NAC 2017 Logo MOST NSTDA Registration
 

หัวข้อสัมมนาวิชาการ

 

การขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางธุรกิจการผลิตเมล็ดพันธุ์ในระดับอาเซียน
Challenges on Moving Thailand to Become the Center of Seed Production in Asian


วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 09.00 – 16.30 น.
ห้องประชุม 113 ไบโอเทคออดิทอเรียม ชั้น 1 อาคารไบโอเทค (BIOTEC) อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย


 
          เมล็ดพันธุ์ที่ตรงตามพันธุ์และมีคุณภาพดี เป็นรากฐานสำคัญสำหรับการผลิตพืชที่ให้ผลผลิตที่มีทั้งผลิตภาพ และคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค  การผลิตเมล็ดพันธุ์ เพื่อใช้เพาะปลูกในประเทศ  และการผลิตพันธุ์เพื่อการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกของประเทศไทย มีมูลค่าถึง  5,000 ล้านบาทต่อปี

          ดังนั้น เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์และการตรวจสอบเมล็ดพันธุ์เพื่อการส่งออก จึงมีความสำคัญในการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการของไทยมีศักยภาพมากขึ้นในการส่งออกเมล็ดพันธุ์ ในการที่จะเป็นผู้นำตลาดเมล็ดพันธุ์ในอาเซียนนั้น เทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์พืชในกลุ่มพืชที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ๆ และเป็นที่ต้องการของตลาดในภูมิภาคดังกล่าว มีความจำเป็นต้องพัฒนา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาพันธุ์อย่างรวดเร็ว จึงจะสร้างเสริมความเข้มแข็งและความสามารถของอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ของไทยให้แข่งขันได้  การที่ประเทศไทยจะเป็นผู้นำ หรือศูนย์กลางในการส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชนั้น จะต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด ทั้งทางด้านการวิจัยพัฒนา การผลิต การจำหน่าย การนำเข้า - ส่งออกเมล็ดพันธุ์ที่หลากหลายมีคุณภาพดี ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ และทันต่อสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคต เพื่อประโยชน์ต่อเกษตรกรในการสร้างรายได้ ตลอดจนพัฒนาอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ไทยให้มีการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนในอนาคต

 
ดาวน์โหลดไฟล์ประกอบการสัมมนา
 

กำหนดการ

09.00 – 12.00 น.

การเสวนาเรื่อง ทิศทางและโอกาสในการเป็นศูนย์กลางการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชในระดับอาเซียน

ผู้เข้าร่วมเสวนา
- ศาสตราจารย์ ดร.มรกต ตันติเจริญ
ประธานคลัสเตอร์เกษตรและอาหาร
ที่ปรึกษาอาวุโสผู้อำนวยการ สวทช.
- นายสมชาย ผะอบเหล็ก
นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ
กองวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร
- นายสุภัทร เมฆิยานนท์
ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายปรับปรุงพันธุ์พืช
บริษัท เจียไต๋ จำกัด
- นายลิขิต มณีสินธุ์
ผู้จัดการ บริษัท ลัคกี้ ซีด จำกัด

ดำเนินรายการโดย
ดร. วิรัลดา ภูตะคาม
หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยจีโนม หน่วยวิจัยเทคโนโลยีจีโนม
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

(พักรับประทานอาหารว่าง 10.30-11.00 น.)

12.00 - 13.30 น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.30 - 14.00 น.

การบริหารจัดการเชื้อพันธุกรรมพืชเพื่อส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์ของอาเซียน
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จุลภาค คุ้นวงศ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน
ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

14.00 - 14.30 น.

การเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาพันธุ์พืชในอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์โดยใช้เทคโนโลยี Doubled haploid
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาทพร  สมิตะมาน
นักวิชาการ
บริษัท คลีนิกเกษตรและอุตสาหกรรม จำกัด

14.30 - 15.00 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

15.00 - 15.30 น.

แนวทางการปรับปรุงพันธุ์พืชพริกและมะเขือเทศเพื่อเป็นผู้นำในอาเซียน
โดย  รองศาสตราจารย์ ดร.สุชีรา เตชะวงค์เสถียร
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

15.30 - 16.00 น.

เทคโนโลยีเพื่อการตรวจสอบเมล็ดพันธุ์เพื่อการส่งออก
การพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลในการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์

โดย  ดร.สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง
ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยเทคโนโลยีจีโนม
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

16.00 - 16.30 น.

การพัฒนาเทคนิคการตรวจวินิจฉัยโรคพืชเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเมล็ดพันธุ์
โดย  ดร.อรประไพ คชนันทน์
หัวหน้าห้องปฏิบัติการโมโนโคลนอลแอนติบอดี
หน่วยวิจัยไวรัสวิทยาและเทคโนโลยีแอนติบอดี
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

 
 
Mail