Skip to content
NSTDA SPACE Education

NSTDA SPACE Education

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ และสะเต็มสำหรับเยาวชนไทย โดย สวทช.

  • Home
  • About Us
  • Asian Try Zero-G
  • Kibo-RPC
  • AHiS
  • Space Ratchaphruek Tree
  • Parabolic Flight
  • Articles
  • Alumni
  • Contact us
  • Home
  • News & Articles
  • ดาวเทียม BepiColombo บินผ่านใกล้ดาวพุธครั้งแรก
  • News & Articles

ดาวเทียม BepiColombo บินผ่านใกล้ดาวพุธครั้งแรก

NSTDA SPACE Education 03/10/2021
          ภารกิจ BepiColombo (เบพิโคลอมโบ) ซึ่งเป็นโครงการร่วมกันระหว่างองค์การอวกาศยุโรป (ESA) และองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) สามารถถ่ายภาพดาวพุธได้ในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เมื่อเวลา 06.34 น. ตามเวลาในประเทศไทย โดยใช้แรงโน้มถ่วงของดาวพุธ ดึงการเคลื่อนตัวของยานให้ช้าลง และเข้าสู่ระดับความสูงไม่ถึง 200 กิโลเมตรจากพื้นผิว ก่อนจะทำการบันทึกภาพขาวดำ ส่งมายังศูนย์ควบคุมภารกิจบนพื้นโลก ขององค์การอวกาศยุโรป ในเมืองดาร์มสตัทช์ (Darmstadt) ประเทศเยอรมนี
 
          ครั้งนี้เป็นการบินผ่านใกล้ดาวพุธเป็นครั้งแรก จากจำนวนทั้งหมด 6 ครั้ง ตามแผนที่กำหนดไว้ โดยภาพชุดแรกที่ส่งมาจากยานเบพิโคลอมโบ แสดงให้เห็นขั้วเหนือของดาวพุธ และภูมิประเทศพื้นผิวลักษณะคล้ายแผลฝีดาษ รวมถึงแอ่งเลอร์มอนตอฟ (Lermontov crater) ขนาดความกว้าง 166 กิโลเมตร
 
          โครงการ BepiColombo เป็นโครงการสำรวจดาวพุธ (Mercury Exploration) ที่ได้รับการออกแบบและควบคุมการปฏิบัติภารกิจในความร่วมมือกันระหว่าง ESA และJAXA ซึ่งประกอบด้วยดาวเทียม จำนวน 2 ดวง คือ ดาวเทียม Mercury Planetary Orbiter (MPO) ที่สร้างขึ้นโดย ESA และดาวเทียม Mercury Magnetospheric Orbiter (MMO) ที่สร้างขึ้นโดย JAXA
 
          โครงการ BepiColombo มีภารกิจในการสำรวจพื้นผิว ชั้นบรรยากาศ สนามแม่เหล็กของดาวพุธ และพิสูจน์ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ (Einstein’s Theory of General Relativity)
  • FacebookFacebook
  • XX
  • LINELine

Related

Tags: Bepicolombo JAXA ดาวพุธ ดาวเทียม สำรวจดาวพุธ เบพิโคลอมโบ

Continue Reading

Previous: ความก้าวหน้าครั้งสำคัญของอาหารแห้งแบบแช่เยือกแข็งในอวกาศ
Next: ทีม Indentation Error คว้าแชมป์เอเชีย โครงการ The 2nd Kibo Robot Programming Challenge

Related Stories

ทีม Astronut คว้ารางวัลชนะเลิศ The 5th Kibo Robot Programming Challenge
  • Kibo-RPC
  • News & Articles

ทีม Astronut คว้ารางวัลชนะเลิศ The 5th Kibo Robot Programming Challenge

03/07/2024
ทีมกาแล็กติก 4 คว้าอันดับ 3 รอบชิงแชมป์นานาชาติ โครงการ Kibo-RPC ครั้งที่ 4
  • News & Articles

ทีมกาแล็กติก 4 คว้าอันดับ 3 รอบชิงแชมป์นานาชาติ โครงการ Kibo-RPC ครั้งที่ 4

30/10/2023
ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ
  • Kibo-RPC
  • News & Articles

ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ

13/07/2023

You may have missed

เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์ทีม Astronut แชมป์นานาชาติ The 5th Kibo-RPC
  • Kibo-RPC

เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์ทีม Astronut แชมป์นานาชาติ The 5th Kibo-RPC

17/04/2025
JAXA ประกาศเลือก 2 การทดลองเยาวชนไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ
  • Asian Try Zero-G

JAXA ประกาศเลือก 2 การทดลองเยาวชนไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ

16/04/2025
รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ The 6th Kibo-RPC
  • Kibo-RPC

รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ The 6th Kibo-RPC

14/04/2025
โครงการ The 6th Kibo Robot Programming Challenge
  • Kibo-RPC

โครงการ The 6th Kibo Robot Programming Challenge

04/03/2025
NSTDA SPACE Education Copyright © All rights reserved. | DarkNews by AF themes.
เว็บไซต์นี้ใช้งานคุกกี้ ในการใช้งานสามารถใช้งานเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เว็บไซต์นี้จะมีเก็บค่าคุกกี้ เพื่อให้การใช้งานเว็บไซต์ของท่านเป็นไปอย่างความราบรื่นและเป็นส่วนตัวมากขึ้น จึงขอให้ท่านรับรองว่าท่านได้อ่านและทำความเข้าใจนโยบายการใช้งานคุกกี้AcceptPrivacy policy