Skip to content
NSTDA SPACE Education

NSTDA SPACE Education

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ และสะเต็มสำหรับเยาวชนไทย โดย สวทช.

  • Home
  • About Us
  • Asian Try Zero-G
  • Kibo-RPC
  • AHiS
  • Space Ratchaphruek Tree
  • Parabolic Flight
  • Articles
  • Alumni
  • Contact us
  • Home
  • News & Articles
  • ครบรอบ 40 ปี โครงการกระสวยอวกาศของนาซา
  • News & Articles

ครบรอบ 40 ปี โครงการกระสวยอวกาศของนาซา

NSTDA SPACE Education 01/06/2021

          กระสวยอวกาศ (Space Shuttle) สร้างขึ้นโดยองค์การการบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือนาซา มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Space Transportation System (STS) สามารถทะยานขึ้นเหมือนจรวดและไปโคจรรอบโลก และตอนกลับสู่โลกจะร่อนลงตามรันเวย์ โดยสามารถนำกลับมาใช้งานได้หลายครั้ง

          โครงการกระสวยอวกาศของนาซา มีจำนวนทั้งหมด 5 ลำ ปฏิบัติหน้าที่ 135 ภารกิจ ระหว่างปี ค.ศ. 1981 ถึง 2011 ดังนี้

          1. กระสวยอวกาศโคลัมเบีย (ขึ้นบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1981)
          2. กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ (ขึ้นบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1983)
          3. กระสวยอวกาศดิสคัฟเวรี (ขึ้นบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1984)
          4. กระสวยอวกาศแอตแลนติส (ขึ้นบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1985)
          5. กระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์ (ขึ้นบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1992)

          มีภารกิจที่สำคัญประสบความสำเร็จหลายเรื่องเช่น การส่งดาวเทียม, ยานสำรวจอวกาศ, กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล, Spacelab ของ European Space Agency และช่วยในการสร้างสถานีอวกาศนานาชาติ

          เกิดโศกนาฎกรรมที่น่าเศร้ากับกระสวยอวกาศ 2 ลำ ของนาซา คือชาเลนเจอร์ และโคลัมเบีย สูญเสียไปจากอุบัติเหตุในอวกาศและลูกเรือของพวกเขาเสียชีวิต

          วันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1986 กระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ประสบอุบัติเหตุระเบิด ขณะทะยานขึ้นจากพื้นโลกได้เพียง 73 วินาที นักบินอวกาศ 7 คน เสียชีวิตทั้งหมด โดยสาเหตุเกิดจากมีรอยรั่วบริเวณจรวด SRB ด้านขวา ทำให้เชื้อเพลิงรั่วออกมา และเกิดการเผาไหม้ที่ช่องว่างระหว่างจรวด SRB และถังเชื่อเพลิงหลัก ซึ่งรอยรั่วนั้นเกิดจากความเย็นจากน้ำแข็งที่เกาะรอบยานในช่วงไม่กี่ชั่วโมงก่อนปล่อยยาน

          วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 กระสวยอวกาศโคลัมเบียประสบอุบัติเหตุขณะกลับสู่พื้นโลก เนื่องจากบริเวณปีกมีความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระแทกของชิ้นส่วนโฟมจากถังเชื้อเพลิงหลักหลุดขณะขึ้นบิน ทำให้ยานแตกออกป็นเสี่ยงๆ ขณะเสียดสีกับชั้นบรรยากาศระหว่างกลับลงสู่พื้นโลก ลูกเรือ 7 คน บนยานเสียชีวิตทั้งหมด

          นาซาประกาศยุติโครงการกระสวยอวกาศในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2011 หลังจากกระสวยอวกาศลำแรกขึ้นสู่อวกาศมานานกว่า 30 ปี รวมถึงระยะเวลาพัฒนาอีกกว่า 20 ปี และเปลี่ยนไปพัฒนาระบบขนส่งรุ่นใหม่ที่พัฒนาโดยบริษัทเอกชน

          สำหรับกระสวยอวกาศ 3 ลำ หลังจากถูกปลดระวางแล้วได้ ถูกส่งไปจัดแสดงยังพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ทั่วสหรัฐฯ โดยยานดิสคัฟเวอรีจะถูกส่งไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์การบินและอวกาศสมิทโซเนียน (Smithsonian Air & Space Museum) ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ส่วนยานเอนเดฟเวอร์ถูกส่งไปจัดแสดงที่ศูนย์วิทยาศาสตร์แคลิฟอร์เนีย (California Science Center) ในลอสแองเจลิส และยานแอตแลนติสถูกจัดแสดงไว้ที่ศูนย์เยี่ยมชมของศูนย์อวกาศเคนเนดี (Kennedy Space Center)

  • FacebookFacebook
  • XX
  • LINELine

Related

Tags: Space Shuttle Space Transportation System กระสวยอวกาศ ชาเลนเจอร์

Continue Reading

Previous: “Satellite Rangers” อนิเมะแนะนำภารกิจดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลกของ JAXA
Next: SpaceX เตรียมส่งตัวอ่อนหมึกหูช้างและหมีน้ำ สู่สถานีอวกาศนานาชาติ

Related Stories

ทีม Astronut คว้ารางวัลชนะเลิศ The 5th Kibo Robot Programming Challenge
  • Kibo-RPC
  • News & Articles

ทีม Astronut คว้ารางวัลชนะเลิศ The 5th Kibo Robot Programming Challenge

03/07/2024
ทีมกาแล็กติก 4 คว้าอันดับ 3 รอบชิงแชมป์นานาชาติ โครงการ Kibo-RPC ครั้งที่ 4
  • News & Articles

ทีมกาแล็กติก 4 คว้าอันดับ 3 รอบชิงแชมป์นานาชาติ โครงการ Kibo-RPC ครั้งที่ 4

30/10/2023
ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ
  • Kibo-RPC
  • News & Articles

ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ

13/07/2023

You may have missed

เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์ทีม Astronut แชมป์นานาชาติ The 5th Kibo-RPC
  • Kibo-RPC

เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์ทีม Astronut แชมป์นานาชาติ The 5th Kibo-RPC

17/04/2025
JAXA ประกาศเลือก 2 การทดลองเยาวชนไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ
  • Asian Try Zero-G

JAXA ประกาศเลือก 2 การทดลองเยาวชนไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ

16/04/2025
รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ The 6th Kibo-RPC
  • Kibo-RPC

รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ The 6th Kibo-RPC

14/04/2025
โครงการ The 6th Kibo Robot Programming Challenge
  • Kibo-RPC

โครงการ The 6th Kibo Robot Programming Challenge

04/03/2025
NSTDA SPACE Education Copyright © All rights reserved. | DarkNews by AF themes.
เว็บไซต์นี้ใช้งานคุกกี้ ในการใช้งานสามารถใช้งานเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เว็บไซต์นี้จะมีเก็บค่าคุกกี้ เพื่อให้การใช้งานเว็บไซต์ของท่านเป็นไปอย่างความราบรื่นและเป็นส่วนตัวมากขึ้น จึงขอให้ท่านรับรองว่าท่านได้อ่านและทำความเข้าใจนโยบายการใช้งานคุกกี้AcceptPrivacy policy