ผลงานต้นแบบรวดเร็วทางการแพทย์ (Rapid Prototype) เพื่อการทำกะโหลกเทียมช่วยผู้ป่วยที่กะโหลกยุบ

ในปัจจุบนั มีการนำเทคโนโลยกีารสร้างต้ แบบรวดเร็ว ทางการแพทย์ (Medical Rapid Prototyping) มาประยุกต์ใช้ในการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความบกพร่องบริเวณกระโหลกศีรษะ ใบหน้า และขากรรไกร ตลอดจนการศัลยกรรม ออร์โธปิดิกส์และงานทันตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยที่มีความพิการในส่วนต่างๆ เทคโนโลยีนี้ใช้เพื่อสร้างหุ่นจำลองทางการแพทย์ 3 มิติ (Medical Model) ตลอดจนการออกแบบและสร้างวัสดุฝังใน (Implant) โดยอาศัยข้อมูลภาพถ่ายทางการแพทย์ของผู้ป่วย ทั้งนี้ศัลยแพทย์สามารถใช้กะโหลกศีรษะเทียมจากเทคโนโลยีดังกล่าวมาปลูกถ่าย ในคนไข้ได้ทันทีจึงสามารถลดขั้นตอนการปั้นแต่งกะโหลกศีรษะเทียมด้วยมือใน ระหว่างการผ่าตัด ทำให้ระยะเวลาการผ่าตัดลดลง ผลการผ่าตัดมีความสวยงามมากขึ้น คนไข้ฟื้นตัวได้เร็วและอยู่ในโรงพยาบาลน้อยลงเป็นการลดค่าใช้จ่ายทั้งต่อตัว ผู้ป่วยและโรงพยาบาล ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไทยได้เป็นอย่างมาก

ประโยชน์ของผลงาน
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน ทางศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ร่วมกับสถาบันทางการแพทย์ชั้นนำหลายแห่งในประเทศ ได้นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยเป็นจำนวนทั้งสิ้น 277 ราย ซึ่งมีแนวโน้มการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2549 ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU)โดยร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันได้ดำเนินการภายใต้ชื่อโครงการศูนย์ความเป็นเลิศในการประยุกต์ใช้ คอมพิวเตอร์เพื่องานวิศวกรรมชีวการแพทย์ทั้งยังได้ดำเนินการจัดตั้งสำนักงาน ในส่วนภูมิภาคทั้ง 3 แห่ง เพื่อเป็นศูนย์กลางในแต่ละภูมิภาคในการเผยแพร่เทคโนโลยีนี้ไปสู่ผู้ป่วยใน ภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย และในอนาคตจะดำเนินการพัฒนาเพื่อให้เป็นศูนย์ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติ

การจำแนกการนำไปใช้ประโยชน์
อุตสาหกรรม : การผลิต
• การแก้ไขปัญหาจากการผลิต การดำรงชีวิตของประชาชนทั่วไป