Skip to content
NSTDA SPACE Education

NSTDA SPACE Education

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ และสะเต็มสำหรับเยาวชนไทย โดย สวทช.

  • Home
  • About Us
  • Asian Try Zero-G
  • Kibo-RPC
  • AHiS
  • Space Ratchaphruek Tree
  • Parabolic Flight
  • Articles
  • Alumni
  • Contact us
  • Home
  • News & Articles
  • ดาวเทียม Maya-3 และ Maya-4 ผลงานการสร้างโดยนักศึกษาฟิลิปปินส์ ถึงสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) แล้ว
  • News & Articles

ดาวเทียม Maya-3 และ Maya-4 ผลงานการสร้างโดยนักศึกษาฟิลิปปินส์ ถึงสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) แล้ว

NSTDA SPACE Education 07/09/2021

          เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมาดาวเทียมประเภทคิวบ์แซท (CubeSat) สองดวงของประเทศฟิลิปปินส์ คือ ดาวเทียม MAYA-3 และ MAYA-4 ซึ่งพัฒนาโดยนักศึกษาของมหาวิทยาลัยในประเทศฟิลิปปินส์ ได้ถูกส่งขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) โดยจรวด Falcon 9 ของบริษัท SpaceX และเป็นส่วนหนึ่งของ SpaceX CRS-23 (SpX-23) ในภารกิจการให้บริการเชิงพาณิชย์สำหรับสถานีอวกาศนานาชาติ

          ดาวเทียม MAYA-3 และ MAYA-4 โดยการสนับสนุนของกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฟิลิปปินส์ (DOST) นับว่าเป็นความสำเร็จครั้งแรกของโครงการอวกาศฟิลิปปินส์ เพราะเป็นดาวเทียมดวงแรกที่สร้างขึ้นเองทั้งหมดภายในประเทศ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เริ่มพัฒนาและสร้างดาวเทียมในประเทศญี่ปุ่น จำนวน 4 ดวง โดยมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยโทโฮคุ และมหาวิทยาลัยฮอกไกโด ในการสร้างดาวเทียม Diwata-1 (ปล่อยเดือน มี.ค. 2559) และ Diwata-2 (ปล่อยเดือน ต.ค. 2561) ส่วนดาวเทียม MAYA-1 (ปล่อยเดือน มิ.ย. 2561) และ MAYA-2 (ปล่อยเดือน มี.ค. 2564) ได้ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีคิวชู

          ดาวเทียม MAYA-3 และ MAYA-4 มีรูปทรง 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1.15 กิโลกรัม ได้รับการออกแบบเพื่อแสดงระบบการรวบรวมข้อมูลระยะไกลที่ใช้นาโนแซทเทลไลท์และการภาพแบบออฟติคคอล เมื่อดาวเทียมถูกปล่อยออกจากสถานีอวกาศนานาชาติ ก็จะเคลื่อนที่ไปตามวงโคจรที่คล้ายกับสถานีอวกาศ ซึ่งอยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 400 กิโลเมตร

          ดาวเทียมทั้ง 2 ดวงนี้ พัฒนาโดยทีมวิศวกร จำนวน 8 คน ที่เป็นนักศึกษาของฟิลิปปินส์ภายใต้โปรแกรม Space Science and Technology Proliferation through University Partnerships (STeP-UP) ซึ่งเริ่มต้นโครงการเมื่อเดือนมกราคม 2562 จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์และส่งถึงองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ JAXA เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2564 และปล่อยสู่สถานีอวกาศนานาชาติในวันที่ 29 สิงหาคม 2564

          จากความสำเร็จในการสร้างดาวเทียม Maya-3 และ Maya-4 ขึ้นเองภายในประเทศ ช่วยทำให้ทางฟิลิปปินส์มั่นใจว่า ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากความพยายามครั้งนี้ สามารถแบ่งปัน รวมถึงสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานและสถาบันการศึกษาภายในประเทศฟิลิปปินส์ ได้มีความร่วมมือกันพัฒนาดาวเทียมขึ้นใช้เองภายในประเทศได้


ข้อมูลจาก:
https://bit.ly/3BMOXAt
shorturl.at/tFSWY

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related

Tags: cubesat MAYA-3 MAYA-4 ดาวเทียม ดาวเทียมขนาดเล็ก

Continue Reading

Previous: ปากกาอวกาศ ดินสอ และวิธีที่นักบินอวกาศของนาซาใช้จดบันทึกในอวกาศ
Next: ยานสำรวจเพอร์เซเวียแรนส์ (Perseverance) เผยภาพหินตัวอย่างบนดาวอังคารบรรจุในหลอดเก็บตัวอย่าง

Related Stories

ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ
  • Kibo-RPC
  • News & Articles

ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ

13/07/2023
กิจกรรม International Space Challenge 2024
  • News & Articles

กิจกรรม International Space Challenge 2024

09/05/2023
สัมมนาวิชาการและส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศ ภายในงาน NAC 2023
  • News & Articles
  • ราชพฤกษ์อวกาศ

สัมมนาวิชาการและส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศ ภายในงาน NAC 2023

31/03/2023

You may have missed

ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ
  • Kibo-RPC
  • News & Articles

ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ

13/07/2023
ผลคะแนน The 4th Kibo-Robot Programming Challenge รอบชิงแชมป์ประเทศไทย
  • Kibo-RPC

ผลคะแนน The 4th Kibo-Robot Programming Challenge รอบชิงแชมป์ประเทศไทย

12/07/2023
กิจกรรม International Space Challenge 2024
  • News & Articles

กิจกรรม International Space Challenge 2024

09/05/2023
รายชื่อผู้สมัครโครงการ Asian Try Zero-G 2023
  • Asian Try Zero-G

รายชื่อผู้สมัครโครงการ Asian Try Zero-G 2023

02/05/2023
NSTDA SPACE Education Copyright © All rights reserved. | DarkNews by AF themes.