การศึกษานำโดยคณะนักวิจัยจากศูนย์วิจัยวัคซีน (Vaccine Research Center (VRC)) ของ National Institute of Allergy and Infectious Diseases ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ National Institutes of Health (NIH) ค้นพบตำแหน่งใหม่บนเชื้อเอชไอวีสำหรับใช้เป็นวัคซีน แอนติบอดีลบล้างแบบกว้าง (broadly neutralizing antibody) ซึ่งจับกับตำแหน่งเป้าหมายนั้น และแอนติบอดีนั้นหยุดไวรัสจากการทำให้เซลล์ติดเชื้อได้อย่างไร
เป้าหมายใหม่เป็นส่วนหนึ่งของเชื้อเอชไอวีที่เรียกว่า fusion peptide คือกรดอะมิโน 8 ตัวเรียงต่อกันมีหน้าที่ช่วยให้ไวรัสหลอมรวม (fuse) เข้ากับเซลล์เพื่อทำให้เซลล์ติดเชื้อ fusion peptide มีโครงสร้างง่ายกว่ามากกว่าตำแหน่งอื่นบนไวรัสซึ่งนักวิทยาศาสตร์วัคซีนเอชไอวีได้ศึกษามา
คณะนักวิจัยอย่างแรกทดสอบเลือดของคนติดเชื้อเอชไอวีคนหนึ่งเพื่อค้นหาความสามารถในการหยุดไวรัสจากการทำให้เซลล์ติดเชื้อ เลือดนั้นมีความสามารถอย่างมากในการลบล้างไวรัสแต่ไม่มีเป้าหมายเป็นตำแหน่งของไวรัสซึ่งแอนติบอดีลบล้างเชื้อเอชไอวีแบบกว้างจับ
คณะนักวิจัยแยกแอนติบอดีลบล้างเชื้อเอชไอวีแบบกว้างที่มีความสำคัญอันหนึ่งจากเลือดนั้น พวกเขาเรียกว่า VRC34.01 และพบว่าแอนติบอดีนั้นจับกับ fusion peptide และโมเลกุลน้ำตาล ต่อมาคณะนักวิจัยตกผลึกแอนติบอดีนั้นในขณะจับกับไวรัส ทำให้พวกเขารู้รายละเอียดในระดับอะตอมของ VRC34.01 จับกับไวรัสอย่างไรและแสดงว่าแอนติบอดีนั้นหยุดไวรัสจากการทำให้เซลล์ติดเชื้อโดยการจับกับโมเลกุลที่สำคัญบนผิวเซลล์
คณะนักวิจัยยังรายงานว่าไม่ใช่ไม่ปกติสำหรับระบบภูมิคุ้มกันที่พยายามหยุดเชื้อเอชไอวีจากการทำให้เซลล์ติดเชื้อโดยจู่โจม fusion peptide เมื่อพวกเขาทดสอบเลือดของอาสาสมัครติดเชื้อเอชไอวี 24 คน พวกเขาพบว่าเลือดตัวอย่างจาก 10 คน จับกับตำแหน่งเดียวกับ VRC34.01
คณะนักวิจัยขณะนี้กำลังทำงานเพื่อสร้างวัคซีนอันหนึ่งออกแบบให้กระตุ้นแอนติบอดีที่คล้ายกันกับแอนติบอดี VRC34.01
ที่มา: NIH/National Institute of Allergy and Infectious Diseases (2016, May 12). Team discovers new HIV vaccine target. ScienceDaily. Retrieved May 30, 2016, from https://www.sciencedaily.com/releases/2016/05/160512145332.htm