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาให้ปลอดภัยและห่างไกลโรคโควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในเวลานี้
สวทช. ผนึกกำลัง จับมือพันธมิตร 3 หน่วยงาน สร้างความสามารถในการดำเนินการด้านระบบบริหารการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม (RDIMS) สำหรับผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
20 มกราคม 2564 - ณ สวทช. : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.), สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ (สรอ.) และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (สพช.) ในการผลักดันและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้มีการประยุกต์ใช้ รวมถึงได้รับการตรวจประเมินและรับรองความสอดคล้องตามข้อกำหนดระบบบริหารการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Research, Technology Development and Innovation Management System : RDIMS) โดย สวทช. วว. และ สรอ. จะทำหน้าที่ตรวจประเมินและรับรองมาตรฐานระบบ RDIMS ตามข้อกำหนดที่พัฒนาขึ้น ส่วน สพช. จะทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำการจัดให้มีมาตรฐานดังกล่าว
ซึ่งจะเป็นการช่วยพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัยฯ ของผู้ประกอบการเอกชน โดยเฉพาะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้เป็นไปอย่างมีระบบและมีความต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งนี้ กิจการที่ผ่านการรับรองมาตรฐานระบบ RDIMS ยังจะสามารถยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการยกเว้นภาษี สำหรับรายจ่ายการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม ด้วยวิธีการ Self-Declaration ได้อีกด้วย
สวทช. จับมือ สมาคม ATCI และ บริษัท บูโร เวอริทัส ประเทศไทย เตรียมพร้อม Up Skill ผู้ประกอบการ รองรับ Personal Data Protection Act (PDPA)
ณ อาคารซอฟต์แวร์พาร์ค : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ฝ่ายบริหารเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (Software Park Thailand) ภายใต้ ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) ได้มีความร่วมมือกับสมาคมอุตสาหกรรมซอฟแวร์ไทย (ATCI) และ บริษัท บูโร เวอริทัส ประเทศไทย จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการการจัดการอบรมหลักสูตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพ.ศ. 2562 หรือ Personal Data Protection Act (PDPA) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 27 พ.ค. 2564 โดยอาจจะส่งผลกระทบต่อหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล และให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงความสำคัญของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว และสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงการทำงานขององค์กรให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด
ทั้งนี้ นางสุวิภา วรรณสาธพ รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี ด้านอุทยานวิทยาศาสตร์ (สวทช.) พร้อมกับ นายพิชิต วิวัฒน์รุจิราพงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI) และ นายอุดมเดช คงทวีเลิศ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บูโร เวอริทัส (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมลงนามในครั้งนี้
จดหมายข่าว สวทช. ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
ข่าว
- ซอฟต์แวร์พาร์ค สวทช. หนุนผู้ประกอบการในพื้นที่ EEC เสริมความรู้ด้าน Digital Transformation
- สวทช. ชวนผู้ประกอบการร่วมงาน Thailand Tech Show 2020 พร้อมลงทุน 2-4 ธ.ค. 63
- 10 Technologies to Watch 2020 -10 เทคโนโลยีพลิกโฉมธุรกิจ-ชีวิตวิถีใหม่เทรนด์เทคโนโลยีอีก 3-5 ปี
- ‘ไฮบริดชัวร์’ คว้าผลงานวิจัยที่น่าลงทุนที่สุดในงาน THAILAND TECH SHOW 2020
- DITP และ สวทช. จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ“เพิ่มโอกาสการส่งออกต่างประเทศด้วย DITP Business AI”
- สวทช. จับมือ 3 พันธมิตรสร้างฐานข้อมูลสมุนไพร หนุนเอกชนใช้งานด้านเครื่องสำอาง
- สวทช. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การใช้งานบอร์ด KidBright ขั้นพื้นฐาน รุ่นที่ 2”
- สวทช. ยกทัพผลงานเยาวชนสู่กิจกรรม “วัยใสปล่อยพลัง ปังสุดใจ” ในงาน “วันพ่อแห่งชาติ”
- สวทช. เปิดตัว 3 นักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2563 สนับสนุนและสร้างเครือข่ายวิจัยด้านการแพทย์และอาหาร
- นาโนเทค สวทช. จับมือ 8 พันธมิตร หนุน “มาตรฐาน-ความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยี” ในภาคอุตสาหกรรม
- พิธีลงนามความร่วมมือระหว่าง สวทช. และ มหาวิทยาลัยบูรพา
- เฮลทิเนส จับมือ สวทช. และองค์กรวิจัยชั้นนำ ปั้น “Besuto 12” เจลไร้แอลกอฮอล์ ฆ่าเชื้อโควิด-19
- สตง. นำร่อง ปี 64 ถึงทีบอกลา “กระดาษ”
- DDC-Care ระบบติดตามและประเมินผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คว้านวัตกรรมเด่นรับมือวิกฤติโควิด-19 จากกระทรวง อว.
- งานวิจัยชุดตรวจโควิดของไทยร่วมแข่งขันระดับโลก มุ่งสู่การขยายผลไปใช้ทั่วโลก
- ทีมวิจัย ม.เกษตรฯ เผยผลศึกษาวิจัยพื้นที่ทุ่งหญ้าศักยภาพพบสัตว์กีบ กระทิง-กวาง-หมูป่า
บทความ
ประกาศรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมสำหรับโครงการ NCD Digital HealthTech Platforms
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ขอเชิญผู้ประกอบการและนวัตกร ด้านดิจิทัลที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์เกี่ยวข้องกับโรค NCD หรือ non-communicable diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
โดยเปิดรับสมัคร ผู้ประกอบการและนวัตกร ด้านดิจิทัลที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์เกี่ยวข้องกับโรค NCD เข้าร่วม โครงการพัฒนานวัตกรรมการแพทย์ดิจิทัลเพื่อต่อสู้กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) สู่ระบบสาธารณสุขไทยเพื่อความยั่งยืนทางด้านสุขภาพ เพื่อคว้าเงินสนับสนุนสูงสุด 280,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) เข้าร่วมกิจกรรม Acceleration Program ขยายผลเชิงพาณิชย์สู่สถานพยาบาลหรือองค์กรในระบบสาธารณสุข เพื่อสร้างความร่วมมือการสนับสนุน ผลักดันผลงานนวัตกรรมด้านดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) รวมถึงโอกาสในการขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เพียงคุณมีนวัตกรรมและเทคโนโลยี ตอบโจทย์ด้านนวัตกรรมการแพทย์ดิจิทัลสำหรับการรักษา ช่วยเหลือป้องกันเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ที่ TRL มากกว่าหรือเท่ากับ 4 ขึ้นไป รวมถึงมีแผนในการต่อยอดนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การใช้งานจริง และขยายผลเชิงพาณิชย์สู่สถานพยาบาลในระบบสาธารณสุขไทย
โปรดอย่าช้า !!! รับสมัครจำนวนจำกัด เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 31 มกราคม 2564
ผู้สนใจสมัครกรอกแบบฟอร์มรับสมัครได้ที่ https://forms.gle/ifuuSoW9iuMWexQJ7 "ทางอวท. จะแจ้งผู้ที่มีคุณสมบัติผ่านการคัดเลือกเพื่อนำเสนอโครงการผ่านออนไลน์และจะแจ้งผลให้ทราบ ภายใน 28 ก.พ. 64" สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อโทรศัพท์ 086 373 4271 (คุณกานต์ธิดาพร), 089 456 2440 (คุณวัชรี) หรือ สมัครได้ทาง Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.