Skip to content
NSTDA SPACE Education

NSTDA SPACE Education

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ และสะเต็มสำหรับเยาวชนไทย โดย สวทช.

  • Home
  • About Us
  • Asian Try Zero-G
  • Kibo-RPC
  • AHiS
  • Space Ratchaphruek Tree
  • Parabolic Flight
  • Articles
  • Alumni
  • Contact us
  • Home
  • News & Articles
  • สถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ (Lunar Gateway)
  • News & Articles

สถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ (Lunar Gateway)

NSTDA SPACE Education 14/03/2019

          สถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ (Lunar Gateway) ก้าวสำคัญของการสำรวจอวกาศหลังจากมนุษย์กลุ่มสุดท้ายได้เดินทางไปดวงจันทร์เมื่อเกือบ 50 ปีที่แล้ว การกลับไปดวงจันทร์ครั้งนี้ นอกจากส่งมนุษย์ลงไปสำรวจผิวดวงจันทร์แล้วนาซ่ายังวางแผนการสร้างสถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ เพื่อใช้เป็นฐานและจุดแวะของนักบินอวกาศที่จะเดินทางไปดาวดวงจันทร์และดาวอังคารในอนาคต

          ในระหว่างการประชุมกันของคณะกรรมการนานาชาติในวาระที่ครบรอบ 20 ปี ของการเปิดตัวสถานีอวกาศนานาชาติ นาซาได้เปิดเผยแนวคิดการสร้างสถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์โดยใช้วิธีการร่วมมือกันก่อสร้างจากหลายประเทศ โดยมีนาซาของสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำโครงการ ซึ่งวิธีการนี้สามารถลดค่าใช้จ่ายเรื่องงบประมาณและเกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีเทคโนโลยีอวกาศไปพร้อมๆ กัน

โมดูลของสถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์

          การก่อสร้างสถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ถูกสร้างโดยความร่วมมือจากประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สภาพยุโรปและรัสเซีย การก่อสร้างทำโดยการนำโมดูลต่าง ๆ มาเชื่อมต่อกันคล้ายสถานอวกาศนานาชาติ ISS แต่มีขนาดเล็กกว่าประมาณครึ่งหนึ่ง ประกอบด้วยโมดูลต่าง ๆ ต่อไปนี้

          – โมดูลพลังงานและแรงขับดัน (Power and Propulsion Element) ทำหน้าที่สร้างแรงขับดันให้กับสถานีอวกาศ นาซ่าจะเป็นผู้รับผิดชอบโมดูลนี้
          – โมดูล (ESPRIT) ทำหน้าที่จัดเก็บเชื้อเพลิง ผลิตพลังงานไฟฟ้าจ่ายให้กับสถานอวกาศรวมไปถึงระบบการติดต่อสื่อสาร องค์การอวกาศยุโรปหรือ ESA จะเป็นผู้รับผิดชอบโมดูลนี้
          – โมดูลใช้อยู่อาศัยขนาดเล็ก (Utilization Module) ใช้สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของนักบินอวกาศแต่มีขนาดเล็กกว่าโมดูลที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหลัก
          – โมดูลที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหลัก (Habitation Module) แยกออกเป็น 2 โมดูล คือ โมดูลนานาชาติ (International Habitation Module) องค์การอวกาศญี่ปุ่นหรือ JAXA และ ESA จะเป็นผู้รับผิดชอบโมดูลนี้ ส่วนอีกโมดูลนั้น คือ (U.S. Habitation Module) นาซ่าจะเป็นผู้รับผิดชอบโมดูลนี้
          – โมดูลเชื่อมต่อ (Multi-Purpose Module) ทำหน้าที่เป็นจุดเทียบท่ายานอวกาศ องค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซียหรือ ROSCOSMOS จะเป็นผู้รับผิดชอบโมดูลนี้
          – โมดูลขนส่งทรัพยากร (Logistics Resupply) ทำหน้าที่ขนส่งทรัพยากรสำหรับยังชีพให้นักบินอวกาศและอุปกรณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ที่ถูกส่งไปจากโลกและเข้าเชื่อมต่อกับโมดูลนานาชาติ (International Habitation Module) นาซ่าและ JAXA จะเป็นผู้รับผิดชอบโมดูลนี้
          – แขนหุ่นยนต์ (Robotics) ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายยานอวกาศที่เข้าเทียบท่าสถานีอวกาศหรือก่อสร้างตัวสถานีอวกาศ องค์การอวกาศแคนาดาหรือ CSA ASC จะเป็นผู้รับผิดชอบโมดูลนี้
ยานขนส่งอวกาศ (Orion Crew Module) ยานที่จะมีบทบาทสำคัญในการก่อสร้างสถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์และส่งมนุษย์เดินทางลงไปสำรวจดวงจันทร์
          – ยานบริการ (Orion Service Module) ทำหน้าที่เป็นส่วนขับเคลื่อนและให้พลังงานกับยาน Orion ขณะเดินทางไปกลับระหว่างสถานีอวกาศที่โคจรรอบดวงจันทร์และโลก ESA จะเป็นผู้รับผิดชอบโมดูลนี้

          อย่างไรก็ตามแนวคิดการสร้างสถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ (Lunar Gateway) ยังคงต้องใช้เวลาพัฒนาอีกระยะหนึ่งเนื่องจากต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายประเทศ โดยนาซ่าให้ความสำคัญกับงบประมาณในการก่อสร้างที่จะต้องไม่สูงจนเกินไปในขณะเดียวกันตัวสถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์จะต้องมีความปลอดภัยสูงเนื่องจากตำแหน่งอยู่ห่างจากโลก ในตอนนี้มีเพียงองค์การอวกาศแคนาดาหรือ CSA เท่านั้นที่ตอบรับข้อเสนอของนาซ่า


อ้างอิง: https://www.nextwider.com/lunar-orbital-platform-gateway/

  • FacebookFacebook
  • XX
  • LINELine

Related

Tags: Gateway Lunar Gateway สถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ สำรวจดวงจันทร์

Continue Reading

Previous: การทดลอง Protein Crystal Growth Project (JAXA PCG) บนโมดูล Kibo ของประเทศญี่ปุ่น
Next: ทดลองปลูกผลึกโปรตีนในอวกาศ หวังสร้างยาต้านมาลาเรียชนิดใหม่

Related Stories

ทีม Astronut คว้ารางวัลชนะเลิศ The 5th Kibo Robot Programming Challenge
  • Kibo-RPC
  • News & Articles

ทีม Astronut คว้ารางวัลชนะเลิศ The 5th Kibo Robot Programming Challenge

03/07/2024
ทีมกาแล็กติก 4 คว้าอันดับ 3 รอบชิงแชมป์นานาชาติ โครงการ Kibo-RPC ครั้งที่ 4
  • News & Articles

ทีมกาแล็กติก 4 คว้าอันดับ 3 รอบชิงแชมป์นานาชาติ โครงการ Kibo-RPC ครั้งที่ 4

30/10/2023
ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ
  • Kibo-RPC
  • News & Articles

ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ

13/07/2023

You may have missed

เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์ทีม Astronut แชมป์นานาชาติ The 5th Kibo-RPC
  • Kibo-RPC

เรื่องเล่าจากญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์ทีม Astronut แชมป์นานาชาติ The 5th Kibo-RPC

17/04/2025
JAXA ประกาศเลือก 2 การทดลองเยาวชนไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ
  • Asian Try Zero-G

JAXA ประกาศเลือก 2 การทดลองเยาวชนไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ

16/04/2025
รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ The 6th Kibo-RPC
  • Kibo-RPC

รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมโครงการ The 6th Kibo-RPC

14/04/2025
โครงการ The 6th Kibo Robot Programming Challenge
  • Kibo-RPC

โครงการ The 6th Kibo Robot Programming Challenge

04/03/2025
NSTDA SPACE Education Copyright © All rights reserved. | DarkNews by AF themes.
เว็บไซต์นี้ใช้งานคุกกี้ ในการใช้งานสามารถใช้งานเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เว็บไซต์นี้จะมีเก็บค่าคุกกี้ เพื่อให้การใช้งานเว็บไซต์ของท่านเป็นไปอย่างความราบรื่นและเป็นส่วนตัวมากขึ้น จึงขอให้ท่านรับรองว่าท่านได้อ่านและทำความเข้าใจนโยบายการใช้งานคุกกี้AcceptPrivacy policy