Skip to content
NSTDA SPACE Education

NSTDA SPACE Education

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ และสะเต็มสำหรับเยาวชนไทย โดย สวทช.

  • Home
  • About Us
  • Asian Try Zero-G
  • Kibo-RPC
  • AHiS
  • Space Ratchaphruek Tree
  • Parabolic Flight
  • Articles
  • Alumni
  • Contact us
  • Home
  • News & Articles
  • Lunar Gateway ของ NASA สถานีอวกาศถาวร โคจรรอบดวงจันทร์
  • News & Articles

Lunar Gateway ของ NASA สถานีอวกาศถาวร โคจรรอบดวงจันทร์

NSTDA SPACE Education 21/02/2022
          สถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ISS (International Space Station) หลายคนคงรู้จักกันดีว่าเป็นการสร้างสิ่งประดิษฐ์โดยมนุษย์ ซึ่งโคจรอยู่รอบโลกที่ระดับความสูง 400 กิโลเมตร แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง โดยความร่วมมือกันจากหลายๆ ชาติบนโลกของเรา
 
          นาซาได้เคยวางแผนการณ์ไว้ว่า ปี ค.ศ. 2024 จะยุติการใช้งานสถานีอวกาศแห่งนี้ ในด้านการทดลองและการทำวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่เมื่อเดือนที่ผ่านมาได้ออกมาประกาศว่าจะขยายเวลาการใช้งานสถานีอวกาศนานาชาติ ออกไปจนถึงปี ค.ศ. 2030 และจะเปลี่ยนการใช้งานให้เป็นสถานที่สำหรับการท่องเที่ยวอวกาศแทน
 
          ก้าวสำคัญของการสำรวจอวกาศก้าวต่อไปของนาซาก็คือ การสร้างสถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ (Lunar Gateway) เพื่อใช้เป็นฐานและจุดแวะของนักบินอวกาศที่จะเดินทางไปดาวดวงจันทร์และดาวอังคารในอนาคต โดยการก่อสร้างสถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์จะเป็นความร่วมมือจากประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สภาพยุโรป และรัสเซีย ซึ่งการก่อสร้างทำโดยการนำโมดูลต่าง ๆ มาเชื่อมต่อกันคล้ายสถานีอวกาศนานาชาติ แต่มีขนาดเล็กกว่าประมาณครึ่งหนึ่ง
 
          หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน ในปี ค.ศ. 2022 จรวด Space Launch System (SLS) ของนาซาจะปล่อยออกจากแหลมคานาเวอรัล (Cape Canaveral) รัฐฟลอริดา สำหรับเที่ยวบินแรก จรวด SLS ขนาดยักษ์ซึ่งมีความสูง 111.25 เมตร กำหนดเปิดตัวหลังเดือนกุมภาพันธ์นี้ และจะส่งแคปซูลไร้คนขับไปปฏิบัติภารกิจทดสอบโคจรรอบด้านไกลของดวงจันทร์และกลับมาสู่โลก ที่รู้จักกันในชื่อภารกิจ Artemis 1 จะเป็นจุดเริ่มต้นของการกลับมาสู่ดวงจันทร์ของมนุษยชาติอย่างแท้จริง
 
          ส่วนภารกิจ Artemis 2 ซึ่งขณะนี้กำหนดไว้ที่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2024 โดยจะทำซ้ำกับภารกิจ Artemis 1 แต่คราวนี้จะมีนักบินอวกาศเดินทางไปด้วย ซึ่งการเดินทางรอบดวงจันทร์ของนักบินอวกาศชุดนี้ จะไปได้ไกลกว่านักบินอวกาศที่เดินทางไปดวงจันทร์เมื่อกว่า 50 ปีก่อน
 
          จากนั้นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ก็จะมาถึงกับภารกิจ Artemis 3 ซึ่งจะพานักบินอวกาศรุ่นต่อไปลงจอดบนดวงจันทร์
 
          ในระหว่างนี้จะมีภารกิจสนับสนุนต่างๆ เกิดขึ้น เพื่อทำให้แน่ใจว่านักบินอวกาศมีทุกสิ่งที่จำเป็นในการทำภารกิจให้สำเร็จเมื่อไปถึงวงโคจรของดวงจันทร์
 
          โดยสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในระยะยาวของโครงการ Artemis นั่นก็คือ “สถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ (Lunar Gateway)”
 
          สำหรับ Lunar Gateway เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกากับ 10 ประเทศในยุโรป แคนาดา และญี่ปุ่น จะเป็นสถานีอวกาศแบบหลายโมดูลในวงโคจรรอบดวงจันทร์ โดยจะทำหน้าที่เป็นจุดพัก    สำหรับการสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ ใช้สังเกตการณ์ดวงจันทร์จากระยะไกล และจัดเตรียมห้องปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์หินของดวงจันทร์และดำเนินการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ด้านอื่นๆ
 
 
          Lunar Gateway ประกอบด้วยโมดูลต่าง ๆ ต่อไปนี้
          – โมดูลพลังงานและแรงขับดัน (Power and Propulsion Element) ทำหน้าที่สร้างแรงขับดันให้กับสถานีอวกาศ นาซาจะเป็นผู้รับผิดชอบโมดูลนี้
          – โมดูล (ESPRIT) ทำหน้าที่จัดเก็บเชื้อเพลิง ผลิตพลังงานไฟฟ้าจ่ายให้กับสถานอวกาศรวมไปถึงระบบการติดต่อสื่อสาร องค์การอวกาศยุโรปหรือ ESA จะเป็นผู้รับผิดชอบโมดูลนี้
          – โมดูลใช้อยู่อาศัยขนาดเล็ก (Utilization Module) ใช้สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของนักบินอวกาศแต่มีขนาดเล็กกว่าโมดูลที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหลัก
          – โมดูลที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหลัก (Habitation Module) แยกออกเป็น 2 โมดูล คือ โมดูลนานาชาติ (International Habitation Module) องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นหรือ JAXA และ ESA จะเป็นผู้รับผิดชอบโมดูลนี้ ส่วนอีกโมดูลนั้น คือ (U.S. Habitation Module) นาซาจะเป็นผู้รับผิดชอบโมดูลนี้
          – โมดูลเชื่อมต่อ (Multi-Purpose Module) ทำหน้าที่เป็นจุดเทียบท่ายานอวกาศ องค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซียหรือ ROSCOSMOS จะเป็นผู้รับผิดชอบโมดูลนี้
          – โมดูลขนส่งทรัพยากร (Logistics Resupply) ทำหน้าที่ขนส่งทรัพยากรสำหรับยังชีพให้นักบินอวกาศและอุปกรณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ที่ถูกส่งไปจากโลกและเข้าเชื่อมต่อกับโมดูลนานาชาติ (International Habitation Module) นาซ่าและ JAXA จะเป็นผู้รับผิดชอบโมดูลนี้
          – แขนหุ่นยนต์ (Robotics) ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายยานอวกาศที่เข้าเทียบท่าสถานีอวกาศหรือก่อสร้างตัวสถานีอวกาศ องค์การอวกาศแคนาดาหรือ CSA ASC จะเป็นผู้รับผิดชอบโมดูลนี้
          – ยานขนส่งอวกาศ (Orion Crew Module) ยานที่จะมีบทบาทสำคัญในการก่อสร้างสถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์และส่งมนุษย์เดินทางลงไปสำรวจดวงจันทร์
          – ยานบริการ (Orion Service Module) ทำหน้าที่เป็นส่วนขับเคลื่อนและให้พลังงานกับยาน Orion ขณะเดินทางไปกลับระหว่างสถานีอวกาศที่โคจรรอบดวงจันทร์และโลก ESA จะเป็นผู้รับผิดชอบโมดูลนี้
 
          สถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ อาจจะดูเหมือนนิยายวิทยาศาสตร์ แต่ตอนนี้มันกำลังจะกลายเป็นจริงขึ้นมาแล้ว!
 
          และล่าสุดเมื่อวันพุธที่ 26 ม.ค. 65 องค์การอวกาศอิสราเอล (ISA) เปิดเผยว่าอิสราเอลได้ลงนามข้อตกลงอาร์ทิมิส (Artemis Accords) และเข้าร่วมโครงการอาร์ทิมิส (Artemis) ซึ่งนำโดยสหรัฐฯ เพื่อส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ในปี ค.ศ. 2025 และมุ่งสู่ดาวอังคารในอนาคตอันใกล้ต่อไป
 
          สำหรับประเทศไทยของเรา ต้องคอยจับตาดูว่าจะมีการเข้าร่วมโครงการอาร์ทิมิสได้อย่างไรบ้าง ซึ่งอาจจะเกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ที่จะเสนองานวิจัยด้านอวกาศในอนาคตอันใกล้นี้ก็เป็นไปได้
 

เรียบเรียงโดย
ปริทัศน์ เทียนทอง
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
 
อ้างอิงข้อมูล
https://www.sciencefocus.com/space/nasa-lunar-gateway/
https://www.nextwider.com/lunar-orbital-platform-gateway/
  • FacebookFacebook
  • XX
  • LINELine

Related

Tags: Lunar Gateway ดวงจันทร์ สถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์

Continue Reading

Previous: รูปปั้นอะลูมิเนียมบนดวงจันทร์ สัญลักษณ์แห่งความเสียสละของนักบินอวกาศ
Next: ดาวเทียมคิวบ์แซท UAE-Bahraini Light-1 ปล่อยจากสถานีอวกาศนานาชาติโดย JAXA

Related Stories

ทีม Astronut คว้ารางวัลชนะเลิศ The 5th Kibo Robot Programming Challenge
  • Kibo-RPC
  • News & Articles

ทีม Astronut คว้ารางวัลชนะเลิศ The 5th Kibo Robot Programming Challenge

03/07/2024
ทีมกาแล็กติก 4 คว้าอันดับ 3 รอบชิงแชมป์นานาชาติ โครงการ Kibo-RPC ครั้งที่ 4
  • News & Articles

ทีมกาแล็กติก 4 คว้าอันดับ 3 รอบชิงแชมป์นานาชาติ โครงการ Kibo-RPC ครั้งที่ 4

30/10/2023
ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ
  • Kibo-RPC
  • News & Articles

ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ

13/07/2023

You may have missed

เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์ทีม Astronut แชมป์นานาชาติ The 5th Kibo-RPC
  • Kibo-RPC

เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์ทีม Astronut แชมป์นานาชาติ The 5th Kibo-RPC

17/04/2025
JAXA ประกาศเลือก 2 การทดลองเยาวชนไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ
  • Asian Try Zero-G

JAXA ประกาศเลือก 2 การทดลองเยาวชนไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ

16/04/2025
รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ The 6th Kibo-RPC
  • Kibo-RPC

รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ The 6th Kibo-RPC

14/04/2025
โครงการ The 6th Kibo Robot Programming Challenge
  • Kibo-RPC

โครงการ The 6th Kibo Robot Programming Challenge

04/03/2025
NSTDA SPACE Education Copyright © All rights reserved. | DarkNews by AF themes.
เว็บไซต์นี้ใช้งานคุกกี้ ในการใช้งานสามารถใช้งานเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เว็บไซต์นี้จะมีเก็บค่าคุกกี้ เพื่อให้การใช้งานเว็บไซต์ของท่านเป็นไปอย่างความราบรื่นและเป็นส่วนตัวมากขึ้น จึงขอให้ท่านรับรองว่าท่านได้อ่านและทำความเข้าใจนโยบายการใช้งานคุกกี้AcceptPrivacy policy