ภาพบรรยากาศการจัดงานครั้งที่ผ่านมา

การจัดงาน NSTDA Investors' Day 2012
วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน 2555 เวลา 08.00 – 16.30 น.
ณ ห้องคอนเวนชั่นฮอลล์ ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์
http://www.nstda.or.th/investorsday/2012


NSTDA Investors' Day 2011
วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2554 เวลา 08.00 – 16.30 น.
ณ ห้องคอนเวนชั่นฮอลล์ ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์
http://www.nstda.or.th/investorsday/2011


การจัดงาน NSTDA Investors' Day 2010
http://www.nstda.or.th/investorsday/2010


5 ผลงานเด่น 2011

BIOpro (ผลงานของ สวทช.): ถุงเพาะชำย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

ถุงเพาะชำย่อยสลายได้ทางชีวภาพนี้ ใช้แป้งมันสำปะหลังซึ่งเป็นผลิตผลที่ได้จากภาคการเกษตรของไทยมาใช้เป็นองค์ ประกอบพื้นฐานในการผลิต โดยทำการปรับปรุงคุณสมบัติของแป้ง สูตรผสม และกระบวนการในขั้นตอนการผสม การผลิตเม็ด และการเป่าถุงที่เหมาะสม โดยออกแบบให้สามารถเติมแป้ง และ/หรือวัสดุธรรมชาติลงในส่วนผสมได้ในปริมาณมาก และไม่เกิดการกระจายตัวของเม็ดแป้ง ทำให้ได้ถุงที่มีเนื้อเนียน เรียบ และแข็งแรง

i-Sensor (ผลงานของ สวทช.):เซ็นเซอร์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับระบบวัดน้ำและเเสดงแผนที่อัตโนมัติ

i-Sensor พัฒนาขึ้นจากไอออนเซนซิทีฟฟีลด์เอฟเฟคทรานซิสเตอร์ หรือ อีสเฟต หรือ ไอเอสเฟต ซึ่งสามารถสร้างด้วยฟิล์มที่สามารถตรวจสอบแบบเฉพาะเจาะจงได้ อย่างเช่น ไนเตรท โปแตสเซียม หรือ ฟอสเฟต เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ อีสเฟตจึงเป็นเซ็นเซอร์ที่มีประโยชน์หลากหลาย และด้วยขนาดที่เล็ก รวมทั้งเป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่กินไฟน้อย จึงสามารถนำมาประยุกต์เพื่อใช้ในงานวิเคราะห์ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ทั้งยังสามารถพัฒนาต่อจนสามารถทำเป็นระบบที่สามารถสอบเทียบและควบคุมแบบ อัตโนมัติได้ คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้อีสเฟตมีข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับหัววัดแบบกระเปราะ แก้วทั่วไป

ENZbleach (ผลงานของ สวทช.):เอนไซม์ทนด่างจากปลวกสำหรับฟอกเยื่อกระดาษ

ปัจจุบันเอนไซม์ทางการค้าที่พัฒนาขึ้นมีข้อจากัด เนื่องจากมีคุณสมบัติในการทำงานได้ดีที่สุดในสภาวะที่มีค่าพีเอชเป็นกรดอ่อน กลาง หรือด่างอ่อน เมื่อนำมาฟอกเยื่อกระดาษซึ่งมีค่าพีเอชเป็นด่างสูง (พีเอช 9.0-10.0) จึงต้องปรับพีเอชของเยื่อลงเพื่อให้เอนไซม์ทำงานได้ ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน สารเคมีในการฟอกเยื่อและเป็นการเพิ่มต้นทุนโดยรวมในกระบวนการผลิตกระดาษ ผลิตภัณฑ์ ENZbleach เป็นเอนไซม์ทนด่างจากแบคทีเรียในลำไส้ปลวกซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในกระบวน การฟอกเยื่อกระดาษ โดยเอนไซม์นี้สามารถทำงานภายใต้สภาวะที่เป็นด่างสูงได้ดี รวมไปถึงไม่มีกิจกรรมของเอนไซม์เซลลูเลส ซึ่งส่งผลต่อการลดความแข็งแรงของเยื่อกระดาษ จึงสามารถใช้ในการฟอกเยื่อได้โดยไม่ต้องปรับพีเอชของเยื่อซึ่งถือว่าเป็นข้อ ดีเหนือกว่าเอนไซม์ทางการค้าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

Zero-watt Standby (ผลงานของ สวทช.):ระบบสแตนบายแบบไม่ใช้พลังงาน

- ระบบสแตนบายแบบไม่ใช้พลังงาน (zero-watt standby) นี้ สามารถหยุดการสูญเสียพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าได้เมื่อผู้ใช้งานสั่งปิด อุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยรีโมทคอนโทรล ซึ่งเปรียบเสมือนการถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องไปกดปุ่มเปิด-ปิดที่ตัวอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าให้เริ่มทำงาน
- ระบบสแตนบายแบบไม่ใช้พลังงาน ใช้เทคโนโลยีการรับ-ส่งพลังงานแบบไร้สาย ควบคู่ไปกับการส่งสัญญาณควบคุมของรีโมทคอนโทรล ในการควบคุมการเปิดปิดของเครื่องใช้ไฟฟ้า - สามารถพัฒนาระบบสแตนบายแบบไม่ใช้พลังงานให้ฝังหรือควบรวมเข้าไปในอุปกรณ์ ไฟฟ้าได้ ซึ่งมีต้นทุนที่ไม่มากนัก เนื่องจากสามารถออกแบบวงจรให้รวมอยู่ในอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิมในอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่มาก ก็ทำให้เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีระบบสแตนบายแบบไม่ใช้พลังงานรวมอยู่ด้วยกันได้

iGUARD nano

- แผ่นกรองอากาศที่รวมคุณสมบัติพิเศษแบบมัลติฟังก์ชั่น
- แผ่นกรองอากาศสำหรับใช้กับเครื่องกรองอากาศที่มีหลอดไฟหรือหลอดไฟยูวี (iGUARD nano multi) ช่วยในการ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย/เชื้อรา กำจัดแก๊ส/ไอระเหยสารเคมี และกำจัดกลิ่น
- แผ่นกรองอากาศแบบเอนกประสงค์ (iGUARD nano flexi) สามารถตัดเป็นขนาดที่ต้องการได้ ช่วยในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย/เชื้อรา
- ใช้นาโนเทคโนโลยีในการพัฒนากระบวนการเคลือบ (Nano Coating) แผ่นกรองอากาศที่รวมคุณสมบัติพิเศษแบบ มัลติฟังก์ชั่น
- มีความหลากหลายของรูปแบบการต่อยอดจาก B2B ไปสู่ B2C มีความหลากหลายของรูปแบบผลิตภัณฑ์เนื่องจากสามารถปรับ ให้เหมาะสมกับการประยุกต์ใช้ในตัวกรองต่างๆ
Better Food
1. ระบบตรวจวัดแบบไร้สาย
2. ฟิล์มนาโนคอมโพสิทป้องกันการซึมผ่านของออกซิเจน
3. ฟิล์มเจาะรูในระดับไมครอน เพื่อเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตผลสด
4. โครงการเครื่องสกัดน้ำมันงาแบบเย็น (Sesame Oil Extractors)
5. สารเคลือบเมล็ดพันธุ์ (Seed Coating)
6. สารเคลือบผิวจากไขรำข้าว (Rice Bran Wax)
Better Living
1. ชุดตรวจหาไวรัสตัวแดงดวงขาวในกุ้ง (White spot syndrome virus, WSSV)
2. น้ำยาสกัดโปรตีนจากจุลินทรีย์
3. ระบบผลิตหัวเชื้อจุลสาหร่ายแบบต่อเนื่อง
4. Aqua-RasD ระบบหมุนเวียนน้ำเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำ
5. เครื่องช่วยฟัง รุ่น P-05
6. ซอฟต์แวร์ตรวจสุขภาพเครือข่าย (NetHAM) version 2
7. S-Sense
8. ผลิตภัณฑ์กันยุงนาโนอิมัลชันที่บรรจุสารที่มีฤทธิ์ไล่ยุงจากสารสกัดสมุนไพร
9. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เจลทำความสะอาดผิว
10. สารเคลือบป้องกันรอยขีดขูดบนแผ่นพลาสติก PET
11. น้ำยานาโนสำหรับผ้าไหม
12. เครื่องตรวจสีเชิงคุณภาพ ( E-EYE)
13. ฟิล์มเคลือบอิฐกันตะไคร่น้ำและคราบสกปรก
14. MovingEyes
15. Car Talk

 

ระบบหุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของข้อมือ แขนท่อนล่าง และข้อศอก (WEFRE Rehab System)
ระบบหุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของข้อมือ แขนท่อนล่าง และข้อศอก สำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของแขน โดยเป็นระบบที่สามารถเคลื่อนย้ายและติดตั้งได้ง่าย สร้างความเพลิดเพลินในการใช้งาน โดยใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์และเกมทั้งสองมิติ และสามมิติ นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเลือกรูปแบบโปรแกรมของการฟื้นฟูได้หลากหลายแบบตามสถานะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของผู้ใช้
ผลิตภัณฑ์ เอ็น พี วี เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช (Spod-e Focus)
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชแบบไม่ใช้สารเคมี โดยเทคโนโลยีที่ใช้ชีวินทรีย์ เอ็น พี วี ที่ทำให้เกิดโรคกับแมลงที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และมีความเจาะจงกับแมลงเป้าหมาย โดยเป็นชนิดที่ก่อโรคในหนอนกระทู้หอมที่พบในประเทศไทย เมื่อหนอนกระทู้หอมกินเข้าไปจะทำให้เกิดโรคและตายภายใน 3 – 7 วัน ตัวอย่างพืชเศรษฐกิจที่ประสบความสำเร็จในการนำชีวิน ทรีย์ชนิดนี้ไปใช้ ได้แก่ องุ่น มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง กล้วยไม้ หอมแดง หอมแบ่ง หอมหัวใหญ่ เป็นต้น
เครื่องตรวจวัดอะฟลาทอกซินแบบรวดเร็วขนาดพกพา (AflaSense)
อุปกรณ์สำหรับตรวจวัดสารอะฟลาทอกซินซึ่งมักพบในอาหารและผลิตผลทางการ เกษตร เช่น ข้าว ถั่วลิสง พริกแห้ง พริกป่น เมล็ดข้าวโพด โดยเป็นการตรวจวัดดีเอ็นเอของยีนตั้งต้นที่สร้างสารอะฟลาทอกซินในเชื้อราจาก ตัวอย่างอาหาร เริ่มจากการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเออย่างรวดเร็วด้วยเทคนิคแลมป์ จากนั้นจึงนำไปตรวจวัดค่าปฏิกิริยาเคมีทางไฟฟ้าซึ่งใช้ขั้วไฟฟ้า (test strip) ที่ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์โดยวัสดุนาโนกราฟีน ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเซนเซอร์ตรวจวัดสารปนเปื้อนอะฟลาทอกซินที่มีประสิทธิภาพ และความไวสูง
ระบบตรวจนับเซลล์แบบอัตโนมัติด้วยภาพจาก CMOS Sensor (CellScan)
ระบบตรวจนับเซลล์แบบอัตโนมัติด้วยภาพจาก CMOS Sensor เป็นอุปกรณ์รับภาพและซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการประมวลผลนับจำนวนเซลล์ (ขนาด 3-100 ไมครอน) แบบกึ่งอัตโนมัติ เช่นเซลล์เม็ดเลือด ยีสต์ เซลล์ไลน์ เป็นต้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายด้าน เช่น ด้านการวิจัย การวิเคราะห์วินิจฉัย และอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น โดยใช้เซนเซอร์ในการตรวจวิเคราะห์ภาพแทนการใช้เลนส์ สามารถใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ชำนาญการและให้ผลวิเคราะห์ภายในเวลาอันรวดเร็ว ทั้งนี้ CellScan ยังสามารถต่อยอดได้โดยการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อการนับเซลล์ได้หลากชนิดภายในอนาคตอีกด้วย
ระบบตรวจจับการเคลื่อนที่และการจอดของยานพาหนะโดยอัตโนมัติ (V-Watch)
ระบบอัจฉริยะในการเฝ้าดูรถยนต์โดยอัตโนมัติ พร้อมระบบลบเงาประสิทธิภาพสูง มีระบบ Security Feature เก็บหลักฐานเป็นภาพความละเอียดสูงหรือวิดีโอระยะสั้น และระบบ OCR ในการอ่านป้ายทะเบียนรถ โดยสามารถรายงานผลแบบ Online หรือ Real-time เป็นระบบที่ใช้งานง่ายและยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมตามความต้องการของลูกค้า เช่น ระบบตรวจจับการทำผิดกฎจราจร ระบบที่จอดรถอัจฉริยะ และระบบตรวจนับรถอัตโนมัติ เป็นต้น
ลูกอมเม็ดหญ้าหมอน้อย เลิกบุหรี่
เป็นการนำสมุนไพรจากธรรมชาติมาทำการสกัดเฉพาะส่วนเพื่อให้ได้สารองค์ประกอบสำคัญเพื่อช่วยลดหรือเลิกการสูบบุหรี่ โดยทำการผลิตในรูปแบบเม็ดซึ่งจะมีคุณสมบัติคงตัวและมีมาตรฐานตามหลักการผลิตสมุนไพรไทย โดยไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายและยังมีราคาถูก
ลงทะเบียน
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม E-mail : nid2013@nstda.or.th
หรือ ติดต่อศูนย์ลงทุน โทร. 02-564-7000 ต่อ 1327, 1340-1343, 1353, 1359 โทรสาร. 02-564-7003
Copyright © 2012 NSTDA