ทีมวิจัย CPS ร่วมต้อนรับ ผช. ผพว. (คุณกุลประภา)

  • ทีมวิจัย CPS ร่วมต้อนรับ คุณกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. พร้อมคณะ ในโอกาสเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน เพื่อรับทราบการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ฯ และเตรียมความพร้อมสำหรับการต้อนรับคณะที่จะมาเยี่ยมชม บุคคล/หน่วยงาน สำคัญของสวทช. โดยมี ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการเนคเทค ให้การต้อนรับ พร้อมด้วยทีมวิจัย ณ ศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (ชั้น 1) อาคาร Nectec Pilot Plant สวทช. จ.ปทุมธานี เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564
แนะนำโรงงานแห่งการเรียนรู้ดิจิทัลลีน
โดย ดร.ธนกร ตันธนวัฒน์ นักวิจัย ทีมระบบไซเบอร์-กายภาพ CPS
โรงงานจำลองที่สร้างให้มีสภาวะใกล้เคียงกับ โรงงานจริง โดยนำแนวคิดลีนไปใช้ในการผลิตเพื่อให้ผู้เรียนรู้หรือผู้พัฒนาเทคโนโลยีได้เรียนรู้ถึงโจทย์และความซับซ้อนของโจทย์ที่ใกล้เคียงกับโรงงานจริง เนื่องจากโรงงานจำลองนี้ใช้เครื่องจักรอเนกประสงค์เป็นโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ เครื่องตัด เครื่องกลึง เครื่องกัด และเครื่องเจาะในการแปรรูปโลหะ โรงงานนี้จึงมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์กรณีศึกษา โดยผลิตภัณฑ์กรณีศึกษาเริ่มต้นถูกกำหนดให้เป็นแกนลูกหมากรถบรรทุก

นำเสนอระบบชุดสาธิตการเชื่อมต่อและการทำงานเครื่องจักรด้วย IIoT
โดย ดร.ธีรเชษฐ์ สูรพันธุ์ นักวิจัย ทีมระบบไซเบอร์-กายภาพ CPS

ชุดสาธิตประกอบด้วยอุปกรณ์ PLC หลากหลายรุ่น โดยแบ่งเป็นสถานีต่าง ๆ ตามโพรโทคอลการสื่อสารของอุปกรณ์ของแต่ล่ะค่ายผู้ผลิต เช่น CC-Link IE, EtherNet/IP, EtherCAT, PROFINET และ OPC UA ในแต่ล่ะสถานี จะสาธิตการเขียนโปรแกรมควบคุมระบบอุตสาหกรรมแบบอัตโนมัติด้วยอุปกรณ์ PLC ร่วมกับอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ เช่นอุปกรณ์ I/O, HMI, Motor, Servo และการสาธิตการสื่อสารด้วยโพรโทคอลต่าง ๆ รวมถึงการดึงข้อมูลจากอุปกรณ์ PLC ไปยังคลาวด์แพลตฟอร์ม เพื่อนำไปประมวลผลนำเสนอ หรือแจ้งเตือนกรณีมีข้อผิด พลาดเกิดขึ้น

นำเสนอระบบควบคุมอัตโนมัติและ IIoT ในงานอุตสาหกรรม
โดย คุณรพีพงศ์ โชครุ่งอิสรานุกูล วิศวกรอาวุโส ทีมระบบไซเบอร์-กายภาพ CPS

ระบบจำลองโรงงานการผลิตสินค้าที่มีองค์ประกอบของเทคโนโลยีของการควบคุมระบบการผลิตอัตโนมัติด้วย Programmable Logic Controller (PLC) ในรูปแบบมาตรฐานอุตสาหกรรม โดยมีหุ่นยนต์แขนกลแบบ Collaborative Robots (COBOT) ทำงานแบบอัตโนมัติร่วมกับระบบสายพานการผลิต และเซนเซอร์ และมีการแสดงผลการผลิตแบบ Real Time บนจอแสดงผลด้วยระบบ SCADA โดยแสดงผลการวิเคราะห์ประสิทธิผลของเครื่องจักรในระบบสายการผลิตทั้งหมดของโรงงาน และสามารถแสดงผลบนระบบคลาวด์แบบ Real-Time บนอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ

นำเสนอชุดทดสอบมอเตอร์และระบบส่งกำลังโดย
ดร.สุวัฒน์ โสภิตพันธ์ นักวิจัย ทีมระบบไซเบอร์-กายภาพ CPS

ชุดทดสอบการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าและระบบส่งกำลังไปยังโหลด สามารถตรวจวัดข้อมูลในระหว่างการทำงานจริงในสภาวะต่างๆ เช่น ข้อมูล การใช้พลังงานไฟฟ้าและการกำเนิดความร้อนของมอเตอร์ แรงบิดที่เกิดขึ้นในระบบต้นกำลัง การสั่นสะเทือนที่จุดรองรับการหมุนต่าง ๆ การสั่นสะเทือนจากชุดเกียร์ทดรอบ ทั้งในสภาวะการทำงานปกติและผิดปกติ