การปลูกไผ่เศรษฐกิจ โดยบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

ผ่านกันไปแล้วอีกหนึ่งวันสำหรับการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 18 (NAC2023)  เราจึงอยากจะเล่าถึงสัมนาหัวข้อหนึ่งที่ได้รับความนิยมเกินกว่าที่ทางผู้จัดคาดไว้มากสำหรับหัวข้อ “การปลูกไผ่เศรษฐกิจ โดยบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม” ที่จัดขึ้นในช่วงเช้าของวันพุธที่ 29 มีนาคม 2566

เริ่มจากการกล่าวเปิดโดยคุณรังสิมา ตัณฑเลขา ผู้อำนวยการโปรแกรมอนุรักษ์และบริหารการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ สวทช. ในการกล่าวถึงที่มาของการเริ่มโครงการพัฒนาสายพันธุ์ไผ่รวมถึงผลักดันให้เป็นพืชเศรษฐกิจโดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง 

จากนั้นจึงเป็นการบรรยายในหัวข้อชนิดไผ่ในประเทศไทยโดย รศ.ดร.สราวุธ สังข์แก้ว จากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คลังข้อมูลพันธุกรรมของไผ่และการใช้ประโยชน์โดย ดร.วิรัลดา ภูตะคาม หัวหน้าทีมวิจัยโอมิกส์ ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ, การขยายต้นพันธุ์ไผ่ เพื่อส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่โดย ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการปลูกไผ่แบบมีส่วนร่วมโดยคุณอุไรพรรณ ปรางอุดมทรัพย์ จากสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ตามลำดับ

ซึ่งใน section การถามตอบนั้นก็มีผู้ให้ความสนใจทั้งในเรื่องการคัดเลือกชนิดพันธุ์ไผ่, การวางแผนปลูกไผ่เป็นพืชเศรษฐกิจ, การสร้างจีโนมอ้างอิงของสายพันธุ์ไผ่ในประเทศไทย, การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโอมิกส์ในด้านต่างๆทั้งการสร้างเครื่องหมายพันธุกรรมในไผ่และการทำ gene editing

Share:

Facebook
Twitter