ครั้งหนึ่งในชีวิตกับประสบการณ์ที่ไม่มีวันลืมกับการเข้าร่วมประชุมวิชาการที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกของสามนักวิทยาศาสตร์ไทยรุ่นเยาว์ “การประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา”

ความเป็นมา

นายปัทม์  วงษ์ปาน
นางสาวอัจฉรา  ปัญญา
อาจารย์ ดร. สตรีรัตน์  กำแพงแก้ว โฮดัค


ความเป็นมา 

การประชุมผู้ได้ รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐ เยอรมนี จัดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 โดยมูลนิธิผู้ได้รับรางวัล โนเบล  โดยมีวัตถุประสงค์ให้เมืองแห่งประวัติศาสตร์ “ลินเดา” เป็นศูนย์กลางการพบปะแลกเปลี่ยน ความรู้และสร้างเครือข่ายวิชาการระหว่างผู้ได้รับรางวัลโนเบลกับ นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ มีการเชิญผู้ได้รับรางวัลโนเบล (Nobel Laureates) และมีการคัดเลือกนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ระดับหัว กะทิจากทั่วโลก เข้าร่วมการประชุมในช่วงระหว่างปลายเดือน มิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม ณ เมืองลินเดา โดยจัดขึ้นทุกปี หมุนเวียนไปตามสาขา ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมีและ สรีรวิทยาหรือ แพทยศาสตร์  และในปี พ.ศ. 2548  ซึ่งเป็นปี ไอน์สไตน์ได้จัดการประชุมขึ้นทั้งสามสาขาพร้อมกัน สำหรับ สาขาเศรษฐศาสตร์จัดขึ้นทุก 2 ปีเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547

เกาะลินเดาตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเยอรมันนี ณ ทะเล สาบคอนสแตนซ์ (Lake Constance) หรือภาษาเยอรมันเรียกว่า โบเดนเซ่ (Bodensee) ทะเลสาบนี้เป็นพรมแดนธรรมชาติ ระหว่างสามประเทศคือ เยอรมันนี สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย และด้วยทัศนียภาพที่งดงาม และการคมนาคมที่สะดวกของเกาะ ลินเดา (รูปที่ 1) เกาะแห่งนี้จึงถูกเลือกให้เป็นสถานที่จัดประชุม เรื่อยมา

รูปที่ 1 แสดงทัศนียภาพอันสวยงามของเกาะลินเดา สังเกตว่ามีทั้งทาง รถไฟ และถนนเชื่อมต่อเข้าสู่เกาะจากผืนแผ่นดินใหญ่  (Image Credit:https://web20.icserver3. de).

สำหรับปีนี้เป็นครั้งที่ 58 จัดขึ้นใน ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน – 4 กรกฎาคม 2551 ตรงกับ สาขาฟิสิกส์ จำนวนคนผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่าพันคน ประกอบ ด้วยผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ 22 คน สาขาเคมี 3 คน นัก วิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์จาก 66 ประเทศมากกว่า 550 คน แขก สำคัญที่ได้รับเชิญ นักข่าวและนักเขียนจากทั่วโลกจำนวน มาก   เป็นที่น่ายินดีสำหรับปีนี้เนื่องจากเป็นปีแรก ที่คนไทยเข้าร่วมการประชุมกับนักวิทยาศาสตร์โนเบลที่ยิ่งใหญ่ ระดับโลก สำหรับที่มาของการได้เข้าร่วมงานของคนไทยในครั้ง นี้มาจาก พระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารีว่า ”เคยทรงอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับงาน ประชุมนักวิทยาศาสตร์โนเบล ณ เมืองลินเดามาก่อน พบว่ามี เยาวชนจากนานาประเทศเข้าร่วมประชุมจำนวนมาก รวมทั้งตัว แทนจากเพื่อนบ้านใกล้เคียง เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ อินเดีย จีน แต่ไม่เคยมีเยาวชนไทยสาขาวิทยาศาสตร์คนใดได้เข้าร่วมงานนี้ มาก่อน” จึงทรงโปรดเกล้าให้สำนักงานพัฒนาวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดำเนินการในการ ประสานงานกับคณะผู้ก่อตั้งการประชุมเพื่อส่งตัวแทนจาก ประเทศไทยเข้าร่วมประชุมดังกล่าว โดยการคัดเลือกเริ่มจากการ สัมภาษณ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษของผู้สมัครเข้าร่วม โครงการในสาขาฟิสิกส์ โดยจะเลือกจาก 3 กลุ่มคือ กลุ่มระดับ ปริญญาตรี กลุ่มระดับปริญญาโทและปริญญาเอก และกลุ่ม ระดับการศึกษาหลังปริญญาเอก  จากนั้นสวทช.ได้ส่ง ประวัติผู้สมัครที่ถูกคัดเลือกรอบแรกไปยังผู้แทนสมาชิกคณะผู้ ก่อตั้งการประชุมเพื่อร่วมพิจารณาและได้นำความขึ้นกราบบังคม ทูลสมเด็จพระเทพฯ ให้ทรงมีพระราชวินิจฉัยคัดเลือกผู้แทนเป็น ขั้นตอนสุดท้าย 

รูปที่ 1 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดนิทรรศการและการประชุมวิชาการ ประจำปี 2551 ของ สวทช. ในวันจันทร์ที่ 24 มีนาคม 2551      ณ ศูนย์ประชุม อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ่ายขณะเข้าเฝ้าสมเด็จพระ เทพฯ เพื่อรายงานแนะนำตัว (นับจากขวาสุด อ.ดร.สตรีรัตน์ กำแพงแก้ว โฮดัค  นายปัทม์  วงษ์ปาน และ นาง สาวอัจฉรา  ปัญญา ตามลำดับ)

2. ประวัติตัวแทนนักวิทยา ศาสตร์ไทยรุ่นเยาว์
ผู้ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศ ไทยมีทั้งหมดสามคน  ประกอบด้วย

นาย ปัทม์  วงษ์ปาน

ชื่อเล่น ปัทม์ มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

• ประวัติการศึกษา
ชั้นประถมที่โรงเรียน ชุมชนวัดวิสุทธิชลาราม
ชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนสุราษฎร์ พิทยา
ชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาฟิสิกส์ จาก มหาวิทยาลัยมหิดล
• แผนการ การศึกษา ต่อในอนาคต
กำลังเตรียมตัวไปศึกษาต่อในระดับปริญญา โท-เอก สาขาฟิสิกส์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

• ความรู้สึกก่อนไป
            ข้าพเจ้ารู้สึกตื่นเต้น อย่างบอกไม่ถูก เพราะไม่เคยไปร่วมการประชุมระดับโลกในต่าง ประเทศมาก่อน ทำให้ต้องเตรียมตัวเรื่องการแต่งกาย มารยาท สิ่งที่ควร ไม่ควรปฏิบัติเพราะเราไปในฐานะตัวแทนประเทศไทย ส่วนด้านวิชาการก็ได้มีการเตรียมตัวเพื่อให้ตอนฟังจริงรู้เรื่องครับ ทั้งการหาข้อมูลของรางวัลโนเบล นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล หัวข้อที่นักวิทยาศาสตร์โนเบลจะนำมาพูดในวันจริง การหาข้อมูล ของสถานที่ที่เราจะไป และเมืองลินเดา รวมทั้งการเตรียมนาม บัตรไปตามที่ อ.สตรีรัตน์แนะนำเพื่อกระชับความสัมพันธ์กับ เพื่อนชาวต่างประเทศที่เข้าร่วมประชุมด้วยกัน

• ความรู้สึกหลังจากไป
             ข้าพเจ้ารู้สึกทึ่งกับการเตรียม งานของการประชุม ความพร้อม ลำดับของงาน และการประชุมก็ มีเวลาให้พักมากนั่นคือการหยุดพักให้เราได้มีปฏิสัมพันธ์กับนัก วิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล และกลุ่มนักวิจัยรุ่นใหม่ด้วยกันเอง ทำ ให้ได้เพื่อนกลับมาเยอะมาก นามบัตรที่เตรียมไปแทบหมดเกลี้ยง และสำคัญที่สุดคือการที่สมเด็จพระเทพ ฯ ได้เสด็จไปกับเราด้วย บ่อยครั้งที่เราจะถูกนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลถามถึงพระราช กรณียกิจของท่าน ว่าตอนนี้ท่านเสด็จพระราชดำเนินไปที่ใด จะ เสด็จกลับเมื่อใด เป็นต้น ซึ่งสร้างความตื้นตันใจให้เราเป็นอย่าง มาก นอกจากนี้การประชุมครั้งนี้ได้ช่วยเปิดโลกทัศน์ในการ ศึกษาต่อสำหรับข้าพเจ้า เพราะได้ฟังการบรรยายจากนักวิทยา ศาสตร์รางวัลโนเบลในแขนงต่างๆ ของฟิสิกส์เรียกได้ว่าคลอ บคลุมจากอะตอมถึงจักรวาลเลยทีเดียว ท้ายที่สุดการประชุมนี้ ไม่ได้ละเลยการพัฒนาสมองซีกขวาของผู้เข้าร่วมประชุมโดยมี คอนเสิร์ตดนตรีคลาสสิคให้สดับรับฟังอีกด้วย
 

นางสาวอัจฉรา  ปัญญา

ชื่อเล่น เหมียว มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดเชียงราย
 
•  ประวัติการศึกษา
ชั้นประถมที่โรงเรียนสันติวิทยา อ. เมือง จ. เชียงราย
ชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย อ. เมือง จ. เชียงราย
ชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนยุพราช วิทยาลัย (พสวท.) อ. เมือง จ. เชียงใหม่
สำเร็จการ ศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ (พสวท.)

• แผนการ การศึกษาต่อ ในอนาคต
ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท-เอก สาขาฟิสิกส์ ณ University of California Riverside ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยทุนพสวท. ซึ่งจะเดินทางไปศึกษาประมาณกลางเดือน กันยายนปีนี้

• ความรู้สึกก่อนไป
การ ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ถือว่าข้าพเจ้าได้รับโอกาสที่ดีในการเริ่มต้นการเดินทางบนถนนสู่ การเป็นนักฟิสิกส์ และถือได้ว่าเป็นแรงบันดาลใจและกำลังใจใน การทำงาน ในวันหนึ่งข้างหน้าข้าพเจ้าคาดว่าประสบการณ์จาก การไปร่วมการประชุมในครั้งนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ข้าพเจ้า สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าต่อสังคมได้ในฐานะของนัก ฟิสิกส์ไทย

• ความรู้สึกหลังจากไป
             ข้าพเจ้ารู้สึกทึ่งในการจัดงาน ที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก ที่มีการควบคุมเวลาได้อย่างดีเยี่ยม บรรยากาศในการบรรยายของนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัล โนเบลก็สนุกสนานและเป็นกันเองอย่างคาดไม่ถึง มีทั้งเนื้อหา วิชาการที่เข้มข้นและข้อคิด จริยธรรมที่ได้รับการกลั่นกรองมา จากประสบการณ์อันช่ำชองของนักวิทยาศาสตร์เหล่านั้น ตลอด จนงานเลี้ยงรับรองที่เปิดโอกาสให้เยาวชนจากทั่วทุกมุมโลกได้มี โอกาสสร้างความสัมพันธ์กัน นับเป็นประสบการณ์ที่มีค่าและน่า จดจำเป็นที่สุด

อาจารย์ ดร. สตรีรัตน์  กำแพงแก้ว โฮดัค

• ประวัติการศึกษา
ชั้นประถมที่โรงเรียน ศรีธนาวิทยา (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นเทพบดินทร์วิทยา)
อ. เมือง จ. เชียงใหม่
ชั้นมัธยมต้นและปลายที่โรงเรียนวัฒ โนทัยพายัพ อ. เมือง จ. เชียงใหม่
สำเร็จการศึกษาวิทยา ศาสตร์บัณฑิต สาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พสวท.)
สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท-เอก สาขาฟิสิกส์ ณ University of Colorado, Boulder ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยทุน พสวท.

• ความรู้สึกก่อนไป
             ข้าพเจ้าซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงคัดเลือกข้าพเจ้าให้เป็นตัว แทนของประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมผู้ได้รับ รางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา สาขาฟิสิกส์  ข้าพเจ้ารู้สึก ดีใจมาก ความรู้สึกเหนื่อย หรือบางครั้งที่ท้อใจกับการทำงานวิจัย ได้หายเป็นปลิดทิ้ง  ตื่นเต้นที่จะได้พบปะสนทนากับนัก วิทยาศาสตร์ที่โด่งดังระดับโลก รวมไปถึงนักวิทยาศาสตร์รุ่น เดียวกัน ข้าพเจ้าคิดว่าการทำวิจัยหลังจบปริญญาเอกมา ใหม่ๆ  เป็นงานที่ท้าทายและหนักมาก ไม่ใช่หนักเฉพาะ ทางวิชาการอย่างเดียว แต่หนักที่จะต้องต่อสู้ในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่า จะเป็นการขอทุนทำวิจัย การหาพื้นที่ และการหาผู้ร่วมงานที่ ดี   ไม่เหมือนตอนที่เป็นนักศึกษาปริญญาเอกที่ ไม่ต้องพะวงเรื่องอื่นนอกจากทำการทดลองวิจัยอย่างเดียว การ ได้รับคัดเลือกในครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้ามีกำลังใจขึ้นมากในการทำ งานวิจัยให้ประสบความสำเร็จควบคู่ไปกับการสอนที่มี ประสิทธิภาพให้นิสิต นักศึกษามีความเข้าใจลึกซึ้ง คิดเป็นเหตุ เป็นผล

• ความรู้สึกหลังไป
             ข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจในการ จัดงานประชุมผู้ได้รางวัลโนเบล ทุกอย่างมีการจัดเตรียมอย่างดี แทบไม่มีที่ติ ตรงต่อเวลากับแผนกำหนดที่จัดไว้ หลังจากฟังการ บรรยายของนักโนเบล รู้สึกว่าได้เปิดโลกทรรศน์ทางวิชาการ ได้ สร้างเครือข่ายกับนักวิทยาศาสตร์ที่เก่ง ๆ  นอกจากนี้ทำ ให้ทราบว่าในปัจจุบันแต่ละสาขาวิชากำลังทำอะไรอยู่ จะดำเนิน การวิจัยต่ออย่างไรและยังได้ข้อคิดหลายอย่างที่พวกเขาสอด แทรกไว้ในช่วงบรรยาย  ประทับใจกับนักโนเบลที่ไม่เคย เหน็ดเหนื่อยกับการตอบคำถามของพวกเรา ยิ้มแย้มแจ่มใสที่จะ ถ่ายรูปกับพวกเราและให้ลายเซ็น  ตลอดจนงานเลี้ยง รับรองการฟังดนตรีคลาสสิค การต้อนรับแบบบาวาเรีย การล่อง เรือในทะเลสาบสาบคอนสแตนซ์ไปเกาะไมเนา กิจกรรมสร้าง ความสัมพันธ์เหล่านี้จัดให้ในแต่ละช่วงเย็นของทุกวัน ทำให้มี เพื่อนใหม่เพิ่มขึ้นจากทั่วโลก


3. การเตรียมตัวก่อนไป

             เมื่อ พวกเราทราบว่าได้เป็นตัวแทนเยาวชนไทยเข้าร่วมการประชุมผู้ ได้รางวัลโนเบล พวกเราได้ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ จากเวปไซด์โครง การลินเดา โดยสิ่งแรกที่พวกเราสนใจคือกำหนดการในแต่ละวัน โดยเฉพาะหัวข้อเรื่องที่นักโนเบลจะบรรยายในช่วงเช้า เมื่อทราบ หัวข้อแล้วพวกเราได้หาอ่านผลงานตีพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ จะบรรยายก่อนจะฟังบรรยายในวันจริง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่ จะได้ฟังให้เข้าใจการบรรยายมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้และ สามารถนึกคิดคำถามเพื่อถามนักโนเบลในการอภิปรายกลุ่มใน ช่วงบ่าย   โดยเฉพาะหัวข้อการบรรยายในวันแรก ที่พวกเราต้องเตรียมรายงานอย่างดีเป็นไฟล์ power point เพื่อ นำทูลเกล้าให้สมเด็จพระเทพฯ  ทั้งนี้ในการประชุมย่อย แต่ละครั้ง มีประธานกรรมการ ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ร่วมด้วยศาสตราจารย์ ดร. สุทัศน์ ยกส้าน และคณะกรรมการ โครงการคัดเลือก ให้คำแนะนำ
นอกจากเรื่องวิชาการที่ พวกเราต้องเตรียมตัวให้แม่นแล้ว พวกเราต้องศึกษาเส้นทางการ เดินทางทั้งทางเครื่องบินและรถไฟ การแต่งกายให้เหมาะสมกับ กาลเทศะ สิ่งที่ลืมไม่ได้จะต้องเตรียมก็คือเครื่องMP3 สำหรับอัด เสียงในการบรรยาย และกล้องถ่ายรูปเพื่อเก็บภาพที่ ระลึก

รูปที่ 2 นัก วิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบล, ปีที่ได้รับรางวัล  ยืน จากซ้ายไปขวา: Peter Grünberg, 2007; Theodor W. Hänsch, 2005; Robert C. Richardson, 1996; Douglas D. Osheroff, 1996; William D. Phillips, 1997; George F. Smoot, 2006; Robert Huber, 1988; Ivar Giaever, 1973; John L. Hall, 2005 นั่งจากซ้ายไปขวา: Riccardo Giacconi, 2002; Brian D. Josephson, 1973; Gerard ‘t Hooft, 1999; Roy J. Glauber, 2005; Johann Deisenhofer, 1988; Hartmut Michel, 1988;  David J. Gross, 2004; Nicolass Bloembergen, 1981; Donald A. Glaser, 1960