เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 09.00 -16.00 น. และ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 09.00 -12.00 น. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดย งานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท สายงานพัฒนาคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนด้วย BCG Model ขึ้น ให้แก่ครูในพื้นที่ปฏิบัติงานและครูที่สนใจ ทั้งสิ้น 57 โรงเรียน รวม 78 คน รูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Cisco Webex Meetings และมีการถ่ายถอดสดผ่าน Facebook live ทางเพจ Science in rural schools : SIRS 
 
เพื่อส่งเสริมความรู้และเสริมสร้างประสบการณ์ให้ครูผู้สอนมีความรู้ เข้าใจในการเกี่ยวกับการนำหลักการของ BCG model ไปปรับใช่ในการจัดทำแผนการเรียนรู้ หรือกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดสะเต็มศึกษา ที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) และเพื่อสร้างและเสริมให้เกิดสมรรถนะหลักของผู้เรียน และทักษะสำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับเกิดกับเด็กและเยาวชนในโครงการ โดยได้รับเกียรติจาก คุณฤทัย จงสฤษดิ์  ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ สวทช. และ  รศ.ดร.ชาตรี ฝ่ายคำตา และคณะ จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมเป็นวิทยากรในการอบรมในครั้งนี้
โดยกิจกรรมในวันแรกได้รับเกียรติจาก ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวเปิดกิจกรรม โดยให้โอวาสสำคัญ “ การเติมเต็มศักยภาพครูให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญ และเกิดทักษะในการออกแบบและสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่เชื่อมโยงบูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ร่วมกัน มุ่งเน้นการส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้เรียนทั้ง 6 ด้านได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ครูนำไปใช้จัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน และเตรียมเยาวชนให้มีความพร้อมในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพในอนาคตตามนโยบายการขับเคลื่อน BCG (Bio-Circular-Green Economy) ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ ให้บรรลุเป้าหมายในการปกป้องสิ่งแวดล้อม โดย BCG Economy Model จะช่วยให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในหลากหลายมิติอย่างยั่งยืนต่อไป” 
 
หลังจากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษในหัวข้อ การเชื่อมโยงจัดการศึกษาในอนาคต กับ BCG model โดย คุณฤทัย จงสฤษดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ โดยมีการเชื่อมโยงสถานการณ์โลกปัจจุบันและอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นในยุค metaverse ความท้าทายของเมืองไทยทั้งโอกาสและภาวะคุกคามต่างๆ ที่ทุกคนกำลังเผชิญ และเทคนิคการจัดกิจกรรมสะเต็มในห้องเรียนเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์โดยสามารถเชื่อมโยง BCG 
 
ถัดมาเป็นการบรรยาย หัวข้อ กิจกรรมสะเต็มศึกษา เพื่อสร้างสมรรถนะหลักให้กับเยาวชน โดย รศ.ดร.ชาตรี ฝ่ายคำตา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยการศึกษาขั้นพื้นฐานของ  ประเทศไทยกำลังมีการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ ซึ่งเป็นตัวสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศษฐกิจและเพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเป็นพลเมืองที่มีสมรรถนะ การจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษามุมองใหม่ ในขั้นตอนการกำหนดปัญหา ครูควรชักชวนให้นักเรียนวิเคราะห์ปัญหานั้น ว่ามีความเกี่ยวข้องกับ BCG หรือไม่ (เกษตรชีวภาพ การแพทย์) ชุมชนได้อะไรจากโจทย์ปัญหานี้หรือไม่ มีการเพิ่มมูลค่าหรือไม่ หรือในขั้นตอนการประเมิน แก้ไข ครูสามารถใช้หลักของ BCG เข้ามาเป็นเกณฑ์ในการประเมินชิ้นงานจะทำให้สะเต็มศึกษามีความลึกมากชึ้น STEM BCG จะกลายเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน และการใช้ STEM ผ่านกรอบ BCG ช่วยพัฒนาปัญหาหรือสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนและยกระดับเศรษฐกิจจากชุมชน ท้องถิ่น สู่ชาติ

นอกจากนี้ยังมีการยกตัวอย่างโจทย์สถานการณ์ตามแนวคิด BCG ทั้ง 4 ด้าน เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจ STEM BCG มากขึ้น และในวันที่สองของการอบรม วิทยากรได้ให้ผู้เข้าอบรมปฏิบัติการกลุ่ม โดยให้กำหนดสถานการณ์ STEM BCG โดยใช้บริบทของตนเองในการคิด 4 หัวข้อ คือ 1.สถานการณ์เป็นอย่างไร 2. จุดยืน BCG อยู่ตรงไหน 3 เป็น STEM อย่างไร สอนแบบไหน 4. จุดประสงค์สมรรถนะเป็นอย่างไร ซึ่งผู้เข้าอบรมได้ทดลองกำหนดสถานการณ์ตัวอย่างและได้นำเสนอพร้อมทั้ง ได้รับคำแนะนำจากวิทยากรทุกท่าน ทำให้ผู้เข้าอบรมในครั้งนี้ ได้รับความรู้ทั้งทฤษฏีและภาคปฏิบัติอย่างเต็มที่

หากผู้ใดสนใจรับชมการบรรยายย้อนหลังสามารถรับชมและศึกษาเอกสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ STEM BCG ได้ ที่นี

ปิยาภรณ์ วงศ์อักษร : รายงาน